Skip to main content

ใน บทสัมภาษณ์นี้ (ดูคลิปในยูทูป) มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกให้สัมภาษณ์ต่อหน้าที่ประชุม ซาห์สินส์เป็นนักมานุษยวิทยาอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่แวดวงมานุษยวิทยายังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เขาเชี่ยวชาญสังคมในหมู่เกาะแปซิฟิค ทั้งเมลานีเชียนและโพลีนีเชียน ในบทสัมภาษณ์นี้ เขาอายุ 83 ปีแล้ว (ปีนี้เขาอายุ 84 ปี) แต่เขาก็ยังตอบคำถามได้อย่างแคล่วคล่อง ฉะฉาน และมีความจำดีเยี่ยม

เนื้อหาคร่าวๆ เท่าที่ผมจำได้คือ ซาห์ลินส์นิยามความสำคัญของวิชามานุษยวิทยาว่าช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมที่แปลกจากเราอย่างยิ่งได้เป็นอย่างดี และแม้ว่าจะต่างขนาดนั้น เราก็เข้าใจได้เพราะเราเป็นมนุษย์เหมือนกัน เขาเล่าว่าความสนใจที่เขามีต่อมานุษยวิทยามีตั้งแต่เขาเริ่มเรียนปริญญาตรีเมื่ออายุ 20 เขาสนใจวิชานี้เพราะอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องคนอินเดียน หมายถึงคนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา

เกร็ดบางเรื่องที่น่าสนใจคือการถกเถียงระหว่างซาห์ลินส์กับนักมานุษยวิทยารุ่นใหญ่แห่งมิชิแกนคนหนึ่ง (Leslie White) ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว เรื่องตลกคือ White ซึ่งสมาทานแนวคิดแบบมาร์กซิสม์ ยอมรับกับซาห์ลินส์ว่า ไวต์ไม่เคยอ่าน Capital ของมาร์กซ์ เพราะเขาอ่านบทแรกไม่รู้เรื่อง

โดยสาระแล้ว ซาห์ลินส์เห็นว่า สำหรับเขามานุษยวิทยาที่พยายามเดินทางไปสู่การเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไวต์นั้นมีความผิดพลาด เพราะมนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงระบบสัญลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความศักดิ์สิทธิ์ เขาอธิบายว่า "ถ้าเอาน้ำศักดิ์กับน้ำเปล่าให้ลิงแยกแยะ ลิงก็จะแยกแยะไม่ได้ เพราะน้ำทั้งสองมีสภาวะทางเคมีเดียวกัน" ฉะน้ัน สำหรับซาห์ลินส์ การศึกษามนุษย์คือการศึกษาระบบสัญลักษณ์

ซาห์ลินส์จึงศรัทธางานของเลวี-สโตรทส์ (Claude Lévi-Strauss) จนทำให้เขาไปศึกษากับเลวี-สโตรทส์ที่ฝรั่งเศสในปี 1968 (ก่อนหน้านั้น L-S มาอาศัยที่นิวยอร์คก่อนกลับไปฝรั่งเศส) ในยุคนั้นเขาเล่าว่า "โครงสร้างนิยมได้ลงไปสู่ท้องถนนแล้ว" คือชาวบ้านร้านตลาดที่ไหนก็พูดถึงโครงสร้างนิยมกัน

มีเกร็ดคือ เลวี-สโตรทส์ชอบเขาเพราะซาห์ลินส์ชอบแสดงความเห็นในชั้นเรียน ต่างกับนักเรียนฝรั่งเศสที่กลัวโชว์โง่ในชั้น แต่เขาไม่กลัวโง่ ซาห์ลินส์เล่าสนทนาของเขากับเลวี-สโตรทส์ว่า เขาถามว่าโครงสร้างนิยมคืออะไร L-S ตอบว่า "คือการเป็นนักมานุษยวิทยาที่ดี" 

หลังจากนั้นซาห์ลินส์เล่าถึงการศึกษาเรื่องกัปตันคุกซึ่งถูกชาวฮาวายอิฆ่าตาย เขาพบว่าการตายของคุก นอกจากข้อเท็จจริงที่ว่าเพราะคุกว่ายนำ้ไม่เป็นก็เลยหนีชาวฮาวายอิที่ตามมาฆ่าไม่ได้แล้ว คุกตายเพราะระบบความเชื่อของชาวฮาวายอิสมัยนั้น ที่เชื่อว่าการกลับมาของเขาคือการมาของเทพเจ้าตนหนึ่ง ซึ่งท้ายที่สุดเทพเจ้านี้จะต้องถูกฆ่า ที่สำคัญประการหนึ่งคือ การที่ซาห์ลินส์นำเอาโครงสร้างนิยมไปศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักโครงสร้างนิยมยุคเลวี-สโตรทส์ไม่ทำกัน 

ส่วนสำคัญส่วนหลังคือการเข้าไปมีส่วนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองระดับโลกของซาห์ลินส์ เขาเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขบวนการประท้วงสงครามเวียดนามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซาห์ลินส์เห็นว่าการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือของรัฐบาลอเมริกันสมัยนั้นผิดพลาดอย่างร้ายแรง ก่อผลเลวร้ายต่อผู้คนมากมาย เขาเริ่มการประท้วงด้วยการหยุดสอน (สมัยนั้นคือที่มิชิแกน) แล้ว teach-in คือยึดพื้นที่ห้องเรียนแล้วบรรยายเรื่องเวียดนาม ขบวนการของเขาค่อยๆ แพร่ขยายไปจนถึงท้ายที่สุดพวกที่ยูซี-เบิร์กลีย์ก็รับเอาไปทำการประท้วงขนาดใหญ่ของคนหลักหมื่น 

ล่าสุด ซาห์ลินส์มีส่วนสำคัญในการวิจารณ์และทักท้วงการขยายอำนาจทางการศึกษาของประเทศจีน ผ่านสถาบันขงจื่อ ซึ่งมีผลนอกจากทำให้การเรียนการสอนภาษาจีนในสถาบันการศึกษาที่รับทุนของสถาบันขงจื่อแล้ว ต้องใช้ผู้สอนและตำราเรียนของรัฐบาลจีน และยังไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์จีนได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อเสรีภาพทางวิชาการอย่างยิ่ง 

ซาห์ลินส์เป็นตัวอย่างของนักมานุษยวิทยาที่ไปจนสุดทางของการเป็นนักมานุษยวิทยาสมัยใหม่ ทั้งการทำวิจัยภาคสนาม การศึกษาสังคมนอกตะวันตก การศึกษาประวัติศาสตร์ และการสร้างข้อเสนอทางทฤษฎี งานของซาห์ลินส์ถือว่าเป็นงานสำคัญต่อแวดวงมานุษยวิทยาปัจจุบันโดยเฉพาะมานุษยวิทยาที่เน้นการศึกษาระบบสัญลักษณ์ ที่อยู่ในแทบทุกอนูของชีวิตมนุษย์ 

นอกจากนั้น เขายังไม่ได้เพียงนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง หากแต่ยังมีส่วนรณรงค์ทางการเมืองเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของผู้คนทั้งในสังคมเขาเองและในสังคมอื่นที่ประเทศเขามีส่วนไปทำลาย

https://www.youtube.com/watch?v=O0S0jN1wb3Q&feature=youtu.be

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเลี่ยงที่จะอ่านข่าวเกี่ยวกับมติครม.งดเหล้าเข้าพรรษาเพราะไม่อยากหงุดหงิดเสียอารมณ์ ไม่อยากมีความเห็น และไม่อยากต้องโดนด่าหลังแสดงความเห็น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปแม่ฮ่องสอนสามวัน ค้างสองคืน เพื่อร่วมงาน "ไทใหญ่ศึกษา" ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทใหญ่มาก่อน พอจะรู้จากการอ่านงานเรื่อง "ฉาน" เรื่องรัฐไทใหญ่ เรื่องประวัติศาสตร์บ้างนิดหน่อย จึงมิอาจให้ความเห็นใดๆ กับอาหารไทใหญ่ได้ ทำได้แค่เพียงบอกเล่า "ความประทับใจแรกเริ่ม" ในแบบที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ทั่วไปมักทำกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่รู้เป็นอะไรกันนักหนากับเครื่องแต่งกายนักศึกษา จะต้องมีการประจาน จะต้องมีการให้คุณค่าบวก-ลบ จะต้องถือเป็นเรื่องจริงจังกันจนบางคณะถึงกับต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นวาระ "เพื่อพิจารณา" ในที่ประชุมคณาจารย์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานนี้ (12 มิถุนายน 2556) อาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งเชิญไปบรรยายในวิชา "มนุษย์กับสังคม" หัวข้อ "สังคมศาสตร์กับความเข้าใจผู้คนและสังคม" ให้นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 1 ในห้องเรียนมีนักศึกษาราว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้ถูกเผยแพร่ในอีกพื้นที่หนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเข้ากับโอกาสของการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงขอนำมาเสนออีกครั้งในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธ์ุอยู่หลากหลายกลุ่ม พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และร่วมสร้างสังคม สร้างประวัติศาสตร์โบราณและสมัยใหม่อย่างขาดไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยมีนโยบายกลุ่มชาติพันธ์ุมาก่อน (ยาวนะครับ ถ้ายังอยู่ในโลก 8 บรรทัดโปรดอย่าอ่าน)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 มีคนบ่นว่า "ผ่านมาสามปีแล้ว ทำไมคนเสื้อแดงยังไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์กันอีก นี่พวกเขาจะต้องระลึกถึงเหตุการณ์นี้กันไปจนถึงเมื่อไหร่" แล้วลงท้ายว่า "รถติดจะตายอยู่แล้ว ห้างต้องปิดกันหมด ขาดรายได้ นักท่องเที่ยวเดือดร้อน" นั่นสิ น่าคิดว่าทำไมการบาดเจ็บและความตายที่ราชประสงค์เมื่อพฤษภาคม 2553 มีความหมายมากกว่าโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรียน ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ"