Skip to main content

ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้

1. วิธีจัดแสดงเรื่องเศรษฐกิจ วิกฤตต้มยำกุ้งเกี่ยวกับเรื่องการเงิน เศรษฐกิจ มีตัวเลขมากมาย จึงเป็นเรื่องยากที่จะสื่อสาร งานนี้นอกจากมีข้อมูลดีแล้วยังไม่พอ แต่ยังต้องแปลข้อมูลเป็นคำพูดบอกเล่าด้วยคำง่ายๆ และภาพให้ดีด้วย แต่งานนี้เขาก็ทำได้ดี แม้บางส่วนจะเยอะไปหน่อย บางตอนยังยากอยู่ แต่ก็ยังทำได้ดีกว่าอาจารย์หลายๆ คนที่สอนหนังสือโดยไม่แคร์ว่านักศึกษาจะฟังรู้เรื่องหรือเปล่า

เป็นเรื่องท้าทายที่จะทำนิทรรศการเรื่องเศรษฐกิจ การเงิน ให้คนเข้าใจได้อย่างไร และนี่น่าจะเป็นครั้งแรกๆ ในประเทศไทยที่จัดงานแบบนี้กัน

2. การบอกเล่าผลกระทบทางสังคม ที่ยากตามมาคือจะเล่าเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อสังคมอย่างไร ทั้งมิติทางสังคมระดับครัวเรือน มิติทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ วัฒนธรรมการบริโภคก่อนและหลังวิกฤตนี้ พร้อมทั้งแสดงให้เห็นความรู้สึก การสื่อผ่านวัตถุจัดแสดง ช่วยให้สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวทางเศรษฐกิจเข้ากับคนจริงๆ ที่ได้รับผลกระทบได้ดี 

งานนี้อาศัยสิ่งของเป็นตัวเล่าเรื่องเหล่านั้น สิ่งของเหล่านี้ทุกชิ้นล้วนมีจิตวิญญาณ มีชีวิต เพราะมันเป็นประจักษ์พยานของคนที่ใช้มัน งานนี้นำสิ่งของมาเล่าเรื่องได้ดีทีเดียว

3. มองย้อนกลับไปในยุคนั้นแล้ว ครอบครัวผมแทบจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เลย ที่จริงผมออกจะแปลกใจว่าทำไมครอบครัวผมแทบจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงเลย ทั้งๆ ที่พ่อผมทำงานในสายการเงินการธนาคารมาตลอดและตอนนั้นก็ยังเป็นผู้จัดการธนาคารด้วย แต่เป็นธนาคารที่มั่นคงหน่อย ไม่ล้มไปเสียก่อน 

ที่ไม่ได้รับผลกระทบส่วนหนึ่งคงเพราะครอบครัวไม่มีเงินพอที่จะลงทุนกับสถาบันการเงินเหล่านี้ อีกส่วนหนึ่งคงเพราะนิสัยการกินอยู่ที่พ่อและแม่ ที่มีพื้นเพเป็นคนต่างจังหวัด และนิยมชีวิตแบบนั้นพร้อมกับชีวิตสมัยใหม่ที่แค่พอสะดวกสบายขึ้นกว่าเดิมก็ดีแล้ว นอกจากนั้นยังขี้ขลาดในการลงทุน ไม่หวังรวยเร็ว ทุกวันนี้ก็ยังเป็นแบบนั้นกันอยู่

4. คนดูน่าจะได้คิดอะไรบ้าง คนรุ่นเดียวกับผมที่เติบโตมาในยุควิกฤติ เขาอาจเพิ่งเป็นหนุ่มสาววัยทำงาน อาจยังเรียนมัธยมหรือมหาวิทยาลัย คนรุ่นนี้น่าจะเชื่อมโยงรายละเอียดของชีวิตที่เขาอาจไม่เข้าใจ เข้ากับวิกฤตใหญ่นั้นได้บ้าง ข้าวของหลายอย่าง รวมทั้งสื่อย้อนยุค อย่างตลับเทปเพลงและภาพยนตร์ ที่งานนี้นำมาแสดง เชื่อมชีวิตคนเข้ากับโครงสร้างเศรษฐกิจได้ดี 

ส่วนคนที่เป็นนักลงทุน คนที่กุมบังเหียนครอบครัว เป็นคนที่รับผิดชอบครอบครัวแล้วกระโจนเข้าไปในกระแสการเงินขณะนั้น น่าจะได้เข้าใจอะไรๆ มากขึ้นบ้างว่า การตัดสินใจของพวกเขานั้นวางอยู่บนโครงการการบริหารที่นำพาทุกคนไปในทิศทางที่ผิดพลาดอย่างไร เขาน่าจะสำนึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของผู้ต้องทำให้ทั้งสังคมแบกรับความผิดพลาดนี้บ้าง หวังว่าเขาจะสำนึก 

ส่วนใครก็ตามที่ไม่เข้าใจรายละเอียดอันโกลาหลของเรื่องรายขณะนั้น ไม่เข้าใจแม้ผ่านชีวิตช่วงนั้นมา ไม่เข้าใจโครงสร้างอารมณ์และปฏิกิริยาต่อเนื่องจากยุคนั้น นิทรรศการนี้เชื่อมโยงให้เห็นได้ดีทีเดียว

5. สำหรับทางออก ผมยังคิดว่านิทรรศการนี้ยังไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้มากนัก ส่วนหนึ่งคงเพราะต้องการเปิดเอาไว้ อีกส่วนหนึ่งคงเพราะขณะนี้เราอยู่ในยุคสมัยที่ไม่เอื้อให้คิดอะไร ยุคที่คนถูกปิดปาก และไม่รู้ว่าจะพูดถึงความหวังไปทำไมในเมื่อเราไม่มีเสรีภาพที่จะคิดจะหวังอะไร 

อีก 20 ปีให้หลัง ถ้าสังคมไทย การเมืองไทย และเศรษฐกิจไทยไม่เลวร้ายนัก เราคงได้เห็นลูกหลานทำนิทรรศการระลึกและชวนให้สำนึกพร้อมตระหนักคิด ว่าความขัดแย้งในประเทศไทยที่ดำเนินมาเกินกว่า 10 ปีแล้วนี้ ผ่านไปอีก 20 ปีคนไทยเรียนรู้หรือไม่เรียนรู้อะไรบ้าง แต่กว่าจะได้เรียนรู้อะไร มันก็สายเกินไปแล้วทุกที

นิทรรศการนี้เริ่มแสดงแล้วตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2560 - 2 กรกฎาคม 2560 เข้าชมฟรี ณ มิวเซียมสยาม (ท่าเตียน) เวลา 10:00-18:00 น. นอกจากนั้นโปรดติดตามกิจกรรมต่อเนื่องอีกมากมาย ชวนลูกหลาน เพื่อนร่วมงาน ลูกศิษย์ ญาติพี่น้องไปชมไปติกันเถอะครับ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก