Skip to main content

วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 

อย่างแรกที่ชอบคือ พวกเขาไม่ได้ใส่เสื้อดำปี๋กันแบบที่ท่าพระจันทร์ ที่จริงระหว่าง 3 แคมปัส ที่รังสิตก็ยังไม่เคร่งครัดเท่าไหร่กับเสื้อดำ มีแต่ท่าพระจันทร์นี่แหละที่ดำปี๋ๆ ตลกดีที่ท่าพระจันทร์สิ้นความดื้อไปแล้ว 

ที่ลำปางวันนี้ ก่อนเริ่มสอน ผมถามพวกเขาว่าพวกคุณคิดว่าอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกว่าชีวิตมหาวิทยาลัยแตกต่างจากเมื่อเป็นนักเรียนที่สุด ขอ 3 คำตอบ นศ. ร่วมร้อยคนในห้อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงตอบกันอย่างรวดเร็ว คนแรกบอกว่า ได้นอนตื่นสาย คนต่อมาบอก ไม่ต้องแต่งชุดนักศึกษา อีกคนบอก เลือกวิชาเรียนได้มากขึ้น 

เรื่องชุดนักศึกษา ผมว่านักศึกษามหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ทางเหนือใส่ชุด นศ. มากกว่า มธ. ลำปางเสียอีก 

ผมถามว่าสามคำตอบนี้มีอะไรร่วมกัน คนหนึ่งตอบว่า ความอิสระ ผมแอบตกใจในใจว่าทำไมเชื่อมโยงได้ไวจัง แต่พยายามเก็บอาการ เริ่มนึกในใจว่า ห้องนี้เริ่มสนุกแระ  

ผมรีบสำทับทันทีว่า ความอิสระคือการเลือกได้ การเลือกได้มีความยุ่งยาก มีความรับผิดชอบต่อผลที่เลือก แต่ก็ดีกว่าเลือกไม่ได้ พวกเขานั่งฟังอย่างสนใจ ตาใส หลายคนอมยิ้ม ผมเริ่มมีความหวังขึ้นอีก  

แล้วบอกพวกเขาว่า ผมมาสอนลำปางเมื่อเกือบสิบปีก่อนแล้วไม่ได้มาอีกเลย ตอนนั้นผมคิดว่า นศ. ธรรมศาสตร์ลำปางทำไมต่างจากที่ท่าพระจันทร์และรังสิตมากจัง เพราะมีแต่คนใส่ชุดนักศึกษา แต่ไม่ตั้งใจเรียนเลย มาถึงรุ่นพวกคุณ ต่างไปมากเลย คงมีใครมาปลูกอะไรไว้ อันหลังนี้ผมแอบนึกคนเดียวในใจ 

ผมได้ใจบอกพวกเขาต่อไปว่า พวกคุณต้องรู้จักเลือก กล้าเลือก ถ้าพวกคุณอยู่ในสังคมที่เลือกไม่ได้เสียจนไม่คิดว่าการเลือกเป็นสิ่งจำเป็น สังคมเราจะถดถอย สังคมจะไม่มีทางเลือกใหม่ๆ 

แล้วผมก็สอนสังคมศาสตร์ ผ่านจากการบอกว่าสังคมคืออะไร จะรู้จักมันได้อย่างไร ผมบอกให้พวกเขารู้จักดื้อกับสังคม บอกพวกเขาว่า อย่าสร้างสรรค์สังคมด้วยการแค่ผลิตซ้ำสิ่งที่สังคมต้องการ ผมบอกให้เขาเป็นนักสังคมศาสตร์ที่นอกจากศึกษาสังคมแล้วยังต้องเปลี่ยนแปลงสังคม  

ผมบอกว่า ในฐานะที่พวกเขาเป็นนักเรียนสังคมสงเคราะห์ พวกเขาต้องกล้าสงสัยว่า สิ่งที่สังคมบอกว่าดีนั้น ดีต่อใครกันแน่ พวกเขาต้องกล้าที่จะดื้อเพื่อเปลี่ยนสังคมให้เป็นธรรม นักสังคมศาสตร์ต้องเรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ พวกเขาดูอึ้งๆ แต่ก็เหมือนจะสนใจดีอยู่ 

ตอนท้ายๆ ของเวลาเรียน ผมล้อพวกเขาว่า พรุ่งนี้อาจมีผู้ปกครองไปฟ้องครูใหญ่ว่า อาจารย์คนนี้สอนให้เด็กดื้อ แต่ผมดักคอไว้แล้วว่า ถ้าคุณพิมพ์ชื่อผมแล้วพิมพ์ชื่อครูใหญ่ตามมา จะรู้ว่าครูใหญ่คุณไม่อยากยุ่งกับผมหรอก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี