Skip to main content

ใน บทสัมภาษณ์นี้ (ดูคลิปในยูทูป) มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกให้สัมภาษณ์ต่อหน้าที่ประชุม ซาห์สินส์เป็นนักมานุษยวิทยาอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่แวดวงมานุษยวิทยายังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เขาเชี่ยวชาญสังคมในหมู่เกาะแปซิฟิค ทั้งเมลานีเชียนและโพลีนีเชียน ในบทสัมภาษณ์นี้ เขาอายุ 83 ปีแล้ว (ปีนี้เขาอายุ 84 ปี) แต่เขาก็ยังตอบคำถามได้อย่างแคล่วคล่อง ฉะฉาน และมีความจำดีเยี่ยม

เนื้อหาคร่าวๆ เท่าที่ผมจำได้คือ ซาห์ลินส์นิยามความสำคัญของวิชามานุษยวิทยาว่าช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมที่แปลกจากเราอย่างยิ่งได้เป็นอย่างดี และแม้ว่าจะต่างขนาดนั้น เราก็เข้าใจได้เพราะเราเป็นมนุษย์เหมือนกัน เขาเล่าว่าความสนใจที่เขามีต่อมานุษยวิทยามีตั้งแต่เขาเริ่มเรียนปริญญาตรีเมื่ออายุ 20 เขาสนใจวิชานี้เพราะอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องคนอินเดียน หมายถึงคนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา

เกร็ดบางเรื่องที่น่าสนใจคือการถกเถียงระหว่างซาห์ลินส์กับนักมานุษยวิทยารุ่นใหญ่แห่งมิชิแกนคนหนึ่ง (Leslie White) ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว เรื่องตลกคือ White ซึ่งสมาทานแนวคิดแบบมาร์กซิสม์ ยอมรับกับซาห์ลินส์ว่า ไวต์ไม่เคยอ่าน Capital ของมาร์กซ์ เพราะเขาอ่านบทแรกไม่รู้เรื่อง

โดยสาระแล้ว ซาห์ลินส์เห็นว่า สำหรับเขามานุษยวิทยาที่พยายามเดินทางไปสู่การเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไวต์นั้นมีความผิดพลาด เพราะมนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงระบบสัญลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความศักดิ์สิทธิ์ เขาอธิบายว่า "ถ้าเอาน้ำศักดิ์กับน้ำเปล่าให้ลิงแยกแยะ ลิงก็จะแยกแยะไม่ได้ เพราะน้ำทั้งสองมีสภาวะทางเคมีเดียวกัน" ฉะน้ัน สำหรับซาห์ลินส์ การศึกษามนุษย์คือการศึกษาระบบสัญลักษณ์

ซาห์ลินส์จึงศรัทธางานของเลวี-สโตรทส์ (Claude Lévi-Strauss) จนทำให้เขาไปศึกษากับเลวี-สโตรทส์ที่ฝรั่งเศสในปี 1968 (ก่อนหน้านั้น L-S มาอาศัยที่นิวยอร์คก่อนกลับไปฝรั่งเศส) ในยุคนั้นเขาเล่าว่า "โครงสร้างนิยมได้ลงไปสู่ท้องถนนแล้ว" คือชาวบ้านร้านตลาดที่ไหนก็พูดถึงโครงสร้างนิยมกัน

มีเกร็ดคือ เลวี-สโตรทส์ชอบเขาเพราะซาห์ลินส์ชอบแสดงความเห็นในชั้นเรียน ต่างกับนักเรียนฝรั่งเศสที่กลัวโชว์โง่ในชั้น แต่เขาไม่กลัวโง่ ซาห์ลินส์เล่าสนทนาของเขากับเลวี-สโตรทส์ว่า เขาถามว่าโครงสร้างนิยมคืออะไร L-S ตอบว่า "คือการเป็นนักมานุษยวิทยาที่ดี" 

หลังจากนั้นซาห์ลินส์เล่าถึงการศึกษาเรื่องกัปตันคุกซึ่งถูกชาวฮาวายอิฆ่าตาย เขาพบว่าการตายของคุก นอกจากข้อเท็จจริงที่ว่าเพราะคุกว่ายนำ้ไม่เป็นก็เลยหนีชาวฮาวายอิที่ตามมาฆ่าไม่ได้แล้ว คุกตายเพราะระบบความเชื่อของชาวฮาวายอิสมัยนั้น ที่เชื่อว่าการกลับมาของเขาคือการมาของเทพเจ้าตนหนึ่ง ซึ่งท้ายที่สุดเทพเจ้านี้จะต้องถูกฆ่า ที่สำคัญประการหนึ่งคือ การที่ซาห์ลินส์นำเอาโครงสร้างนิยมไปศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักโครงสร้างนิยมยุคเลวี-สโตรทส์ไม่ทำกัน 

ส่วนสำคัญส่วนหลังคือการเข้าไปมีส่วนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองระดับโลกของซาห์ลินส์ เขาเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขบวนการประท้วงสงครามเวียดนามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซาห์ลินส์เห็นว่าการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือของรัฐบาลอเมริกันสมัยนั้นผิดพลาดอย่างร้ายแรง ก่อผลเลวร้ายต่อผู้คนมากมาย เขาเริ่มการประท้วงด้วยการหยุดสอน (สมัยนั้นคือที่มิชิแกน) แล้ว teach-in คือยึดพื้นที่ห้องเรียนแล้วบรรยายเรื่องเวียดนาม ขบวนการของเขาค่อยๆ แพร่ขยายไปจนถึงท้ายที่สุดพวกที่ยูซี-เบิร์กลีย์ก็รับเอาไปทำการประท้วงขนาดใหญ่ของคนหลักหมื่น 

ล่าสุด ซาห์ลินส์มีส่วนสำคัญในการวิจารณ์และทักท้วงการขยายอำนาจทางการศึกษาของประเทศจีน ผ่านสถาบันขงจื่อ ซึ่งมีผลนอกจากทำให้การเรียนการสอนภาษาจีนในสถาบันการศึกษาที่รับทุนของสถาบันขงจื่อแล้ว ต้องใช้ผู้สอนและตำราเรียนของรัฐบาลจีน และยังไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์จีนได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อเสรีภาพทางวิชาการอย่างยิ่ง 

ซาห์ลินส์เป็นตัวอย่างของนักมานุษยวิทยาที่ไปจนสุดทางของการเป็นนักมานุษยวิทยาสมัยใหม่ ทั้งการทำวิจัยภาคสนาม การศึกษาสังคมนอกตะวันตก การศึกษาประวัติศาสตร์ และการสร้างข้อเสนอทางทฤษฎี งานของซาห์ลินส์ถือว่าเป็นงานสำคัญต่อแวดวงมานุษยวิทยาปัจจุบันโดยเฉพาะมานุษยวิทยาที่เน้นการศึกษาระบบสัญลักษณ์ ที่อยู่ในแทบทุกอนูของชีวิตมนุษย์ 

นอกจากนั้น เขายังไม่ได้เพียงนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง หากแต่ยังมีส่วนรณรงค์ทางการเมืองเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของผู้คนทั้งในสังคมเขาเองและในสังคมอื่นที่ประเทศเขามีส่วนไปทำลาย

https://www.youtube.com/watch?v=O0S0jN1wb3Q&feature=youtu.be

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน