Skip to main content

วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า

งานชิ้นหนึ่งมีประเด็น post-colonialism คู่ขัดแย้งแอฟริกัน-อังกฤษ อีกชิ้นเกี่ยวกับระบบ patriarchy คู่ขัดแย้งหญิง-ชายในจีน อีกชิ้นว่าด้วย authoritarianism คู่ขัดแย้งคนเหนือ-คนใต้ในเวียดนาม

 

ผมสนุกกับงานทั้งสามชิ้นมาก แม้ว่าจะเขียนกระท่อนกระแท่นบ้าง ข้อมูลยังบกพร่องบ้าง บทวิเคราะห์ยังไม่ถึงใจบ้าง แต่ก็ได้เรียนรู้และคิดอะไรต่างๆ ได้อีกมากมาย

 

เสียดายที่มีเรื่องหนึ่งซึ่งคิดเตรียมไปจะพูด แต่กลับไม่ได้พูดเพราะบรรยากาศไม่เอื้อ คือที่อยากจะตั้งคำถามคือว่า เรื่องเหล่านี้ใช้เป็นอุปมานิทัศน์ (allegory) ในการเข้าใจปัญหาในสังคมไทยได้อย่างไรบ้าง การวิพากษ์ประเด็นเหล่านี้ย้อนกลับมาวิพากษ์อะไรในสังคมไทยได้บ้าง เพราะทุกเรื่องข้างต้นย้อนคิดกลับมาที่สังคมไทยได้ท้งหมดเลย แต่นักวิชาการที่รู้เรื่องนอกประเทศไทยดีส่วนใหญ่เพิกเฉย ไม่ทำ

 

สมัยก่อนผมเบื่อคำถามประเภทที่ว่า ศึกษาแนวคิดต่างประเทศแล้วจะมาช่วยให้เข้าใจสังคมไทยได้อย่างไร แต่คิดว่า นักวิชาการไทยก็ควรเข้าใจเรื่องราวของที่อื่นๆ ในโลกบ้างสิ จะเข้าใจแต่เรื่องไทยๆ ไปทำไม

 

แต่ความจริงการที่ผมเองศึกษาเวียดนามอย่างยาวนาน ศึกษาแนวคิดต่างๆ ของทั้งฝรั่งและที่ไม่ใช่ฝรั่งแต่เขาเขียนเป็นภาษาอังกฤษอย่างเอาจริงเอาจัง ก็เพื่อทั้งเข้าใจนั่น คนที่ต่างๆ และเพื่อวิพากษ์สังคมตนเองไปพร้อมๆ กันด้วย ผมศึกษาที่อื่นๆ ก็เพื่อเป็นอุปมานิทัศน์ในการเข้าใจสังคมตนเอง

 

หลังๆ มานี้ผมจึงคิดว่า การเข้าใจปัญหาที่อื่นๆ ก็ต้องสะท้อนถึงปัญหาในสังคมตนเองได้ด้วย และบางทีการศึกษาที่อื่นจะช่วยให้เราเห็นปัญหาของเราเองที่เราไม่เคยมองเห็น ไม่เคยคิดว่าเป็นปัญหามาก่อน

 

นักวิชาการไทยเรารู้เรื่องการกดขี่บีฑาประชาชนในทุกซอกหลืบของโลกกันอย่างละเอียดมาก รู้ดีมาก รู้กระทั่งในภาษาของคนเหล่านั้นเอง รู้แทบจะชนิดได้ว่าหากให้นักวิชาการเก่งๆ ของไทยมีเวลาปลอดจากการกรอกแบบฟอร์มสักหน่อย ปลอดจากการสนอมากมายสักหน่อย ปลอดจากงานบริหารสักหน่อย ก็จะเขียนบทความดีๆ ลงวารสารวิชาการระดับโลกดังๆ ได้อย่างสม่ำเสมอ

 

แต่นักวิชาการไทยที่ช่างเรียนรู้เชี่ยวชาญในการวิพากษ์สังคมต่างๆ ทั่วโลกจำนวนมาก กลับไม่สะท้อนย้อนคิดกลับมายังสังคมไทยเลย

 

คนที่เก่งเรื่อง post-colonialism จึงสามารถเพิกเฉยต่อการย่ำยีประชาชนของภาวะอาณานิคมในประเทศตนเองได้ คนที่เก่งเรื่อง feminism จึงสามารถเพิกเฉยต่อการกดขี่ทางเพศและการกดขี่ในลักษณะอื่นๆ ในประเทศไทยได้ คนที่เก่งในการวิเคราะห์ authoritarianism ในที่อื่นๆ ของโลก จึงเพิกเฉยต่อ authoritarianism แบบไทยๆ ได้

 

การเพิกเฉยนี้ไม่รู้ว่ามาจากความฉลาดแต่เรื่องนอกประเทศ ปากกล้าเก่งแต่กับเรื่องของคนอื่น หรือเพราะมองไม่เห็นตัวเองในสิ่งที่ตนเองศึกษาและวิพากษ์ จึงมองย้อนกลับมาไม่ได้ หรือเพราะตนเองนั่นแหละที่เป็นอุปสรรคขวางกั้นการย้อนกลับมาวิพากษ์ประเทศไทย เพราะตนเองอยู่บนยอดของความสุขสำราญ ก็เลยไม่คิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นที่อื่น ไม่ได้เกิดกับประเทศไทย กันแน่

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง