Skip to main content

จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล

ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรนั้น เห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่รัฐจงใจบิดเบือนเพื่อปิดกั้นเสรีภาพทางวิชาการ เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ที่แม้มีได้เป็นการต่อต้านรัฐบาลโดยตรงก็ตาม 

ซ้ำร้าย การตั้งข้อหาอย่างบิดเบือนนั้นเองได้นำมาซึ่งกระแสทัดทาน ไม่เห็นด้วย จนกระทั่งอาจลุกลามไปสู่การต่อต้านรัฐบาลที่คุกคามเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนอย่างหนักข้อขึ้นทุกวัน แม้ในที่ประชุมทางวิชาการนานาชาติ ที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาความรู้ และย่อมเป็นผลดีทั้งกับประเทศชาติ และประชากรโลก รัฐบาลเผด็จการประยุทธ จันทร์โอชาก็ยังไม่รู้จักอดกลั้น ไม่รู้จักละเว้น ไม่เข้าใจมาตรฐานสากล ไม่รู้จักละเว้น 

จากกรณีนี้ แวดวงวิชาการทั่วโลกจึงออกแถลงการณ์ให้รัฐบาลไทยยกเลิกการตั้งข้อหาว่านักวิชาการทั้ง 5 นั้นมีความผิด ที่น่าตกใจที่สุดในชีวิตทางวิชาการกว่า 20 ปีของผมคือ การที่สมาคมวิชาการทั่วโลก ทั้งทวีปยุโรป อมเริกา ออสเตรเลีย เอเชีย ต่างก็เรียกร้องไปในทิศทางเดียวกันคือให้ยกเลิกการตั้งข้อหากับทั้ง 5 นักวิชาการนั้น  

เอาแค่คร่าวๆ เช่น AAS (สมาคมเอเชียศึกษา) EUROSEAS (สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งยุโรป) (http://www.newmandala.org/international-statement-support-…/) และล่าสุดคือ AAA (สมาคมมานุษยวิทยาอเมริกัน) ซึ่งใหญ่กว่า มีอิทธิพลข้ามพื้นที่ครอบคลุมทั่วโลกมากกว่าสองสมาคมแรกยิ่งนัก (http://www.americananthro.org/Particip…/AdvocacyDetail.aspx…) ก็ออกแถลงการณ์เรียกร้องในเรื่องเดียวกัน 

ครั้งสุดท้ายที่สมาคม AAA เอ่ยถึงเรื่องอื้อฉาวในประเทศไทยน่าจะเมื่อช่วงสงครามเย็น ที่มีกรณีนักมานุษยวิทยาอเมริกันถูกกล่าวหาว่าทำงานให้รัฐบาลอเมริกันในสงครามปราบปรามขบวนการคอมมิวนิสต์ในไทย มีการสอบสวนใหญ่โต แล้วเรื่องก็จบไป แต่ทิ้งบาดแผลไว้มากมายทั้งในวงการมานุษยวิทยาโลกและในแวดวงวิชาการไทย 

คราวนี้มาเรื่องที่เห็นชัดว่าคนในสมาคมนานาชาติต่างๆ ที่เดิมอาจจะมีสมาชิกไม่เห็นด้วยกันกับรายละเอียดเรื่องต่างๆ มาก่อน มีความขัดแย้งกันภายในมาก่อน มางานนี้ สมาคมทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีทางจะเห็นแตกต่างกันเป็นอื่นได้แน่ๆ นี่ก็เพราะว่า ไม่มีนักวิชาการที่ไหนในโลกเขาทนนิ่งเฉยกับเรื่องการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการแบบนี้ได้ ไม่มีใครเขาจะยอมให้ทหารมาตั้งข้อหากับนักวิชาการที่เพียงแค่ปกป้องสิทธิเสรีภาพของตัวเองได้ ไม่มีใครเขายอมรับได้ว่าการปกป้องสิทธิตนเองเป็นภัยต่อชาติได้  

แต่ที่ยิ่งน่าเป็นห่วงคือกระแสของนักวิชาการในประเทศไทยเองต่างหาก จนป่านนี้ยังไม่เห็นมหาวิทยาลัยลุกขึ้นมาปกป้องบุคคลากรที่ทรงคุณค่าของตนเอง จนป่านนี้ยังมีนักวิชาการไทยอีกมากที่นิ่งเฉย หรืออาจจะไ่รู้สึกรู้สาด้วยซ้ำว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ใหญ่หลวงแค่ไหน 

ผมนึกเล่นๆ ว่านี่ถ้านักวิชาการไทยคนไหนลุกมายกคาถาว่า "อย่างน้อยไทยก็ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร" แล้วล่ะก็ ผมคงจะประกาศไม่คบหาทำงานกับคนคนนั้นได้จนตายเลยทีเดียว 

แต่แค่จะมีนักวิชาการคนไหนพูดอะไรทำนองที่ว่า "นั่นมันบ้านเธอ นี่มันบ้านฉัน มาตรฐานวิชาการบ้านฉันเป็นแบบนี้ อย่ามายุ่งกับฉัน นักวิชาการโลกจะมารู้อะไรดีกว่านักวิชาการไทย นักวิชาการในโลกนี้จะมาเข้าใจอะไรกับเงื่อนไขในประเทศไทย" แล้วยิ่งถ้าผมรู้ว่าเขาเรียนจบจากต่างประเทศ จากยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นมาแล้วล่ะก็ ผมคงกระอักกระอ่วนใจที่จะทำงานด้วยได้ 

หากแวดวงวิชาการไทยอยากมีมาตรฐานโลกแต่ไม่ลุกมาปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนเอง หากมหาวิทยาลัยไทยมองไม่เห็นว่าการที่นักวิชการทั่วโลกเขามาแสดงออกช่วยปกป้องเสรีภาพของนักวิชาการไทยนั้น มันแสดงถึงความตกต่ำของแวดวงวิชาการมากแค่ไหนแล้ว มหาวิทยาลัยไทยเลิกดัดจริตอยากมีมาตรฐานสากลได้แล้วล่ะ เลิกส่งคนไปเรียนต่างประเทศสักทีเถอะ เลิกส่งลูกหลานพวกคุณเองไปเรียนต่างประเทศเถอะ สั่งสอนกันเองตามวัดตามวากันไปนี่แหละ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์