Skip to main content

ใน บทสัมภาษณ์นี้ (ดูคลิปในยูทูป) มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกให้สัมภาษณ์ต่อหน้าที่ประชุม ซาห์สินส์เป็นนักมานุษยวิทยาอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่แวดวงมานุษยวิทยายังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เขาเชี่ยวชาญสังคมในหมู่เกาะแปซิฟิค ทั้งเมลานีเชียนและโพลีนีเชียน ในบทสัมภาษณ์นี้ เขาอายุ 83 ปีแล้ว (ปีนี้เขาอายุ 84 ปี) แต่เขาก็ยังตอบคำถามได้อย่างแคล่วคล่อง ฉะฉาน และมีความจำดีเยี่ยม

เนื้อหาคร่าวๆ เท่าที่ผมจำได้คือ ซาห์ลินส์นิยามความสำคัญของวิชามานุษยวิทยาว่าช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมที่แปลกจากเราอย่างยิ่งได้เป็นอย่างดี และแม้ว่าจะต่างขนาดนั้น เราก็เข้าใจได้เพราะเราเป็นมนุษย์เหมือนกัน เขาเล่าว่าความสนใจที่เขามีต่อมานุษยวิทยามีตั้งแต่เขาเริ่มเรียนปริญญาตรีเมื่ออายุ 20 เขาสนใจวิชานี้เพราะอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องคนอินเดียน หมายถึงคนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา

เกร็ดบางเรื่องที่น่าสนใจคือการถกเถียงระหว่างซาห์ลินส์กับนักมานุษยวิทยารุ่นใหญ่แห่งมิชิแกนคนหนึ่ง (Leslie White) ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว เรื่องตลกคือ White ซึ่งสมาทานแนวคิดแบบมาร์กซิสม์ ยอมรับกับซาห์ลินส์ว่า ไวต์ไม่เคยอ่าน Capital ของมาร์กซ์ เพราะเขาอ่านบทแรกไม่รู้เรื่อง

โดยสาระแล้ว ซาห์ลินส์เห็นว่า สำหรับเขามานุษยวิทยาที่พยายามเดินทางไปสู่การเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไวต์นั้นมีความผิดพลาด เพราะมนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงระบบสัญลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความศักดิ์สิทธิ์ เขาอธิบายว่า "ถ้าเอาน้ำศักดิ์กับน้ำเปล่าให้ลิงแยกแยะ ลิงก็จะแยกแยะไม่ได้ เพราะน้ำทั้งสองมีสภาวะทางเคมีเดียวกัน" ฉะน้ัน สำหรับซาห์ลินส์ การศึกษามนุษย์คือการศึกษาระบบสัญลักษณ์

ซาห์ลินส์จึงศรัทธางานของเลวี-สโตรทส์ (Claude Lévi-Strauss) จนทำให้เขาไปศึกษากับเลวี-สโตรทส์ที่ฝรั่งเศสในปี 1968 (ก่อนหน้านั้น L-S มาอาศัยที่นิวยอร์คก่อนกลับไปฝรั่งเศส) ในยุคนั้นเขาเล่าว่า "โครงสร้างนิยมได้ลงไปสู่ท้องถนนแล้ว" คือชาวบ้านร้านตลาดที่ไหนก็พูดถึงโครงสร้างนิยมกัน

มีเกร็ดคือ เลวี-สโตรทส์ชอบเขาเพราะซาห์ลินส์ชอบแสดงความเห็นในชั้นเรียน ต่างกับนักเรียนฝรั่งเศสที่กลัวโชว์โง่ในชั้น แต่เขาไม่กลัวโง่ ซาห์ลินส์เล่าสนทนาของเขากับเลวี-สโตรทส์ว่า เขาถามว่าโครงสร้างนิยมคืออะไร L-S ตอบว่า "คือการเป็นนักมานุษยวิทยาที่ดี" 

หลังจากนั้นซาห์ลินส์เล่าถึงการศึกษาเรื่องกัปตันคุกซึ่งถูกชาวฮาวายอิฆ่าตาย เขาพบว่าการตายของคุก นอกจากข้อเท็จจริงที่ว่าเพราะคุกว่ายนำ้ไม่เป็นก็เลยหนีชาวฮาวายอิที่ตามมาฆ่าไม่ได้แล้ว คุกตายเพราะระบบความเชื่อของชาวฮาวายอิสมัยนั้น ที่เชื่อว่าการกลับมาของเขาคือการมาของเทพเจ้าตนหนึ่ง ซึ่งท้ายที่สุดเทพเจ้านี้จะต้องถูกฆ่า ที่สำคัญประการหนึ่งคือ การที่ซาห์ลินส์นำเอาโครงสร้างนิยมไปศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักโครงสร้างนิยมยุคเลวี-สโตรทส์ไม่ทำกัน 

ส่วนสำคัญส่วนหลังคือการเข้าไปมีส่วนในการเคลื่อนไหวทางการเมืองระดับโลกของซาห์ลินส์ เขาเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขบวนการประท้วงสงครามเวียดนามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซาห์ลินส์เห็นว่าการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือของรัฐบาลอเมริกันสมัยนั้นผิดพลาดอย่างร้ายแรง ก่อผลเลวร้ายต่อผู้คนมากมาย เขาเริ่มการประท้วงด้วยการหยุดสอน (สมัยนั้นคือที่มิชิแกน) แล้ว teach-in คือยึดพื้นที่ห้องเรียนแล้วบรรยายเรื่องเวียดนาม ขบวนการของเขาค่อยๆ แพร่ขยายไปจนถึงท้ายที่สุดพวกที่ยูซี-เบิร์กลีย์ก็รับเอาไปทำการประท้วงขนาดใหญ่ของคนหลักหมื่น 

ล่าสุด ซาห์ลินส์มีส่วนสำคัญในการวิจารณ์และทักท้วงการขยายอำนาจทางการศึกษาของประเทศจีน ผ่านสถาบันขงจื่อ ซึ่งมีผลนอกจากทำให้การเรียนการสอนภาษาจีนในสถาบันการศึกษาที่รับทุนของสถาบันขงจื่อแล้ว ต้องใช้ผู้สอนและตำราเรียนของรัฐบาลจีน และยังไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์จีนได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อเสรีภาพทางวิชาการอย่างยิ่ง 

ซาห์ลินส์เป็นตัวอย่างของนักมานุษยวิทยาที่ไปจนสุดทางของการเป็นนักมานุษยวิทยาสมัยใหม่ ทั้งการทำวิจัยภาคสนาม การศึกษาสังคมนอกตะวันตก การศึกษาประวัติศาสตร์ และการสร้างข้อเสนอทางทฤษฎี งานของซาห์ลินส์ถือว่าเป็นงานสำคัญต่อแวดวงมานุษยวิทยาปัจจุบันโดยเฉพาะมานุษยวิทยาที่เน้นการศึกษาระบบสัญลักษณ์ ที่อยู่ในแทบทุกอนูของชีวิตมนุษย์ 

นอกจากนั้น เขายังไม่ได้เพียงนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง หากแต่ยังมีส่วนรณรงค์ทางการเมืองเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของผู้คนทั้งในสังคมเขาเองและในสังคมอื่นที่ประเทศเขามีส่วนไปทำลาย

https://www.youtube.com/watch?v=O0S0jN1wb3Q&feature=youtu.be

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)