Skip to main content

ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 

 
ความดีแบบไทยๆ มีลักษณะเฉพาะอย่างไร 
 
1. ทำดีเพื่อใครบางคน คนไทยมักต้องหาเหตุที่จะทำดี ปกติไม่จำเป็นต้องดี แต่เมื่อสูญเสียคนที่รัก จึงคิดอยากทำดีขึ้นมา การทำดีเพื่อใครบางคนส่วนมากก็ไม่ได้จะต้องก่อประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง เพียงการไปบริจาคทาน แจกของทั้งที่ผู้รีบแจกไม่ได้ขาดแคลนจริงๆ ก็กลายเป็นความดีได้ ที่เป็นอย่างนี้เพราะคนไทยแค่อยากทำอะไรดีๆ เพื่อคนที่รัก โดยไม่ได้คำนึงว่าสิ่งที่ทำนั้นดีจริงแล้วหรือ เหมาะสมแล้วหรือ
 
2. ทำดีเพื่อตนเอง การทำดีของคนไทยโดยมากจึงเป็นการทำดีเพื่อตนเอง คนไทยให้ทานโดยไม่ได้หวังให้คนรับได้ประโยชน์เท่ากับอยากได้บุญมาสะสมไว้ คนไทยทำบุญเพื่อประโยชน์สุขของตนเอง อย่างหยาบหน่อย ทำบุญเสร็จแล้วก็ต้องขอพร ขออะไรจากการทำบุญ หรือไม่ก็ติดสินบนผี ต้องได้สิ่งที่ต้องการก่อนจึงจะทำบุญ อย่างละเอียดขึ้นก็เก็บไว้เป็นบุญคุณของเอง คิดหนี้ให้ผู้รับ บางครั้งทึกทักว่าเป็นหนี้คนไปทั่วแผ่นดิน ทั้งๆ ที่คนรับไม่มีอำนาจปฏิเสธบุญคุณที่ถูกยัดเยียดมานั้น 
 
3. ความดีเฉพาะหน้า ความดีแบบไทยมักเป็นความดีแบบฉับพลัน ทำแล้วได้ดีเลย ไม่คิดถึงผลดีในระยะยาว ในวงกว้าง ความดียากๆ อย่างการคิดถึงระบบสังคมที่เป็นธรรมขึ้น ด้วยการเคารพความเท่าเทียมกัน อันนั้นเป็นความดีที่ยากเกินไป ทำไปแล้วไม่รู้จะได้อะไรกับตนเองหรือเปล่า ไม่สุขใจทันทีเหมือนเอาน้ำขวดหนึ่งยัดใส่มือคนที่เดินไปเดินมาโดยที่เขาไม่ได้ขอ ไม่เหมือนเอาอาหารไปแจกคนในที่ชุมนุมชนทั้งๆ ที่คนเหล่านั้นไม่ได้เดือดร้อนอดอยากอะไร ความดีแบบนี้ตรงไปตรงมา คนไทยเข้าใจได้มากกว่า
 
4. ความดีแบบแสดงตน ความดีฉับพลันจึงต้องการการรับรู้จากคนอื่น ทำแล้วต้องมีคนเห็น ทำดีก็ต้องมีคนชื่นชมทันที ต้องมีคนทำข่าว ต้องมีรางวัล ความดีแบบไทยสร้างรางวัลให้คนมากมาย การทำอะไรดีๆ ไม่เพียงพอ แต่ต้องเป็นคนดีที่สาธารณชนรับรู้ ทำดีแล้วคนเห็นสำคัญกว่าทำดีตามหลักความดีแล้วก่อผลดีแม้คนไม่รับรู้ ทำดีแล้วคนเห็นกลบเกลื่อนความชั่วร้ายที่คนไม่เห็นได้
 
5. ความดีแบบสงเคราะห์ ความดีแบบไทยจึงเป็นทำดีแบบสงเคราะห์ ไม่เป็นระบบ เน้นการให้ แจกจ่าย ไม่สนใจว่าผู้รับจะได้ประโยชน์หรือไม่ ผู้รับจะต้องการหรือไม่ แค่ได้ให้ก็ดีแล้ว เครื่องสังฆทานจึงไม่จำป็นต้องเป็นของจำเป็นจริงๆ เพราะขอแค่ได้ถวายพระก็พอแล้ว อาหารถวายพระจึงเหลือเฟือ เพราะถวายพระได้บุญกว่าให้คนยากคนจน แล้วคนจนอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ยุ่งยากที่จะทำทาน
 
6. ความดีที่ถูกยัดเยียด ความดีแบบไทยจึงเป็นความดีฝ่ายเดียว เป็นความดีที่ถูกยัดเยียดจากคนให้ บางทีการเปิดเพลงสวดมนต์ดังๆ ก็เป็นความดีแล้ว เพราะถือว่าให้สิ่งดีๆ ส่วนคนฟัง คนรับ จะต้องการหรือไม่ ไม่จำเป็น ความดีแบบนี้จึงเป็นความดีจากเบื้องบน เป็นความดีที่คนรู้ดี คนมั่งมีกว่า เป็นคนกำหนดว่าอะไรดี แล้วพวกเธอก็จงก้มหน้าก้มตารับสิ่งที่ฉันคิดว่าดีไป ไม่ต้องไต่ถามว่าสิ่งที่ผู้ให้คิดว่าดีนั้น ดีสำหรับผู้รับด้วยหรือไม่ ความต้องการของผู้รับไม่สำคัญเท่ากับความกระสันอยากทำดีของผู้ให้
 
7. ไม่ใช่ความดีเชิงโครงสร้าง ความดีแบบไทยๆ ไม่มีคติเรื่องความเท่าเทียม การลดความเหลื่อมล้ำ การกระจายรายได้ การคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ความดีแบบนี้ส่งเสริมกันเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น เพราะความดีเหล่านี้เป็นความดีเชิงโครงสร้าง ต้องสร้างระบบสังคมที่ดี จึงจะเกิดได้ ต้องเป็นสังคมที่เป็นประชาธิปไตย เคารพผู้อื่น รักเพื่อนมนุษย์อย่างเสมอหน้ากัน จึงจะ้กิดขึ้นได้ ความดีแบบนี่เข้ากันไม่ได้กับสังคมไทย ความดีแบบไทยจึงไม่นำไปสู่สังคมที่ดีขึ้นได้
 
ความดีแบบไทยวางอยู่บนระบบอำนาจนิยม ระบบอาวุโส ระบบเงินเป็นใหญ่ ระบบศรัทธาเชื่อมั่นตัวบุคคลอย่างงมงาย ระบบยึดมั่นแต่ประโยชน์ของผู้ให้ซึ่งเป็นคนชนชั้นบนของสังคม
 
ความไม่สากลของความดีแบบไทย จนกระทั่งรวมไปถึงว่า ตกลงความดีนั้นดีจริง ดีในขอบเขตของสังคม ดีเฉพาะเมื่อบางคนทำและทำเพื่อบางคนเท่านั้นหรือเปล่า ทำให้สังคมคนดีแบบไทยๆ ไม่ใช่สังคมที่ดีของทุกๆ คนอย่างเสมอหน้ากัน เป็นเพียงสังคมที่ดีของเหล่าคนทำดีแบบไทยๆ บางคนเท่านั้น

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้