Skip to main content

วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผมไม่ใช่ว่าผมไม่มีแม่หรอก ไม่ใช่ว่าแม่ผมไม่ดีหรอก ไม่ใช่ว่าผมโตมาโดยไม่ได้ถูกเลี้ยงโดยแม่หรอก ผมมีพ่อมีแม่และโตมากับครอบครัวที่พ่อ-แม่-ลูกอยู่ด้วยกันมาตลอดนี่แหละ แต่แม่ในอุดมคติน่ะดูดีเกินกว่าที่ลูกอย่างผมและอาจจะลูกอีกหลายๆ คนเห็นเป็นความขาดแคลนของตนเอง แต่ที่จริงแม่ในอุดมคติอาจเป็นความฟุ่มเฟือยของชีวิตจริงก็ได้

แน่นอนไม่มีใครรู้ว่าตอนยังแบเบาะเคยกินนมแม่ตัวเองหรือเปล่า แต่แม่ผมไม่ได้ให้นมลูกแน่นอน เพราะผมจำได้ว่าน้องชายผมที่อายุน้อยกว่าผม 4 ปี ไม่ได้กินนมแม่อย่างแน่นอน ยิ่งกว่านั้น แม่ผมยืนยันว่าไม่ได้ให้ลูกกินนมตัวเอง เธออธิบายว่า “แม่มีนมไม่พอ” จะจริงไม่จริงอย่างไรก็ตาม ผมจึงรู้สึกถึงความเป็นลูกต่ำมาตรฐานที่ไม่ได้กินนมแม่มาตลอด

ชีวิตคนปัจจุบันมีมากมายที่แม่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา ยิ่งในสังคมครอบครัวขยาย คนทั้งก่อนและก้ำกึ่งกับยุคสมัยใหม่ย่อมรู้ดีว่า ครอบครัวแบบ "พ่อ-แม่-ลูก" น่ะ มันแสนจะเป็นความโรแมนติก (แปลว่า เป็นความฝันหวานแหวว) ของคนชั้นกลางในเมือง

แม่ผมโตขึ้นมาในสังคมกลางเก่ากลางใหม่ ยายผมเล่าว่าเธอเคยนั่งเรือจากบ้านแพน อยุธยา มาท่าเตียนเพื่อไปเที่ยวงานฉลองรัฐธรรมนูญที่ถนนราชดำเนิน ฉะนั้น จะว่ายายผมและแม่ผมอยู่ในยุคเก่าก็ไม่ถูกนัก แต่แม่ผมทั้งปฏิเสธความเป็นยุคเก่าของแม่เธอ (ยายผม) และก็ยังสานต่อความเป็นยุคเก่าคือภาวะครอบครัวขยาย

แม่ผมโตขึ้นมาในช่วงที่สามียาย คือตาผมซึ่งผมไม่เคยเจอ เสียชีวิตไปแล้วทิ้งลูก 7 คนไว้กับภรรยาเขาคือยายผม ลูกคนเล็กเด็กแฝดสองคนเสียชีวิตไปหนึ่ง (ที่จริงเขามีอีกคนที่เป็นแฝดและเสียชีวิตไปก่อนหน้าหนึ่งคน) เด็กทั้ง 6 คนโตขึ้นมาไม่ใช่ด้วยมือยายผมคนเดียว ยายผมฝากลูกไปอยู่กับญาติๆ สามคนรวมทั้งแม่ผมเคยไปอยู่วัดกับ "หลวงตา" คือพี่ชายตาผมที่บวชเป็นพระตั้งแต่เด็ก

การเป็นเด็กวัดของแม่ผมไม่น่าจะลำบากนักหรอก เพราะหลวงตาผมเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยที่ลำพูน เรื่องราวหลวงตาผมน่าสนใจไปอีกแบบ เอาไว้หาโอกาสอื่นเล่า แต่เรื่องชีวิตแม่ผมคือ เธอเป็นเด็กวัดระดับหลานเจ้าคุณ จึงน่าจะมีชีวิตสะดวกสบายทีเดียว หลังจากนั้นเธอก็ย้ายไปอยู่กับญาติห่างๆ อีกคนที่กรุงเทพฯ แล้วพบกับพ่อผมที่มาเป็นเด็กวัดที่วัดราชา แต่เขาอยู่คนละฐานะกับแม่ผมที่ลำพูนแน่นอน

ถ้าใช้มาตรฐานเพลงค่าน้ำนมและจินตกรรมแม่ที่สร้างกันขึ้นมาทุกวันนี้ ครอบครัวแม่ผมล้มเหลวแน่นอน แต่เพราะเธอไม่ได้โตมากับการโหมประโคมโฆษณาความเป็นแม่แบบเดียวอย่างทุกวันนี้ อย่างที่รุ่นผมถูกกรอกใส่หัวมา แม่ผมก็เลยเลือกรับและปฏิเสธความเป็นแม่เธอได้อย่างที่เธอเองต้องการ

ผมเองโตมากับการที่แม่บอกว่าเธอไม่อยากเลี้ยงลูกแบบยายเลี้ยง คือเต็มไปด้วยความรุนแรง เต็มไปด้วยการด่าทอด้วยคำหยาบคาย ความรุนแรงของยายผมรับรู้มากระทั่งผมกับพี่สาวโตแล้วจนยายเลิกใช้ความรุนแรง ยายผมไม่ค่อยด่าว่าหรือตีหลานหรอก ที่จริงผมกับพี่สาว ซึ่งยายเลี้ยงมาตั้งแต่วัยแบเบาะ (เพราะอะไรเดี๋ยวค่อยเล่าต่อ) ถูกยายตามใจอย่างค่อนข้างมากทีเดียว แต่บางครั้งเวลาที่ยายลงโทษ ก็นึกได้ถึงคำแม่ที่มาบอกทีหลังว่า ทำไมเธอจึงไม่อยากเลี้ยงลูกแบบยายเลี้ยงเธอมา ความเป็นแม่แบบยายผม กับความเป็นแม่แบบแม่ผม จึงแตกต่างกันมากทีเดียว

แต่ด้วยความที่ยายเลี้ยงมาในวัยเด็กด้วย ผมก็เลยคิดว่ายายเป็นแม่อีกคนหนึ่งเสมอมา เมื่อพ่อกับแม่ผมตัดสินใจจะมาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ เขาไม่มีเวลาและไม่มีที่อยู่อาศัยเพียงพอที่จะให้คนหลายคนมาอยู่ที่บ้านได้ ไม่มีเวลาเลี้ยงผมกับพี่สาวในช่วงโรงเรียนปิดเทอม แล้วสมัยก่อนก็ไม่มีที่รับฝากเลี้ยงเด็ก ถึงมี ก็ไม่มีสวัสดิการรัฐ ไม่มีเงินส่วนตัวพอจะจ่ายให้ใครดูแลเด็กเล็ก

ในช่วงวัยเด็กตั้งแต่ก่อนจำความได้ ผมกับพี่สาวจึงถูกยายเลี้ยงดูมาในเขตชนบทของอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อโตถึงวัยเข้าโรงเรียนแล้ว พ่อกับแม่ก็ย้ายผมกับพี่มาอยู่กรุงเทพฯ แต่เมื่อไหร่ปิดเทอมใหญ่ ก็จะส่งผมกับพี่ไปอยู่กับยาย ไม่ก็ไปอยู่กับย่าและป้าๆ ลุงๆ พี่ๆ ลูกป้าๆ ลุงๆ ที่ริมทะเลบ้านหน้าสตน หัวไทร นครศรีธรรมราช ความที่อยู่กับยายมาตั้งแต่แบเบาะ ตั้งแต่คลานมุดผ้าถุงยายบ้าง น้าๆ บ้าง ก็จึงคิดว่ายายเป็นแม่อีกคนหนึ่ง แล้วก็โตมากับนมผง นมกระป๋อง รู้จักแต่ค่าน้ำนมวัว

เด็กอย่างผมไม่ได้มีความยุ่งยากกับการเผชิญหน้ากับจินตกรรมแม่มากเท่ากับเด็กอีกหลายๆ ที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่ไม่มีแม่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุอะไรก็แล้วแต่ แล้วแม่ที่แม่ผมโตมาด้วย กับแม่ของแม่ที่ผมรู้จักก็ต่างกัน ส่วนแม่ผมก็ไม่เป็นแม่แบบยายแน่นอน แต่ความเป็นแม่ที่คับแคบของจินตกรรมแม่ก็คงจะกีดกันความเป็นแม่และครอบครัวที่ไม่ได้ต้องมีแม่ได้เสมอไปหรอก

เมื่อใดที่วันแม่เลิกมีไว้เพื่อลำเลิกบุญคุณอย่างหยาบโลนเพียงเพื่อโยงไปกับแม่อุดมคติบางคนที่ก็อาจจะล้มเหลวในการเป็นแม่ในชีวิตจริงเท่านั้น ลูกจำนวนมากคงนึกสบายใจขึ้นที่จะร่วมระลึกถึงความรักความผูกพัน ความเสียสละ ความเอาใจใส่ดูแล ของคนที่ทำหน้าที่เลี้ยงดูเรามาในวัยเด็กจนแม้กระทั่งเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร