Skip to main content

รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 

เซเล็บหลายคนชอบโพสต์ข้อความหล่อๆ อย่างหล่อลอยๆ ก็เช่นแปะข่าวที่มีข้อถกเถียงแล้วเขียนว่า "อีกมุมมองหนึ่ง" ดูไปเขาก็เห็นด้วยกับข้อความนั้นนั่นแหละ แต่กลัวไม่หล่อ กลัวเสียสาวก กลัวเสียแม่ยก กลัวเรียกน้ำลายไม่ได้ กลัวเสีย Like ก็เลยทำได้แค่แหย่ๆ สงวนท่าที ประทังความหล่อของตัวเองไว้  

ยังไงหล่อแบบนั้นก็ไม่ถึงกับเลวร้ายเท่าหล่อไม่รับผิดชอบ คือหล่อแบบเอาทุกทาง หล่อแบบรักทุกคน หล่อแบบไม่แสดงจุดยืนที่ชัดเจน หล่อแบบรักษาตัวรอดเสมอ หล่อแบบอยู่ทุกฝ่าย หล่อแบบ "ที่คุณว่าก็ดีนะ แต่ที่อีกฝ่ายหนึ่งเขาพูดก็ต้องพิจารณา" ไม่ก็ "อย่าเอาผมไปอยู่ข้างคุณเลย" "ฉันถูกนับเป็นทุกฝ่ายแหละ" 

คือหล่อแบบกลัวเสียสาวกน่ะ อย่างน้อยเราก็พอเดาได้ว่ามีความคิดไปทางไหนบ้าง แต่เขากลัวๆ กล้าๆ ก็เลยไม่ยืนยันจริงๆ จังๆ ว่า ตกลงคิดยังไงแน่ ซึ่งบางทีก็ทำให้คนเขาตีความกันวุ่น ชุลมุนกันไปหมด ทำเอาสาวกงงหลายตลบ เดินตามไม่ถูก เอาใจไม่ทัน  

ความหล่อที่ผมว่าเลวร้ายยิ่งกว่าคือ การเป็นนักวิชาการหล่อๆ หล่อแบบทำตัวอยู่เหนือสถานการณ์ หล่อแบบวิจารณ์ทุกฝ่าย วิธีหล่อแบบนี้คือการแสดงว่าตัวเองมองโลกจากเบื้องบน มองลงมาเห็นหมด เห็นทุกแนวโน้มทุกมุมมอง แล้วก็เปล่งวาจาว่า "หึหึ อย่าทะเลาะกันเลย พวกสูผิดหมดนั่นแหละ" "หรือถ้าเป็นพวกไม่เสนอทางออกก็จะออกแนวว่า "รักกันไว้ดีกว่า" "เก็บแรงไว้ไปทำงานวิชาการเถอะ"  

แต่พวกนักวิชาการหล่อจะพิศดารยิ่งกว่านั้น หล่อวิชาการจะแอบซ่อนความเห็นของตนเองไว้ในท่าทีที่ยอกย้อนพิสดาร แต่อย่างน้อยหากใครจะหล่อด้วยการหลบท่าทีตนเองในข้อเขียนที่พิศดาร ผมก็ยังคิดว่าถ้าอ่านเขาออกแล้ว เขาก็ยังมีทิศทางที่ชัดเจน อ่านได้ หาเจอได้ในที่สุด ก็ยังดีกว่าอีกพวกคือหล่อนักวิชาการที่เน้นประคองตัวเหนือสถานการณ์อย่างเดียว 

นักวิชาการที่หล่อเหนือโลกสุดๆ น่ะ เขาจะหล่อด้วยการเขียนอะไรด้วยความคิดยากๆ ยากจนต้องตีความไปตีความมา จนแล้วจนรอดก็ยังไม่รู้ว่าตกลงกำลังพูดอะไรแน่ นั่นคือหล่อแบบทำตัวดูฉลาดเหนือโลกจนไม่ไปทางไหนสักทาง เป็นหล่อถนอมน้ำใจ หล่อบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น หล่ออ้อมๆ แอ้มๆ หล่ออ้อมไปอ้อมมาจนคนที่จะต้องถูกวิจารณ์กลับเข้าใจว่ากำลังชมเขาไปเลย 

หล่อแบบนี้มีมากเหมือนกัน หล่อแบบนี้ทำให้หากินได้หลายแวดวง หล่อแบบนี้อาจมีท่าทีสำคัญบางอย่างที่เขาไม่ประนีประนอมด้วยหรอก แต่เมื่อเขาถูกเรียกร้องให้ต้องแสดงท่าทีกับอะไรบางอย่างที่อาจจะกระทบกับสาวกหรือเครือข่ายที่เขาบูชาแล้ว เขาจะหลบความชัดเจนอยู่หลังความหล่อเหลือโลก 

ผมเองก็เคยอยากหล่อ อยากมีสาวกมากมาย อยากอยู่เหนือสถานการณ์ เหนือกาลเวลา แต่เมื่อพบว่าไม่ว่าจะพยายามหล่อขนาดไหน มันก็ไม่พ้นว่าจะต้องเป็นแบบใดอยู่ดี จะต้องเกลือกกลั้วทางใดทางหนึ่งอยู่ดี ผมก็เลยเลิกอยากหล่อ  

นักเขียน-นักวิชาการหลายคนขณะนี้ก็หล่อน้อยลง บางคนก็เลิกหล่อไปเลย แต่บางคนยังหล่ออยู่ในหลายๆ แบบข้างต้น บางคนเพิ่งเห่อความหล่อ ไม่ก็ยังหลงคิดว่าตัวเองหล่ออยู่ แต่ถ้าถ้าจะเลือกไม่หล่อ ก็ขออย่าให้กลายเป็นพวกเกรียนจนเที่ยวไล่บี้ bully ใครต่อใครก็พอ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน