Skip to main content

การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป เมื่อวาน (28 กันยายน 2560) หลังสัมมนาที่ธรรมศาสตร์ ในบรรยากาศสรวลเสเฮฮาต่อเนื่องกัน ท่ามกลางสายฝนที่เทลงมาอย่างหนัก ผมได้สนทนากับ "อาจารย์ลี่" อย่างออกรสชาติ 

ที่จริงน่าจะเรียกว่ามันเป็นบทสนทนาที่ต่อเนื่องจากการแลกเปลี่ยนกันทางโทรศัพท์ในไม่กี่วันก่อนหน้านั้นมากกว่า วันก่อนนั้นอาจารย์ลี่ถามคำถามใหญ่ว่า "คิดเห็นอย่างไรกับแนวคิดพหุวัฒนธรรม" คำตอบที่สรุปกว้างๆ ของผมตอนหนึ่งคือ แนวคิดพหุวัฒนธรรมมักไม่สนใจการเมืองของความแตกต่าง การกดขี่และความเหลื่อมล้ำที่อยู่ในความแตกต่างทางวัฒนธรรม มักถูกกลบเกลื่อนด้วยการเชิดชู "ความหลากหลาย" 

ส่วนหนึ่งผมคิดว่า การดำเนินนโยบายต่อสังคมที่แตกต่าง ต้องคิดจากสิ่งพื้นฐานคือ "ปากท้อง" ความแตกต่างนั้นจะถูกใช้เป็นพื้นฐานให้สังคมที่แตกต่างกันอยู่ร่วมกันอย่างอิ่มท้องได้อย่างไรด้วย ไม่ใช่แค่ส่งเสริมความหลากหลายโดยไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาให้เกิดความเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้เขาต่างจากเราอยู่อย่างนั้น โดยไม่ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของเขา

ประเด็นหนึ่งที่ผมไม่ศรัทธาแนวคิดที่ผมติดป้ายว่าเป็น "พหุวัฒนธรรมสายหวาน" ก็คือ การที่นักพหุวัฒนธรรมสายหวานมักเน้น "ความเข้าใจ" ผมแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ลี่ว่า การพยายามสร้างความเข้าใจมันออกจะมากเกินไป ยอมรับเถอะว่าถึงจุดหนึ่ง คนมันไม่มีทางเข้าใจกันได้หรอก อย่างเช่น จะให้คนที่เติบโตมากับการสอนให้เชื่อผีสางเทวดา ถูกสอนให้เชื่อกฎแห่งกรรม ถูกสอนให้เชื่อนรกสวรรค์อย่างผม (ส่วนจะเชื่อหรือเปล่าอีกเรื่องหนึ่ง) ไปเข้าใจเรื่องพระเจ้าองค์เดียวน่ะ เป็นเรื่องยากมากจนถึงกับเป็นไปไม่ได้หรอก

สิ่งที่เราทำได้อย่างมากก็คือส่งเสริมความเคารพซึ่งกันและกัน ทำได้แค่นั้นแหละ แล้วจะทำอย่างไรต่อไปที่จะทำให้สังคมที่แตกต่างนั้นสามารถพัฒนาความแตกต่างซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรม ให้กลายเป็นทุนทางเศรษฐกิจให้ได้ด้วย ไม่ใช่จะให้เขาต้องแช่แข็งอยู่กับอัตลักษณ์คร่ำครึดั้งเดิมอยู่อย่างนั้น

เมื่อวาน อาจารย์ลี่ถามคำถามใหญ่อีกคำถามว่า "วิชามานุษยวิทยาช่วยอะไรโลกได้ ช่วยอะไรมนุษย์ได้" เพราะในสายตาของอาจารย์ลี่ มานุษยวิทยาเป็นวิชาของเจ้าอาณานิคม ผมอึ้งกับคำถามใหญ่นี้ แต่ก็พยายามตอบเพื่อทดลองความคิดตนเอง

ผมคิดว่าวิชาความรู้ต่างๆ ต่างก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือของผู้ปกครองได้ทั้งนั้นแหละ อยู่ที่ว่าใครเป็นคนใช้ แล้วจะหยิบอะไรไปใช้อย่างไรมากกว่า ส่วนที่ว่ามานุษยวิทยาช่วยอะไรโลกได้ ผมตอบไปว่าวิชานี้ช่วยไม่ได้ตรงๆ หรอก แต่สิ่งที่มานุษยวิทยาช่วยได้คือการสร้างมุมมองความคิด 

อย่างแรกเลยที่มานุษยวิทยาสร้างคือ มานุษยวิทยาให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษยชาติ หรือฝรั่งเรียกว่า humanity หรือที่บางคนใช้คำว่า "มนุษยภาพ" ก็คือความเป็นมนุษย์ที่มีเสมอเหมือนกัน ไม่ว่าจะยากดีมีจน อยู่มุมไหนของโลก ก็เป็นมนุษย์เสมอกัน ผมเชื่อว่าการศึกษาคนที่ไม่เคยได้รับการเหลียวแลมาก่อนของนักมานุษยวิทยา ช่วยโน้มนำให้ผู้ศึกษายอมรับนับถือความเป็นมนุษย์ของกันและกัน เคารพความเป็นคนของกันและกันได้มากขึ้น ลดความเกลียดชังต่อกันได้มากขึ้น 

อีกประเด็นหนึ่งที่ผมแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ลี่คือ ผมว่ามานุษยวิทยาสนใจมุมมองจากคนด้อยโอกาส มุมมองจากคนไม่มีเสียง มุมมองจากคนเบื้องล่าง มุมมองจากคนชายขอบ แล้วนำเอามุมมองที่ได้จากคนเหล่านี้ไปสร้างข้อถกเถียง โต้แย้ง คัดง้างกับมุมมองของคนที่มีอำนาจ มุมมองที่มีมาก่อนแล้ว หรือมุมมองที่เชื่อมั่นกันอยู่ก่อนแล้ว 

ในทำนองเดียวกันนี้ การที่มานุษยวิทยาสนใจเรื่องราวเล็กๆ ประเด็นเล็กๆ ก็เพื่อทำเรื่องเล็กๆ เหล่านั้นให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ คลิฟเฟิร์ด เกิร์ซคือนักมานุษยวิทยาคนแรกๆ ที่ยืนยันว่า มุมมองจากการศึกษาประเด็นเล็กนั่นแหละที่จะนำไปสู่การถกเถียงในเชิงปรัชญาได้ งานมานุษยวิทยาจึงเป็นงานทางความคิดที่มาจากหมู่บ้าน มาจากสังคมห่างไกล มาจากคนที่เราไม่เคยสนใจเขามาก่อน หลักนี้เกิร์ซเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า microscopic

เมื่อเราได้ทัศนะแบบมนุษยภาพ และเมื่อสามารถเอาเรื่องราว เอามุมมองจากคนเบี้ยล่าง เอาเรื่องเล็กที่ถูกมองข้าม มาทำให้เป็นข้อถกเถียงใหญ่ได้แล้ว ผมเชื่อว่าวิธีที่เราเข้าใจมนุษย์และโลกจะเปลี่ยนไป แล้ววิธีคิดแบบนี้จะนำไปสู่การแสวงหาแนวทางในการอยู่ร่วมกันแบบใหม่ๆ มันจะค่อยๆ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมได้ในที่สุดเอง

คำถามที่ว่ามานุษยวิทยาช่วยอะไรโลกได้คงตอบได้หลายแบบ แต่วิธีหนึ่งที่ผมตอบคำถามของอาจารย์ลี่ช่วยให้ผมต้องกลับมาคิดต่อไปอีกว่า ผมใช้เวลาเกินครึ่งชีวิตที่ผ่านมาเรียนและทำงานด้านนี้ไปเพื่ออะไรกัน ผมเชื่อมั่นอะไรในสิ่งที่ผมทำอยู่ บางทีการเรียนการสอนของเรา ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของเรา อาจจะกลบเกลื่อนบดบังเราไปจากการตั้งคำถามและพยายามตอบคำถามพื้นฐานแบบนี้ก็ได้

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ