Skip to main content

วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า

งานชิ้นหนึ่งมีประเด็น post-colonialism คู่ขัดแย้งแอฟริกัน-อังกฤษ อีกชิ้นเกี่ยวกับระบบ patriarchy คู่ขัดแย้งหญิง-ชายในจีน อีกชิ้นว่าด้วย authoritarianism คู่ขัดแย้งคนเหนือ-คนใต้ในเวียดนาม

 

ผมสนุกกับงานทั้งสามชิ้นมาก แม้ว่าจะเขียนกระท่อนกระแท่นบ้าง ข้อมูลยังบกพร่องบ้าง บทวิเคราะห์ยังไม่ถึงใจบ้าง แต่ก็ได้เรียนรู้และคิดอะไรต่างๆ ได้อีกมากมาย

 

เสียดายที่มีเรื่องหนึ่งซึ่งคิดเตรียมไปจะพูด แต่กลับไม่ได้พูดเพราะบรรยากาศไม่เอื้อ คือที่อยากจะตั้งคำถามคือว่า เรื่องเหล่านี้ใช้เป็นอุปมานิทัศน์ (allegory) ในการเข้าใจปัญหาในสังคมไทยได้อย่างไรบ้าง การวิพากษ์ประเด็นเหล่านี้ย้อนกลับมาวิพากษ์อะไรในสังคมไทยได้บ้าง เพราะทุกเรื่องข้างต้นย้อนคิดกลับมาที่สังคมไทยได้ท้งหมดเลย แต่นักวิชาการที่รู้เรื่องนอกประเทศไทยดีส่วนใหญ่เพิกเฉย ไม่ทำ

 

สมัยก่อนผมเบื่อคำถามประเภทที่ว่า ศึกษาแนวคิดต่างประเทศแล้วจะมาช่วยให้เข้าใจสังคมไทยได้อย่างไร แต่คิดว่า นักวิชาการไทยก็ควรเข้าใจเรื่องราวของที่อื่นๆ ในโลกบ้างสิ จะเข้าใจแต่เรื่องไทยๆ ไปทำไม

 

แต่ความจริงการที่ผมเองศึกษาเวียดนามอย่างยาวนาน ศึกษาแนวคิดต่างๆ ของทั้งฝรั่งและที่ไม่ใช่ฝรั่งแต่เขาเขียนเป็นภาษาอังกฤษอย่างเอาจริงเอาจัง ก็เพื่อทั้งเข้าใจนั่น คนที่ต่างๆ และเพื่อวิพากษ์สังคมตนเองไปพร้อมๆ กันด้วย ผมศึกษาที่อื่นๆ ก็เพื่อเป็นอุปมานิทัศน์ในการเข้าใจสังคมตนเอง

 

หลังๆ มานี้ผมจึงคิดว่า การเข้าใจปัญหาที่อื่นๆ ก็ต้องสะท้อนถึงปัญหาในสังคมตนเองได้ด้วย และบางทีการศึกษาที่อื่นจะช่วยให้เราเห็นปัญหาของเราเองที่เราไม่เคยมองเห็น ไม่เคยคิดว่าเป็นปัญหามาก่อน

 

นักวิชาการไทยเรารู้เรื่องการกดขี่บีฑาประชาชนในทุกซอกหลืบของโลกกันอย่างละเอียดมาก รู้ดีมาก รู้กระทั่งในภาษาของคนเหล่านั้นเอง รู้แทบจะชนิดได้ว่าหากให้นักวิชาการเก่งๆ ของไทยมีเวลาปลอดจากการกรอกแบบฟอร์มสักหน่อย ปลอดจากการสนอมากมายสักหน่อย ปลอดจากงานบริหารสักหน่อย ก็จะเขียนบทความดีๆ ลงวารสารวิชาการระดับโลกดังๆ ได้อย่างสม่ำเสมอ

 

แต่นักวิชาการไทยที่ช่างเรียนรู้เชี่ยวชาญในการวิพากษ์สังคมต่างๆ ทั่วโลกจำนวนมาก กลับไม่สะท้อนย้อนคิดกลับมายังสังคมไทยเลย

 

คนที่เก่งเรื่อง post-colonialism จึงสามารถเพิกเฉยต่อการย่ำยีประชาชนของภาวะอาณานิคมในประเทศตนเองได้ คนที่เก่งเรื่อง feminism จึงสามารถเพิกเฉยต่อการกดขี่ทางเพศและการกดขี่ในลักษณะอื่นๆ ในประเทศไทยได้ คนที่เก่งในการวิเคราะห์ authoritarianism ในที่อื่นๆ ของโลก จึงเพิกเฉยต่อ authoritarianism แบบไทยๆ ได้

 

การเพิกเฉยนี้ไม่รู้ว่ามาจากความฉลาดแต่เรื่องนอกประเทศ ปากกล้าเก่งแต่กับเรื่องของคนอื่น หรือเพราะมองไม่เห็นตัวเองในสิ่งที่ตนเองศึกษาและวิพากษ์ จึงมองย้อนกลับมาไม่ได้ หรือเพราะตนเองนั่นแหละที่เป็นอุปสรรคขวางกั้นการย้อนกลับมาวิพากษ์ประเทศไทย เพราะตนเองอยู่บนยอดของความสุขสำราญ ก็เลยไม่คิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นที่อื่น ไม่ได้เกิดกับประเทศไทย กันแน่

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์