Skip to main content

เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน

ครั้งสุดท้ายที่ผมเดินทางมารู้จักเมืองไลคือเมื่อปี 2004 เมื่อสิบกว่าปีก่อน เมืองไลมีบ้านเรือนที่สวยงานจำนวนมาก ตัวเมืองไลเอง เมื่อมองลงมาจากที่สูง จะเห็นทุ่งเมืองไลทอดตัวอยู่ขนาบลำห้วยหนึ่ง บริเวณนั้นมีที่นาและบ้านเรือนผู้คนตั้งอยู่ ทางเข้าเมืองไลมีสองทาง ทางหนึ่งวิ่งตรงไปยังสะพานข้ามห้วย จะเห็นหาดหินกว้างบริเวณปากน้ำที่จะไปบรรจบกับอีกสองลำน้ำ คือน้ำหนากับน้ำแต๊ (ที่คนไทยเรียกตามฝรั่งเศสว่าน้ำดำ) อีกทางหนึ่งคือข้ามสะพานก่อนถึงเมือง แล้ววิ่งเลาะหมู่บ้านริมเขาไป จะผ่านบ้านไตขาวจำนวนเกือบร้อยหลังคาเรือน เรียงรายริมนา มีครั้งหนึ่งที่ผมได้อาศัยข้าวปลาจากเรือนแถบนี้เมื่อมาเยือนเมืองไล

ณ ที่ตั้งของเมืองไล ฝั่งหนึ่งของน้ำดำมีท่าเรือ ที่ผมเคยล่องน้ำดำสำรวจเส้นทางและผู้คนจากเมืองไลไปยังเมืองเจียน ก่อนที่บริเวณนั้นทั้งหมดจะจมอยู่ใต้ลำน้ำดำเหนือเขื่อนเซอนลาในปัจจุบัน ตรงท่าเรือ ที่ก็เป็นเพียงหาดทรายริมน้ำดำ มีเมืองเก่าของชาวฝรั่งเศส อีกฝั่งหนึ่งเป็นบ้านของชาวไต เรียกบ้านจาง ตั้งรายล้อมยอดเขาเล็ก ๆ ที่เหมือนเป็นชะง่อนผา อันเป็นที่ตั้งของเรือนเจ้าเมืองเมืองไลในอดีต เรือนนี้เป็นเรือนแบบฝรั่ง ถูกทิ้งร้างมานานแล้ว บ้านจางนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางไปเมืองแต๊ จัดเป็นเมืองทางทิศตะวันตกสุดของชายแดนจีน-เวียดนาม

เมืองไลในอดีตมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดสงคราม “ปราบฮ่อ” ของสยาม จนเกิดบันทึกสองมุมมองคือ มุมของแม่ทัพบันทึกโดยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี กับบันทึกของไพร่พลคือนิราศหนองคาย ที่เมื่อพิมพ์แล้วก็ถูกเผา นอกจากนั้นยังมีพงศาวดารเมืองไล หากแต่จะมีใครสักกี่คนที่สนใจว่า เมืองไลสำคัญอย่างไร

หากจะเล่าย่อ ๆ จากบันทึกของฝรั่งเศส เวียดนาม ชาวไต และผลการศึกษาต่าง ๆ อีกมากในภาษาอังกฤษ เมื่อกบฏไท่ผิงพ่ายแพ้กองทัพจีนแล้วหนีลงมาเวียดนาม ถูกเรียกว่า “ฮ่อ” โดยชาวไต พวกนี้มีหลายกลุ่ม บางกลุ่มปล้นฆ่าชาวไตและคนในเวียดนาม บางพวกได้เข้ากับพวกไต ปราบปรามพวกฮ่อด้วยกัน จนเมื่อฝรั่งเศสขยายอำนาจขึ้นมาภาคเหนือในทศวรรษ 1870 พวกฮ่อ ไต และเวียดนาม รวมกำลังกันต่อต้านฝรั่งเศส จนกระทั่งปี 1890 นั่นเองที่ฝรั่งเศสกับสยามทำสนธิสัญญาแบ่งเขตแดนกัน

ในความวุ่นวายนั้น เจ้าเมืองเมืองไลมีบทบาทสำคัญไม่น้อยทีเดียว บันทึกต่าง ๆ เล่าว่า แดววันแสงกับลูกชื่อแดววันจิ (ที่มักออกเสียงว่า แดววันตรี นั่นแหละ) มีกำลังเข้มแข็งมากเนื่องจากสมทบกำลังกับพวกฮ่อ จึงได้มีอำนาจเหนือเมืองของพวกไตหลายเมือง เมื่อกองทัพสยามขึ้นมา ได้จับน้องชายและน้องเขยของแดววันจิไปกรุงเทพฯ (คนพวกนี้น่าจะมีส่วนในการทำบันทึกพงศาวดารเมืองไล) แดววันจิกับพวกฮ่อจึงนำกำลังไปเผาหลวงพระบาง จากนั้นฝรั่งเศสก็นำทัพขึ้นมาจากหล่าวกาย (Lào Cai) ปราบปรามอำนาจของพวกไตขาว

หากแต่ในท้ายที่สุด ฝรั่งเศสให้พวกเจ้าเมืองปกครองดังเดิม แต่ต้องยอมรับอำนาจเหนือกว่าของฝรั่งเศส ส่วนเจ้าเมืองไลก็ได้รับฐานะใหม่ กลายเป็นเจ้าเมืองเหนือเมืองไตขาวและไตดำจำนวนหนึ่ง จนมาถึงยุคของลูกของแดววันจิคือแดววันลอง ฝรั่งเศสแต่งตั้งเขาเป็นเสมือนกษัตริย์ของพวกไต ที่สำคัญคือเมื่อเขามีอำนาจเหนือเดียนเบียนฟู ทำให้ชาวไตขาวเข้าไปอาศัยในเมืองแถงเป็นจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน แต่เมื่อฝรั่งเศสแพ้ในสงครามเดียนเบียนฟู แดววันลองและครอบครัวต้องหนีไปอยู่ฝรั่งเศส แล้วบ้านเรือนเขาที่เมืองไลก็ถูกทิ้งร้าง

เมืองไลในทศวรรษที่ผมทำวิจัยจนปัจจุบันถูกทำให้สับสนหลายครั้ง เมืองไลถูกเรียกว่า ลายเจิว ในภาษาเวียดนามมาแต่ดั้งเดิม แต่ในทศวรรษ 2000 เมืองไลถูกรวบเป็นส่วนหนึ่งกับเดียนเบียนฟู แล้วตั้งเป็นจังหวัดลายเจิว แต่กลับมีตัวอำเภอเมืองอยู่ที่เมืองแถง ต่อมาเมื่อเมื่อรัฐบาลจะสร้างเขื่อนขนาดใหญ่กั้นนำ้ดำที่เซอนลา ซึ่งจะทำให้น้ำท่วมเมืองเจียน เมืองไตขาวขนาดใหญ่อีกเมือง และท่วมมาจนถึงเมืองไล ลายเจิวใหม่ก็ถูกตั้งขึ้นมา ณ เมืองของไตขาว คนม้ง คนเย้า และคนลื้อ ที่ตามเดื่อง (Tam Đường) และบิ่งลือ (Bình Lư) ส่วนเมืองแถงก็กลายเป็นจังหวัดเดียนเบียนฟูแยกจากเมืองไลดังเดิม

 

 

 

จนในปัจจุบัน เมืองไลไม่ได้ถูกทิ้งร้างไปเสียทีเดียว เมืองไลกลาายเป็น เทศบาลเมืองไล (Thị xã Lai Châu) ขึ้นกับจังหวัดลายเจิว แต่น้ำท่วมทุ่งนาเมืองไลไปจนหมดสิ้น บ้านเรือนที่เคยตั้งอยู่ริมนา ก็ถูกโยกย้ายไตั้งอยู่ริมถนน บรรดาที่ตั้งบ้านเรือนเก่า ๆ ทั้งก่อนเข้าเมืองและนอกเมือง ก็ถูกน้ำท่วมไปจนหมดสิ้น เมืองจัน ที่เคยหนาแน่นที่สุดในเขตเมืองไล และเป็นเมืองบริวารที่สำคัญของเมืองไล ก็จมอยู่ใต้น้ำเสียส่วนใหญ่ ส่วนเรือนของแดววันลองที่เคยตั้งตระหง่านอยู่บนชะง่อนผา ก็เกือบจะถูกน้ำท่วมเสียเช่นกัน

 

 

 

แต่การกลับมาเมืองไลครั้งนี้ก็ทำให้เกิดความสนใจใหม่ ๆ ได้รับรู้และรู้จักเรื่องราวกับผู้คนใหม่ ๆ อีกมาก ผมตื่นเต้นที่ได้เข้าไปพบชาวเมืองซอ เมืองไตขาวที่สำคัญคู่กับเมืองไล ตื่นเต้นที่ได้เจอชาวขมุที่สร้างเรือนแบบไตและพูดได้ทั้งภาษาไตและภาษาเวียดอาศัยอยู่ริมทางก่อนเข้าเมือง และได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากเขื่อนไฟฟ้าขนาดเล็กถึง 3 เขื่อนกั้นลำน้ำหนา กับการเปิดชายแดนเวียดนาม-จีนบริเวณใกล้ ๆ เมืองซอที่คึกคักขนาดมีรถพ่วงขนาดใหญ่ขนสินค้าผ่านไปมาตลอดเส้นทาง

 

 

 

อีกสิบปีให้หลัง คงไม่มีใครสนใจเรื่องราวของเมืองไล อดีตของดินแดนและผู้คนในที่แห่งนี้คงถูกลบเลือนไปอีกมาก ผมจำต้องกล่าวอำลาเมืองไลอันเกรียงไกร แต่ผมก็ตั้งใจว่าจะกลับมาเยี่ยมเยียนทำความเข้าใจผู้คนที่ได้พบปะในการเดินทางครั้งนี้อีกอย่างแน่นอน

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง