Skip to main content

รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 

เซเล็บหลายคนชอบโพสต์ข้อความหล่อๆ อย่างหล่อลอยๆ ก็เช่นแปะข่าวที่มีข้อถกเถียงแล้วเขียนว่า "อีกมุมมองหนึ่ง" ดูไปเขาก็เห็นด้วยกับข้อความนั้นนั่นแหละ แต่กลัวไม่หล่อ กลัวเสียสาวก กลัวเสียแม่ยก กลัวเรียกน้ำลายไม่ได้ กลัวเสีย Like ก็เลยทำได้แค่แหย่ๆ สงวนท่าที ประทังความหล่อของตัวเองไว้  

ยังไงหล่อแบบนั้นก็ไม่ถึงกับเลวร้ายเท่าหล่อไม่รับผิดชอบ คือหล่อแบบเอาทุกทาง หล่อแบบรักทุกคน หล่อแบบไม่แสดงจุดยืนที่ชัดเจน หล่อแบบรักษาตัวรอดเสมอ หล่อแบบอยู่ทุกฝ่าย หล่อแบบ "ที่คุณว่าก็ดีนะ แต่ที่อีกฝ่ายหนึ่งเขาพูดก็ต้องพิจารณา" ไม่ก็ "อย่าเอาผมไปอยู่ข้างคุณเลย" "ฉันถูกนับเป็นทุกฝ่ายแหละ" 

คือหล่อแบบกลัวเสียสาวกน่ะ อย่างน้อยเราก็พอเดาได้ว่ามีความคิดไปทางไหนบ้าง แต่เขากลัวๆ กล้าๆ ก็เลยไม่ยืนยันจริงๆ จังๆ ว่า ตกลงคิดยังไงแน่ ซึ่งบางทีก็ทำให้คนเขาตีความกันวุ่น ชุลมุนกันไปหมด ทำเอาสาวกงงหลายตลบ เดินตามไม่ถูก เอาใจไม่ทัน  

ความหล่อที่ผมว่าเลวร้ายยิ่งกว่าคือ การเป็นนักวิชาการหล่อๆ หล่อแบบทำตัวอยู่เหนือสถานการณ์ หล่อแบบวิจารณ์ทุกฝ่าย วิธีหล่อแบบนี้คือการแสดงว่าตัวเองมองโลกจากเบื้องบน มองลงมาเห็นหมด เห็นทุกแนวโน้มทุกมุมมอง แล้วก็เปล่งวาจาว่า "หึหึ อย่าทะเลาะกันเลย พวกสูผิดหมดนั่นแหละ" "หรือถ้าเป็นพวกไม่เสนอทางออกก็จะออกแนวว่า "รักกันไว้ดีกว่า" "เก็บแรงไว้ไปทำงานวิชาการเถอะ"  

แต่พวกนักวิชาการหล่อจะพิศดารยิ่งกว่านั้น หล่อวิชาการจะแอบซ่อนความเห็นของตนเองไว้ในท่าทีที่ยอกย้อนพิสดาร แต่อย่างน้อยหากใครจะหล่อด้วยการหลบท่าทีตนเองในข้อเขียนที่พิศดาร ผมก็ยังคิดว่าถ้าอ่านเขาออกแล้ว เขาก็ยังมีทิศทางที่ชัดเจน อ่านได้ หาเจอได้ในที่สุด ก็ยังดีกว่าอีกพวกคือหล่อนักวิชาการที่เน้นประคองตัวเหนือสถานการณ์อย่างเดียว 

นักวิชาการที่หล่อเหนือโลกสุดๆ น่ะ เขาจะหล่อด้วยการเขียนอะไรด้วยความคิดยากๆ ยากจนต้องตีความไปตีความมา จนแล้วจนรอดก็ยังไม่รู้ว่าตกลงกำลังพูดอะไรแน่ นั่นคือหล่อแบบทำตัวดูฉลาดเหนือโลกจนไม่ไปทางไหนสักทาง เป็นหล่อถนอมน้ำใจ หล่อบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น หล่ออ้อมๆ แอ้มๆ หล่ออ้อมไปอ้อมมาจนคนที่จะต้องถูกวิจารณ์กลับเข้าใจว่ากำลังชมเขาไปเลย 

หล่อแบบนี้มีมากเหมือนกัน หล่อแบบนี้ทำให้หากินได้หลายแวดวง หล่อแบบนี้อาจมีท่าทีสำคัญบางอย่างที่เขาไม่ประนีประนอมด้วยหรอก แต่เมื่อเขาถูกเรียกร้องให้ต้องแสดงท่าทีกับอะไรบางอย่างที่อาจจะกระทบกับสาวกหรือเครือข่ายที่เขาบูชาแล้ว เขาจะหลบความชัดเจนอยู่หลังความหล่อเหลือโลก 

ผมเองก็เคยอยากหล่อ อยากมีสาวกมากมาย อยากอยู่เหนือสถานการณ์ เหนือกาลเวลา แต่เมื่อพบว่าไม่ว่าจะพยายามหล่อขนาดไหน มันก็ไม่พ้นว่าจะต้องเป็นแบบใดอยู่ดี จะต้องเกลือกกลั้วทางใดทางหนึ่งอยู่ดี ผมก็เลยเลิกอยากหล่อ  

นักเขียน-นักวิชาการหลายคนขณะนี้ก็หล่อน้อยลง บางคนก็เลิกหล่อไปเลย แต่บางคนยังหล่ออยู่ในหลายๆ แบบข้างต้น บางคนเพิ่งเห่อความหล่อ ไม่ก็ยังหลงคิดว่าตัวเองหล่ออยู่ แต่ถ้าถ้าจะเลือกไม่หล่อ ก็ขออย่าให้กลายเป็นพวกเกรียนจนเที่ยวไล่บี้ bully ใครต่อใครก็พอ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร