Skip to main content

ใน บทสัมภาษณ์นี้ (ดูคลิปในยูทูป) มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกให้สัมภาษณ์ต่อหน้าที่ประชุม ซาห์สินส์เป็นนักมานุษยวิทยาอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่แวดวงมานุษยวิทยายังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เขาเชี่ยวชาญสังคมในหมู่เกาะแปซิฟิค ทั้งเมลานีเชียนและโพลีนีเชียน ในบทสัมภาษณ์นี้ เขาอายุ 83 ปีแล้ว (ปีนี้เขาอายุ 84 ปี) แต่เขาก็ยังตอบคำถามได้อย่างแคล่วคล่อง ฉะฉาน และมีความจำดีเยี่ยม

เนื้อหาคร่าวๆ เท่าที่ผมจำได้คือ ซาห์ลินส์นิยามความสำคัญของวิชามานุษยวิทยาว่าช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมที่แปลกจากเราอย่างยิ่งได้เป็นอย่างดี และแม้ว่าจะต่างขนาดนั้น เราก็เข้าใจได้เพราะเราเป็นมนุษย์เหมือนกัน เขาเล่าว่าความสนใจที่เขามีต่อมานุษยวิทยามีตั้งแต่เขาเริ่มเรียนปริญญาตรีเมื่ออายุ 20 เขาสนใจวิชานี้เพราะอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องคนอินเดียน หมายถึงคนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา

เกร็ดบางเรื่องที่น่าสนใจคือการถกเถียงระหว่างซาห์ลินส์กับนักมานุษยวิทยารุ่นใหญ่แห่งมิชิแกนคนหนึ่ง (Leslie White) ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว เรื่องตลกคือ White ซึ่งสมาทานแนวคิดแบบมาร์กซิสม์ ยอมรับกับซาห์ลินส์ว่า ไวต์ไม่เคยอ่าน Capital ของมาร์กซ์ เพราะเขาอ่านบทแรกไม่รู้เรื่อง

โดยสาระแล้ว ซาห์ลินส์เห็นว่า สำหรับเขามานุษยวิทยาที่พยายามเดินทางไปสู่การเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไวต์นั้นมีความผิดพลาด เพราะมนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงระบบสัญลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความศักดิ์สิทธิ์ เขาอธิบายว่า "ถ้าเอาน้ำศักดิ์กับน้ำเปล่าให้ลิงแยกแยะ ลิงก็จะแยกแยะไม่ได้ เพราะน้ำทั้งสองมีสภาวะทางเคมีเดียวกัน" ฉะน้ัน สำหรับซาห์ลินส์ การศึกษามนุษย์คือการศึกษาระบบสัญลักษณ์

ซาห์ลินส์จึงศรัทธางานของเลวี-สโตรทส์ (Claude Lévi-Strauss) จนทำให้เขาไปศึกษากับเลวี-สโตรทส์ที่ฝรั่งเศสในปี 1968 (ก่อนหน้านั้น L-S มาอาศัยที่นิวยอร์คก่อนกลับไปฝรั่งเศส) ในยุคนั้นเขาเล่าว่า "โครงสร้างนิยมได้ลงไปสู่ท้องถนนแล้ว" คือชาวบ้านร้านตลาดที่ไหนก็พูดถึงโครงสร้างนิยมกัน

มีเกร็ดคือ เลวี-สโตรทส์ชอบเขาเพราะซาห์ลินส์ชอบแสดงความเห็นในชั้นเรียน ต่างกับนักเรียนฝรั่งเศสที่กลัวโชว์โง่ในชั้น แต่เขาไม่กลัวโง่ ซาห์ลินส์เล่าสนทนาของเขากับเลวี-สโตรทส์ว่า เขาถามว่าโครงสร้างนิยมคืออะไร L-S ตอบว่า "คือการเป็นนักมานุษยวิทยาที่ดี" 

หลังจากนั้นซาห์ลินส์เล่าถึงการศึกษาเรื่องกัปตันคุกซึ่งถูกชาวฮาวายอิฆ่าตาย เขาพบว่าการตายของคุก นอกจากข้อเท็จจริงที่ว่าเพราะคุกว่ายนำ้ไม่เป็นก็เลยหนีชาวฮาวายอิที่ตามมาฆ่าไม่ได้แล้ว คุกตายเพราะระบบความเชื่อของชาวฮาวายอิสมัยนั้น ที่เชื่อว่าการกลับมาของเขาคือการมาของเทพเจ้าตนหนึ่ง ซึ่งท้ายที่สุดเทพเจ้านี้จะต้องถูกฆ่า ที่สำคัญประการหนึ่งคือ การที่ซาห์ลินส์นำเอาโครงสร้างนิยมไปศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักโครงสร้างนิยมยุคเลวี-สโตรทส์ไม่ทำกัน 

ส่วนสำคัญส่วนหลังคือการเข้าไปมีส่วนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองระดับโลกของซาห์ลินส์ เขาเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขบวนการประท้วงสงครามเวียดนามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซาห์ลินส์เห็นว่าการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือของรัฐบาลอเมริกันสมัยนั้นผิดพลาดอย่างร้ายแรง ก่อผลเลวร้ายต่อผู้คนมากมาย เขาเริ่มการประท้วงด้วยการหยุดสอน (สมัยนั้นคือที่มิชิแกน) แล้ว teach-in คือยึดพื้นที่ห้องเรียนแล้วบรรยายเรื่องเวียดนาม ขบวนการของเขาค่อยๆ แพร่ขยายไปจนถึงท้ายที่สุดพวกที่ยูซี-เบิร์กลีย์ก็รับเอาไปทำการประท้วงขนาดใหญ่ของคนหลักหมื่น 

ล่าสุด ซาห์ลินส์มีส่วนสำคัญในการวิจารณ์และทักท้วงการขยายอำนาจทางการศึกษาของประเทศจีน ผ่านสถาบันขงจื่อ ซึ่งมีผลนอกจากทำให้การเรียนการสอนภาษาจีนในสถาบันการศึกษาที่รับทุนของสถาบันขงจื่อแล้ว ต้องใช้ผู้สอนและตำราเรียนของรัฐบาลจีน และยังไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์จีนได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อเสรีภาพทางวิชาการอย่างยิ่ง 

ซาห์ลินส์เป็นตัวอย่างของนักมานุษยวิทยาที่ไปจนสุดทางของการเป็นนักมานุษยวิทยาสมัยใหม่ ทั้งการทำวิจัยภาคสนาม การศึกษาสังคมนอกตะวันตก การศึกษาประวัติศาสตร์ และการสร้างข้อเสนอทางทฤษฎี งานของซาห์ลินส์ถือว่าเป็นงานสำคัญต่อแวดวงมานุษยวิทยาปัจจุบันโดยเฉพาะมานุษยวิทยาที่เน้นการศึกษาระบบสัญลักษณ์ ที่อยู่ในแทบทุกอนูของชีวิตมนุษย์ 

นอกจากนั้น เขายังไม่ได้เพียงนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง หากแต่ยังมีส่วนรณรงค์ทางการเมืองเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของผู้คนทั้งในสังคมเขาเองและในสังคมอื่นที่ประเทศเขามีส่วนไปทำลาย

https://www.youtube.com/watch?v=O0S0jN1wb3Q&feature=youtu.be

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง