Skip to main content

วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 

อย่างแรกที่ชอบคือ พวกเขาไม่ได้ใส่เสื้อดำปี๋กันแบบที่ท่าพระจันทร์ ที่จริงระหว่าง 3 แคมปัส ที่รังสิตก็ยังไม่เคร่งครัดเท่าไหร่กับเสื้อดำ มีแต่ท่าพระจันทร์นี่แหละที่ดำปี๋ๆ ตลกดีที่ท่าพระจันทร์สิ้นความดื้อไปแล้ว 

ที่ลำปางวันนี้ ก่อนเริ่มสอน ผมถามพวกเขาว่าพวกคุณคิดว่าอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกว่าชีวิตมหาวิทยาลัยแตกต่างจากเมื่อเป็นนักเรียนที่สุด ขอ 3 คำตอบ นศ. ร่วมร้อยคนในห้อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงตอบกันอย่างรวดเร็ว คนแรกบอกว่า ได้นอนตื่นสาย คนต่อมาบอก ไม่ต้องแต่งชุดนักศึกษา อีกคนบอก เลือกวิชาเรียนได้มากขึ้น 

เรื่องชุดนักศึกษา ผมว่านักศึกษามหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ทางเหนือใส่ชุด นศ. มากกว่า มธ. ลำปางเสียอีก 

ผมถามว่าสามคำตอบนี้มีอะไรร่วมกัน คนหนึ่งตอบว่า ความอิสระ ผมแอบตกใจในใจว่าทำไมเชื่อมโยงได้ไวจัง แต่พยายามเก็บอาการ เริ่มนึกในใจว่า ห้องนี้เริ่มสนุกแระ  

ผมรีบสำทับทันทีว่า ความอิสระคือการเลือกได้ การเลือกได้มีความยุ่งยาก มีความรับผิดชอบต่อผลที่เลือก แต่ก็ดีกว่าเลือกไม่ได้ พวกเขานั่งฟังอย่างสนใจ ตาใส หลายคนอมยิ้ม ผมเริ่มมีความหวังขึ้นอีก  

แล้วบอกพวกเขาว่า ผมมาสอนลำปางเมื่อเกือบสิบปีก่อนแล้วไม่ได้มาอีกเลย ตอนนั้นผมคิดว่า นศ. ธรรมศาสตร์ลำปางทำไมต่างจากที่ท่าพระจันทร์และรังสิตมากจัง เพราะมีแต่คนใส่ชุดนักศึกษา แต่ไม่ตั้งใจเรียนเลย มาถึงรุ่นพวกคุณ ต่างไปมากเลย คงมีใครมาปลูกอะไรไว้ อันหลังนี้ผมแอบนึกคนเดียวในใจ 

ผมได้ใจบอกพวกเขาต่อไปว่า พวกคุณต้องรู้จักเลือก กล้าเลือก ถ้าพวกคุณอยู่ในสังคมที่เลือกไม่ได้เสียจนไม่คิดว่าการเลือกเป็นสิ่งจำเป็น สังคมเราจะถดถอย สังคมจะไม่มีทางเลือกใหม่ๆ 

แล้วผมก็สอนสังคมศาสตร์ ผ่านจากการบอกว่าสังคมคืออะไร จะรู้จักมันได้อย่างไร ผมบอกให้พวกเขารู้จักดื้อกับสังคม บอกพวกเขาว่า อย่าสร้างสรรค์สังคมด้วยการแค่ผลิตซ้ำสิ่งที่สังคมต้องการ ผมบอกให้เขาเป็นนักสังคมศาสตร์ที่นอกจากศึกษาสังคมแล้วยังต้องเปลี่ยนแปลงสังคม  

ผมบอกว่า ในฐานะที่พวกเขาเป็นนักเรียนสังคมสงเคราะห์ พวกเขาต้องกล้าสงสัยว่า สิ่งที่สังคมบอกว่าดีนั้น ดีต่อใครกันแน่ พวกเขาต้องกล้าที่จะดื้อเพื่อเปลี่ยนสังคมให้เป็นธรรม นักสังคมศาสตร์ต้องเรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ พวกเขาดูอึ้งๆ แต่ก็เหมือนจะสนใจดีอยู่ 

ตอนท้ายๆ ของเวลาเรียน ผมล้อพวกเขาว่า พรุ่งนี้อาจมีผู้ปกครองไปฟ้องครูใหญ่ว่า อาจารย์คนนี้สอนให้เด็กดื้อ แต่ผมดักคอไว้แล้วว่า ถ้าคุณพิมพ์ชื่อผมแล้วพิมพ์ชื่อครูใหญ่ตามมา จะรู้ว่าครูใหญ่คุณไม่อยากยุ่งกับผมหรอก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้