Skip to main content

วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 

อย่างแรกที่ชอบคือ พวกเขาไม่ได้ใส่เสื้อดำปี๋กันแบบที่ท่าพระจันทร์ ที่จริงระหว่าง 3 แคมปัส ที่รังสิตก็ยังไม่เคร่งครัดเท่าไหร่กับเสื้อดำ มีแต่ท่าพระจันทร์นี่แหละที่ดำปี๋ๆ ตลกดีที่ท่าพระจันทร์สิ้นความดื้อไปแล้ว 

ที่ลำปางวันนี้ ก่อนเริ่มสอน ผมถามพวกเขาว่าพวกคุณคิดว่าอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกว่าชีวิตมหาวิทยาลัยแตกต่างจากเมื่อเป็นนักเรียนที่สุด ขอ 3 คำตอบ นศ. ร่วมร้อยคนในห้อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงตอบกันอย่างรวดเร็ว คนแรกบอกว่า ได้นอนตื่นสาย คนต่อมาบอก ไม่ต้องแต่งชุดนักศึกษา อีกคนบอก เลือกวิชาเรียนได้มากขึ้น 

เรื่องชุดนักศึกษา ผมว่านักศึกษามหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ทางเหนือใส่ชุด นศ. มากกว่า มธ. ลำปางเสียอีก 

ผมถามว่าสามคำตอบนี้มีอะไรร่วมกัน คนหนึ่งตอบว่า ความอิสระ ผมแอบตกใจในใจว่าทำไมเชื่อมโยงได้ไวจัง แต่พยายามเก็บอาการ เริ่มนึกในใจว่า ห้องนี้เริ่มสนุกแระ  

ผมรีบสำทับทันทีว่า ความอิสระคือการเลือกได้ การเลือกได้มีความยุ่งยาก มีความรับผิดชอบต่อผลที่เลือก แต่ก็ดีกว่าเลือกไม่ได้ พวกเขานั่งฟังอย่างสนใจ ตาใส หลายคนอมยิ้ม ผมเริ่มมีความหวังขึ้นอีก  

แล้วบอกพวกเขาว่า ผมมาสอนลำปางเมื่อเกือบสิบปีก่อนแล้วไม่ได้มาอีกเลย ตอนนั้นผมคิดว่า นศ. ธรรมศาสตร์ลำปางทำไมต่างจากที่ท่าพระจันทร์และรังสิตมากจัง เพราะมีแต่คนใส่ชุดนักศึกษา แต่ไม่ตั้งใจเรียนเลย มาถึงรุ่นพวกคุณ ต่างไปมากเลย คงมีใครมาปลูกอะไรไว้ อันหลังนี้ผมแอบนึกคนเดียวในใจ 

ผมได้ใจบอกพวกเขาต่อไปว่า พวกคุณต้องรู้จักเลือก กล้าเลือก ถ้าพวกคุณอยู่ในสังคมที่เลือกไม่ได้เสียจนไม่คิดว่าการเลือกเป็นสิ่งจำเป็น สังคมเราจะถดถอย สังคมจะไม่มีทางเลือกใหม่ๆ 

แล้วผมก็สอนสังคมศาสตร์ ผ่านจากการบอกว่าสังคมคืออะไร จะรู้จักมันได้อย่างไร ผมบอกให้พวกเขารู้จักดื้อกับสังคม บอกพวกเขาว่า อย่าสร้างสรรค์สังคมด้วยการแค่ผลิตซ้ำสิ่งที่สังคมต้องการ ผมบอกให้เขาเป็นนักสังคมศาสตร์ที่นอกจากศึกษาสังคมแล้วยังต้องเปลี่ยนแปลงสังคม  

ผมบอกว่า ในฐานะที่พวกเขาเป็นนักเรียนสังคมสงเคราะห์ พวกเขาต้องกล้าสงสัยว่า สิ่งที่สังคมบอกว่าดีนั้น ดีต่อใครกันแน่ พวกเขาต้องกล้าที่จะดื้อเพื่อเปลี่ยนสังคมให้เป็นธรรม นักสังคมศาสตร์ต้องเรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ พวกเขาดูอึ้งๆ แต่ก็เหมือนจะสนใจดีอยู่ 

ตอนท้ายๆ ของเวลาเรียน ผมล้อพวกเขาว่า พรุ่งนี้อาจมีผู้ปกครองไปฟ้องครูใหญ่ว่า อาจารย์คนนี้สอนให้เด็กดื้อ แต่ผมดักคอไว้แล้วว่า ถ้าคุณพิมพ์ชื่อผมแล้วพิมพ์ชื่อครูใหญ่ตามมา จะรู้ว่าครูใหญ่คุณไม่อยากยุ่งกับผมหรอก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวัยเยาว์ ผมเริ่มสงสัยง่าย ๆ ว่า ในหัวของแต่ละคนคิดอะไรอยู่ จึงได้ทำให้คนแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ผมพยายามค้นหาว่าความรู้ชนิดใดกันที่จะทำให้เข้าใจความคิดในหัวคนได้ แรก ๆ ก็เข้าใจว่าศาสนาจะช่วยให้เข้าใจได้ ต่อมาก็คือจิตวิทยา แต่ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ แล้วมาสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจ สุดท้ายผมได้เจอกับวิชาที่น่าสนใจว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจทัศนคติได้ดี นั่นก็คือวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมสงสัยว่า บุคคลที่น่านับถือจำนวนมากที่ยินยอมตอบรับหรือเสนอตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ในคณะกรรมการต่างๆ มากมายนั้น ทั้งโดยออกนอกหน้าและเสนอตัวว่าขอทำงานอย่างลับๆ พวกเขาเข้าร่วมด้วยหลักการอะไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่า ทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (8 พค. 57) ผมข้องเกี่ยวอยู่กับภาพยนตร์ในหลายๆ ลักษณะ ตอนเช้า สัมภาษณ์นักศึกษาสอบเข้าปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ น่าแปลกใจที่ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนสนใจภาพยนตร์ ตกบ่าย ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"ตามคำเชิญของ "คุณสืบ" และ "คุณเปีย" ผู้กำกับและตากล้องภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 12 เพิ่งจบสิ้นลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-24 เมษายน ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) ผมไปประชุมครั้งนี้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเตรียมตัวเสนอบทความตนเองหนึ่งชิ้น และร่วมในห้องเสวนาโต๊ะกลมอีกสองห้อง ทุกรายการอยู่คนละวัน ผมก็เลยต้องพูดทุกวันทั้งสามวัน