Skip to main content

แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง

 
แต่ที่ไหนได้ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เอาจริงเอาจังกับรองเท้ามาก เรียกว่าเขาศึกษาวัฒนธรรมการใส่รองเท้ากันเลยทีเดียว ที่สำคัญคือ มันบรรจุไปด้วยมุมมองของคนทำรองเท้า การถอด การใส่ และการตัดเย็บไว้ด้วย แถมยังเป็นการศึกษาเปรียบเทียบที่ทำกับทั้งรองเท้าโบราณ รองเท้านอกยุโรป และรองเท้ายุโรปยุคกลาง แถมยังดูสังคมของรองเท้าไปพร้อมๆ กันด้วย
 
พิพิธภัณฑ์รองเท้าบาทา (Bata Shoe Museum) ที่โตรอนโตนี้เปิดเมื่อปี 1995 ก่อตั้งโดยซอนญ่า บาทา สะใภ้ของตระกูลบาทาที่ก่อตั้งบริษัทรองเท้าบาทา ซอนญ่า บาทาเดินทางไปทั่วโลกคงด้วยเพราะติดตามสามีไปขายรองเท้า เธอก็เลยเก็บสะสมรองเท้าไว้มากมาย ไม่เท่านั้น ยังเอาจริงเอาจังกระทั่งให้ทุนวิจัยรองเท้า แล้วทำทั้งโปราณคดีและชาติพันธ์ุนิพนธ์รองเท้า
 
พิพิธภัณฑ์นี้จึงเด่นทั้งการเล่าเรื่อง ของที่สะสม และการจัดแสดง นี่ยังไม่นับว่าเขาให้การศึกษาเด็กๆ อย่างดีด้วย ตอนที่ไปชม ก็เห็นมีการนำเด็กตั้งแต่ 7 ปีจนถึงอายุไม่น่าจะเกิน 10 ขวบเดินชมและทำกิจกรรมอยู่สองกลุ่ม วิทยากรเขาเหมือนเชี่ยวชาญการเล่าเรื่องให้เด็กฟัง เด็กๆ ก็เลยสนใจติดตามแย่งกันตอบคำถาม อย่างที่นึกไม่ออกเลยว่าเด็กไทยจะมีความใส่ใจและกล้าหาญได้ครึ่งของเด็กแคนาเดี่ยนพวกนี้
 
แรกเริ่มเลย พิพิธภัณฑ์เล่าเรื่องผ่านโบราณคดีและประวัติศาสตร์การใส่รองเท้า ที่จริงเขากล่าวถึงตั้งแต่เริ่มมีการเดินของมนุษย์วานร (hominid) คือลูซี่ที่เริ่มเดินเต็มเท้ากันเลยทีเดียว แล้วจึงเอาตัวอย่างรองเท้า 5-6 พันปีก่อนที่พบในหลุมศพแล้วมีการสร้างจำลองเลียนแบบมาให้ดู 
 
แล้วเขาก็ไล่ไปตามแหล่งอารยธรรมโลกต่างๆ อย่างอียิปต์ กรีก โรมัน อินเดีย จีน ยุโรป แม้ว่าการเล่าแบบนี้จะไม่แหวกแนวนัก แต่ก็ยังน่าสนใจที่เขาเอารองเท้าของชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของทวีปอเมริกาเหนือ อย่างชาวอนาซาสซีเมื่อ 6,000 ปีก่อน มาวางไว้ในช่วงยุคสมัยโบราณนี้ด้วย มีตัวอย่างรองเท้าในหลุมศพที่ทำให้เชื่อว่า ชาวอินเดียนอเมริกาดั้งเดิมน่าจะสานรองเท้าในรูปทรงต่างๆ
 
ที่น่าสนใจอีกเรื่องคือการเชื่อมโยงรองเท้ากับศาสนา แล้วเปรียบเทียบให้เห็นจุดเน้นและอคติของแต่ละศาสนา มีส่วนทำให้รูปทรง วัสดุ และการใช้งานรองเท้าแตกต่างกันไปทั่วโลก การตีความตอนนี้ก็นับว่าน่าประทับใจ โดยเฉพาะเรื่องรองเท้ามุสลิม และตัวอย่างรองเท้าจากโป๊บ กับรองเท้าพระชินโต ที่เพิ่งได้รู้ว่าเป็นไม้ จากที่เคยนึกว่าเป็นผ้ามาตลอด
 
 
 
 
ถัดมาเป็นรองเท้าเฉพาะทางหลายคู่ เขาแสดงรวมๆ กัน ทั้งตามอาชีพ ตามถิ่นฐาน และตามยุคสมัยของรองเท้าสมัยใหม่ ที่น่าสนใจคือ พิพิธภัณฑ์ได้รองเท้าจากคนดังมาหลายคู่ เช่น รองเท้าของมาริลีน มอนโร ที่เธอเองบอกว่า "ขอบคุณใครก็ตามที่คิดส้นสูงขึ้นมาให้ฉันมีอาชีพการงานจากการใส่ส้นสูง" ส่วนรองเท้าดาไลลามะ ก็เป็นรองเท้าแตะคีบของบาทานั่นเอง รองเท้าอีกคู่ที่น่าสนใจจากความเรียบง่ายคือรองเท้าของอินทิรา คานธี
 
 
 
 
อีกสองชั้นถัดมาน่าตื่นเต้นยิ่งขึ้นไปใหญ่ ชั้นหนึ่งซอนญ่า ยาทาให้ทุนคนไปทำวิจัยรองเท้าของผู้คนในแถบขั้วโลก เป็นรองเท้าคนที่สู้ความหนาว ทำให้ได้เห็นทั้งความแตกต่างของทั้งรูปทรงและวัสดุ เช่นรองเท้าที่ทำจากหนังปลา เสื้อคลุมที่ทำจากผนังลำไส้แมวน้ำ รองเท้าหนังปลา รองเท้าหนังและขนเรนเดียร์ ทำให้ได้เห็นว่าวัฒนธรรมรองเท้าของคนขั้วโลกแตกต่างกันและอาศัยวัสดุในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน แม้จะดูคล้ายๆ กัน
 
 
 
 
ชั้นถัดไป ซอนญ่าวิพากษ์วัฒนธรรมรองเท้าของยุโรป ด้วยการย้อนกลับไปยุคเริ่มต้นอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 พิพิธภัณฑ์บอกว่า ชาวยุโรปเป็น "เหยื่อของแฟชั่น" ถึงตรงนี้ การจัดแสดงก็เปลี่ยนแนวเลย จากห้องขั้วโลก ที่ให้บรรยากาศหนาวเหน็บ มาสู่ห้องยุคอุตสาหกรรมที่ดูฟุ้งเฟ้อ ในห้องนี้ ของทุกอย่างราวกับถูกมองผ่านหน้าต่างเข้าไปในห้องจัดแสดงในห้างสรรพสินค้ายุคนั้น เห็นได้ชัดว่าเขาจงใจพูดถึงชนชั้น และจงใจกล่าวว่ารองเท้ารุ่นนั้นใสไม่สบาย แม้จะงดงามอย่างมาก
 
ดูพิพิธภัณฑ์รองเท้าจบแล้วได้เรียนรู้แนวทางการศึกษาวัตถุอย่างหนึ่งอย่างใดอย่างเอาจริงเอาจัง นับถือความมุ่งมั่นของซอนญ่า บาทา และนั่นทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รางวัลการอนุรักษ์ดีเด่น แต่ที่ต้องเพิ่มเข้าไปคือ ทำให้นับถือและขอบคุณรองเท้ายี่ห้อบาทาอย่างยิ่งทีเดียว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี