Skip to main content

"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า" 

นั่นเป็นประโยคแรกๆ ที่เพื่อนอาจารย์ "ผู้ถูกคุมขังทางความคิด" กล่าวต่อผมหลังคำทักทาย ผมตกใจและแอบปลาบปลื้มใจที่อาจารย์ก้าวพ้นความตระหนกกลัวไปสู่ประสบการณ์ของขอบฟ้าที่แปลกใหม่แม้อยู่ในที่แคบๆ 

 

นี่เป็นครั้งแรกที่ผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมอาจารย์ หลังจากที่อาจารย์ถูกละเมิดสิทธิ์การประกันตัว อันเป็นสิทธิ์ที่พึงได้รับในระหว่างดำเนินคดี หากใครติดตามกระบวนการในการดำเนินคดีลักษณะนี้อย่างใกล้ชิดเพียงพอ ก็จะเข้าใจได้ว่าผมไม่ได้กล่าวเกินเลยไปหรอก

 

แรกๆ ที่คุยกันอาจารย์คงเกร็ง ก็เลยเล่าเร็วๆ ว่าตื่นเช้าขึ้นมาจนเข้านอนในแต่ละวันก็มีกิจวัตรที่อาจารย์สรุปว่า "เหมือนกับที่ฟูโกต์กล่าวถึง docile body เลยนั่นแหละครับ" 

 

เมื่อผ่อนคลายขึ้น อาจารย์ก็เริ่มสนุก แล้วก็เล่าเรื่องประทับใจอย่างตื่นเต้นตาเป็นประกายเหมือนนักเรียนมานุษยวิทยาที่เพิ่งกลับจากการวิจัยภาคสนามในดินแดนไกลโพ้น เช่น 

 

"ข้างในแมวเยอะมาก พวกมันจะนอนรวมกันอยู่มุมนึง นักโทษบางคนเขาก็ไม่ชอบแมว"

 

"แดนนี้เป็นแดนขังเด็กๆ (อายุไม่เกิน 30) ดีกว่าแดนที่เคยอยู่แม้จะแออัดกว่า เด็กๆ ดูสดใสกันมาก แต่ละคนต้องโทษคดีต่างๆ แต่พวกเขาอยากรู้อยากเห็นมาก หลายคนชอบมาคุยกับผม ชอบมาถามโน่นถามนี่ เขาอยากเรียนรู้"

 

อีกเรื่องหนึ่งที่อาจารย์ตื่นเต้นมากคือการนิยามพื้นที่ อาจารย์เล่าว่า "พวกเขาจัดการพื้นที่หลายอย่างด้วยวิธีของพวกเขา แม้แต่ห้องน้ำเอง เป็นที่รู้กันว่าหากมีม่านซึ่งพวกเขาทำกันเองกั้นอยู่ ทำที่เกี่ยวผนังกันเอง ก็อย่าไปรบกวน เพราะคนข้างในกำลัง "มาสเตอเบท" อยู่"

 

อาจารย์บอกว่าได้พบปะคนมากมายหลายแบบ จึงได้เขียนบันทึกไว้มากทีเดียว 

 

ส่วนกับครอบครัว อาจารย์เล่าว่าครอบครัวเข้าใจแกดี คุยกันตลอด พวกเขาดำเนินชีวิตตามปกติ 

 

สุดท้าย ผมฝากคำพูดกับอาจารย์ไว้ว่า "นักวิชาการจากทั่วโลกกำลังเฝ้าดูอยู่ ปีนี้จะมีการประชุมวิชาการนานาชาติในประเทศไทย 3 รายการ นักวิชาการเหล่านี้รู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น" 

 

อาจารย์แทรกว่า "งานผมได้รับคัดเลือกให้ไปเสนอด้วย" ผมเลยกำชับว่า "หวังว่าอาจารย์จะได้ออกมาและได้ไปเสนองาน แต่หากอาจารย์ไม่ได้ออกมาทันเสนองานที่อาจารย์ได้รับคัดเลือกให้ไปเสนอ นักวิชาการเหล่านี้ก็จะต้องทำอะไรบางอย่าง"

 

ผมเห็นอาจารย์กระตือรือล้นมาก เห็นอาจารย์ตื่นเต้นกับเรื่องราวและผู้คนแปลกใหม่ ได้รับรู้ความรู้สึกแรกที่อาจารย์อยากบอกเล่าที่เป็นเรื่องประสบการณ์ต่อที่ว่าง จากมุมของคนที่อยู่ในที่แคบ แล้วก็ตื้นตันใจและมั่นใจว่าอาจารย์มีกำลังใจต่อสู้กับชีวิตช่วงนี้อย่างเปี่ยมล้น

 

ที่จริงหลังจากที่อาจารย์บอกว่า "ฟ้าข้างในกว้างกว่าข้างนอก" อาจารย์ก็บอกอีกว่า "แต่ไม่มีโอกาสได้เห็นพระจันทร์นะ เพราะตอนกลางคืนต้องเข้าห้อง" 

 

ผมคิดว่าคำพูดอาจารย์เป็นประสบการณ์ที่เยาะเย้ยเสรีภาพจอมปลอมนอกห้องคุมขัง พร้อมๆ กับเป็นคำดูแคลนการกักขังเรือนร่างกลวงเปล่า เพราะอย่าว่าแต่ความสำนึกคิดของอาจารย์เลย แม้แต่เลือดเนื้อ ผัสสะ ที่ก่อรูปประสบการณ์ของอาจารย์ ก็ไม่อาจถูกคุมขังได้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร