Skip to main content

วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า

งานชิ้นหนึ่งมีประเด็น post-colonialism คู่ขัดแย้งแอฟริกัน-อังกฤษ อีกชิ้นเกี่ยวกับระบบ patriarchy คู่ขัดแย้งหญิง-ชายในจีน อีกชิ้นว่าด้วย authoritarianism คู่ขัดแย้งคนเหนือ-คนใต้ในเวียดนาม

 

ผมสนุกกับงานทั้งสามชิ้นมาก แม้ว่าจะเขียนกระท่อนกระแท่นบ้าง ข้อมูลยังบกพร่องบ้าง บทวิเคราะห์ยังไม่ถึงใจบ้าง แต่ก็ได้เรียนรู้และคิดอะไรต่างๆ ได้อีกมากมาย

 

เสียดายที่มีเรื่องหนึ่งซึ่งคิดเตรียมไปจะพูด แต่กลับไม่ได้พูดเพราะบรรยากาศไม่เอื้อ คือที่อยากจะตั้งคำถามคือว่า เรื่องเหล่านี้ใช้เป็นอุปมานิทัศน์ (allegory) ในการเข้าใจปัญหาในสังคมไทยได้อย่างไรบ้าง การวิพากษ์ประเด็นเหล่านี้ย้อนกลับมาวิพากษ์อะไรในสังคมไทยได้บ้าง เพราะทุกเรื่องข้างต้นย้อนคิดกลับมาที่สังคมไทยได้ท้งหมดเลย แต่นักวิชาการที่รู้เรื่องนอกประเทศไทยดีส่วนใหญ่เพิกเฉย ไม่ทำ

 

สมัยก่อนผมเบื่อคำถามประเภทที่ว่า ศึกษาแนวคิดต่างประเทศแล้วจะมาช่วยให้เข้าใจสังคมไทยได้อย่างไร แต่คิดว่า นักวิชาการไทยก็ควรเข้าใจเรื่องราวของที่อื่นๆ ในโลกบ้างสิ จะเข้าใจแต่เรื่องไทยๆ ไปทำไม

 

แต่ความจริงการที่ผมเองศึกษาเวียดนามอย่างยาวนาน ศึกษาแนวคิดต่างๆ ของทั้งฝรั่งและที่ไม่ใช่ฝรั่งแต่เขาเขียนเป็นภาษาอังกฤษอย่างเอาจริงเอาจัง ก็เพื่อทั้งเข้าใจนั่น คนที่ต่างๆ และเพื่อวิพากษ์สังคมตนเองไปพร้อมๆ กันด้วย ผมศึกษาที่อื่นๆ ก็เพื่อเป็นอุปมานิทัศน์ในการเข้าใจสังคมตนเอง

 

หลังๆ มานี้ผมจึงคิดว่า การเข้าใจปัญหาที่อื่นๆ ก็ต้องสะท้อนถึงปัญหาในสังคมตนเองได้ด้วย และบางทีการศึกษาที่อื่นจะช่วยให้เราเห็นปัญหาของเราเองที่เราไม่เคยมองเห็น ไม่เคยคิดว่าเป็นปัญหามาก่อน

 

นักวิชาการไทยเรารู้เรื่องการกดขี่บีฑาประชาชนในทุกซอกหลืบของโลกกันอย่างละเอียดมาก รู้ดีมาก รู้กระทั่งในภาษาของคนเหล่านั้นเอง รู้แทบจะชนิดได้ว่าหากให้นักวิชาการเก่งๆ ของไทยมีเวลาปลอดจากการกรอกแบบฟอร์มสักหน่อย ปลอดจากการสนอมากมายสักหน่อย ปลอดจากงานบริหารสักหน่อย ก็จะเขียนบทความดีๆ ลงวารสารวิชาการระดับโลกดังๆ ได้อย่างสม่ำเสมอ

 

แต่นักวิชาการไทยที่ช่างเรียนรู้เชี่ยวชาญในการวิพากษ์สังคมต่างๆ ทั่วโลกจำนวนมาก กลับไม่สะท้อนย้อนคิดกลับมายังสังคมไทยเลย

 

คนที่เก่งเรื่อง post-colonialism จึงสามารถเพิกเฉยต่อการย่ำยีประชาชนของภาวะอาณานิคมในประเทศตนเองได้ คนที่เก่งเรื่อง feminism จึงสามารถเพิกเฉยต่อการกดขี่ทางเพศและการกดขี่ในลักษณะอื่นๆ ในประเทศไทยได้ คนที่เก่งในการวิเคราะห์ authoritarianism ในที่อื่นๆ ของโลก จึงเพิกเฉยต่อ authoritarianism แบบไทยๆ ได้

 

การเพิกเฉยนี้ไม่รู้ว่ามาจากความฉลาดแต่เรื่องนอกประเทศ ปากกล้าเก่งแต่กับเรื่องของคนอื่น หรือเพราะมองไม่เห็นตัวเองในสิ่งที่ตนเองศึกษาและวิพากษ์ จึงมองย้อนกลับมาไม่ได้ หรือเพราะตนเองนั่นแหละที่เป็นอุปสรรคขวางกั้นการย้อนกลับมาวิพากษ์ประเทศไทย เพราะตนเองอยู่บนยอดของความสุขสำราญ ก็เลยไม่คิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นที่อื่น ไม่ได้เกิดกับประเทศไทย กันแน่

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์