Skip to main content

ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 

ยิ่งจากคำชี้แจงอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยเองแล้ว (ดู http://www.chula.ac.th/th/archive/63023) ยิ่งชี้ว่า ระบบการศึกษาไทยไม่เพียงจะยังไม่ก้าวหน้าทางวิชาการ แต่ยังยิ่งกลับถดถอยเสื่อมทรามในทางคุณธรรม ไม่ว่าจะวัดกันด้วยหลักจริยธรรมแบบไทย หรือหลักจริยธรรมสากลคือหลักสิทธิมนุษยชน 

จากคำชี้แจงของมหาวิทยาลัย กลับกลายเป็นว่ามหาวิทยาลัยเรียกร้องให้สังคมเห็นใจอาจารย์ที่กระทำความผิด ไม่ได้แสดงความเห็นใจต่อนิสิตที่ถูกทำร้าย แล้วนิสิตที่ถูกทำร้ายเขาเป็นอย่างไรบ้าง สภาพจิตใจเขาจะยิ่งเลวร้ายกว่าอาจารย์ไหม ไม่มีการกล่าวถึง 

ความแตกต่างทางความคิดจะต้องลงเอยด้วยความรุนแรงแบบนี้หรือ แล้วถ้าบรรดาอาจารย์ (จากคลิปคุณฟ้ารุ่ง ไม่ใช่คนเดียวที่ไร้วุฒิภาวะ) ประพฤติตนอย่างนี้ จะยังเป็นครูอยู่ได้อย่างไร จะมาเรียกร้องเอาจริยธรรมจากนิสิตได้อย่างไร  

มหาวิทยาลัยจะกลบเกลื่อนความผิดนี้ด้วยการขอความเห็นใจจากสังคมไม่ได้ การกระทำรุนแรงแบบนี้เกินกว่าเหตุแน่นอน มีความผิดอาญา เกินกว่าจะอาศัยความเห็นใจมาบดบังความผิด ไม่สมควรที่จะเพิกเฉยและปล่อยให้การกระทำผิดลอยนวลจนเป็นเหตุให้อาจเกิดความรุนแรงขึ้นอีก และอาจเลวร้ายกว่าเดิมยิ่งขึ้นไปอีก 

ในระดับของมหาวิทยาลัยเอง สภาอาจารย์และผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรออกมาแสดงความรับผิดชอบไต่สวนวินัยอาจารย์เรื่องนี้ โดยให้ความเป็นธรรมแก่นิสิตเป็นหลัก ถึงอย่างไร คนที่สมควรมีวุฒิภาวะมากกว่าก็คืออาจารย์ไม่ใช่หรือ ซึ่งนั่นหมายความว่าอาจารย์ต้องมีความรับผิดชอบสูงกว่า คือหากอาจารย์ผิดก็ควรต้องถือว่าผิดมากกว่านิสิต ร้ายแรงกว่าความผิดของนิสิต เพราะต้องรู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควรมากกว่า ต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจมากกว่า 

มหาวิทยาลัยและสาธารณชนต้องแยกการให้ความเห็นใจต่อสภาวะจิตใจปัจจุบันของอาจารย์คนนั้น ออกจากกรรมที่ที่เขาได้ก่อไปแล้ว อย่างน้อยระหว่างก่อกรรมนั้น คนคนนี้ก็ไม่ได้อยู่ในภาวะวิปลาสไม่ใช่หรือ หรือหากเป็นเช่นนั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็น่าสงสัยว่ามหาวิทยาลัยจะปล่อยให้เขามีสภาวะจิตที่ไม่สามารถดำเนินการเรียนการสอนอยู่ได้อย่างไร  

สาธารณชนย่อมสงสัยได้ว่า แล้วอาจารย์คนนี้จะถูกสอบสวนทางวินัยไหม อยู่ในสภาพที่ยังสามารถสอนหนังสือได้ไหม ยังมีวุฒิภาวะ มีสภาวะจิตใจที่ยังเป็นครูได้ไหม หากยังไม่พร้อม สมควรพิจารณาพักงานเขาไหม 

ถึงที่สุดแล้ว ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยด้วยกัน ผมเสียใจที่ได้เห็นว่าความเป็นครูจะบ่นปี้กันไปขนาดไหน ความมั่นใจของนิสิตต่อครูบาอาจารย์จะเป็นอย่างไร และยิ่งน่าสงสัยว่า ในระบบการศึกษาปัจจุบันที่เน้นการแข่งขันมุ่งเน้นกันแต่คะแนนประกันคุณภาพสูงๆ แข่งกันไต่อันดับในเวทีมหาวิทยาลัยดีเด่นของโลก จะดำเนินไปโดยไม่ใส่ใจต่อระบบอำนาจนิยม หรือเลวร้ายกว่านั้นคือความไร้จริยธรรมของอาจารย์ ความขาดสติยั้งคิดของอาจารย์อย่างนั้นหรือ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร