Skip to main content

การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป เมื่อวาน (28 กันยายน 2560) หลังสัมมนาที่ธรรมศาสตร์ ในบรรยากาศสรวลเสเฮฮาต่อเนื่องกัน ท่ามกลางสายฝนที่เทลงมาอย่างหนัก ผมได้สนทนากับ "อาจารย์ลี่" อย่างออกรสชาติ 

ที่จริงน่าจะเรียกว่ามันเป็นบทสนทนาที่ต่อเนื่องจากการแลกเปลี่ยนกันทางโทรศัพท์ในไม่กี่วันก่อนหน้านั้นมากกว่า วันก่อนนั้นอาจารย์ลี่ถามคำถามใหญ่ว่า "คิดเห็นอย่างไรกับแนวคิดพหุวัฒนธรรม" คำตอบที่สรุปกว้างๆ ของผมตอนหนึ่งคือ แนวคิดพหุวัฒนธรรมมักไม่สนใจการเมืองของความแตกต่าง การกดขี่และความเหลื่อมล้ำที่อยู่ในความแตกต่างทางวัฒนธรรม มักถูกกลบเกลื่อนด้วยการเชิดชู "ความหลากหลาย" 

ส่วนหนึ่งผมคิดว่า การดำเนินนโยบายต่อสังคมที่แตกต่าง ต้องคิดจากสิ่งพื้นฐานคือ "ปากท้อง" ความแตกต่างนั้นจะถูกใช้เป็นพื้นฐานให้สังคมที่แตกต่างกันอยู่ร่วมกันอย่างอิ่มท้องได้อย่างไรด้วย ไม่ใช่แค่ส่งเสริมความหลากหลายโดยไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาให้เกิดความเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้เขาต่างจากเราอยู่อย่างนั้น โดยไม่ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของเขา

ประเด็นหนึ่งที่ผมไม่ศรัทธาแนวคิดที่ผมติดป้ายว่าเป็น "พหุวัฒนธรรมสายหวาน" ก็คือ การที่นักพหุวัฒนธรรมสายหวานมักเน้น "ความเข้าใจ" ผมแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ลี่ว่า การพยายามสร้างความเข้าใจมันออกจะมากเกินไป ยอมรับเถอะว่าถึงจุดหนึ่ง คนมันไม่มีทางเข้าใจกันได้หรอก อย่างเช่น จะให้คนที่เติบโตมากับการสอนให้เชื่อผีสางเทวดา ถูกสอนให้เชื่อกฎแห่งกรรม ถูกสอนให้เชื่อนรกสวรรค์อย่างผม (ส่วนจะเชื่อหรือเปล่าอีกเรื่องหนึ่ง) ไปเข้าใจเรื่องพระเจ้าองค์เดียวน่ะ เป็นเรื่องยากมากจนถึงกับเป็นไปไม่ได้หรอก

สิ่งที่เราทำได้อย่างมากก็คือส่งเสริมความเคารพซึ่งกันและกัน ทำได้แค่นั้นแหละ แล้วจะทำอย่างไรต่อไปที่จะทำให้สังคมที่แตกต่างนั้นสามารถพัฒนาความแตกต่างซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรม ให้กลายเป็นทุนทางเศรษฐกิจให้ได้ด้วย ไม่ใช่จะให้เขาต้องแช่แข็งอยู่กับอัตลักษณ์คร่ำครึดั้งเดิมอยู่อย่างนั้น

เมื่อวาน อาจารย์ลี่ถามคำถามใหญ่อีกคำถามว่า "วิชามานุษยวิทยาช่วยอะไรโลกได้ ช่วยอะไรมนุษย์ได้" เพราะในสายตาของอาจารย์ลี่ มานุษยวิทยาเป็นวิชาของเจ้าอาณานิคม ผมอึ้งกับคำถามใหญ่นี้ แต่ก็พยายามตอบเพื่อทดลองความคิดตนเอง

ผมคิดว่าวิชาความรู้ต่างๆ ต่างก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือของผู้ปกครองได้ทั้งนั้นแหละ อยู่ที่ว่าใครเป็นคนใช้ แล้วจะหยิบอะไรไปใช้อย่างไรมากกว่า ส่วนที่ว่ามานุษยวิทยาช่วยอะไรโลกได้ ผมตอบไปว่าวิชานี้ช่วยไม่ได้ตรงๆ หรอก แต่สิ่งที่มานุษยวิทยาช่วยได้คือการสร้างมุมมองความคิด 

อย่างแรกเลยที่มานุษยวิทยาสร้างคือ มานุษยวิทยาให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษยชาติ หรือฝรั่งเรียกว่า humanity หรือที่บางคนใช้คำว่า "มนุษยภาพ" ก็คือความเป็นมนุษย์ที่มีเสมอเหมือนกัน ไม่ว่าจะยากดีมีจน อยู่มุมไหนของโลก ก็เป็นมนุษย์เสมอกัน ผมเชื่อว่าการศึกษาคนที่ไม่เคยได้รับการเหลียวแลมาก่อนของนักมานุษยวิทยา ช่วยโน้มนำให้ผู้ศึกษายอมรับนับถือความเป็นมนุษย์ของกันและกัน เคารพความเป็นคนของกันและกันได้มากขึ้น ลดความเกลียดชังต่อกันได้มากขึ้น 

อีกประเด็นหนึ่งที่ผมแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ลี่คือ ผมว่ามานุษยวิทยาสนใจมุมมองจากคนด้อยโอกาส มุมมองจากคนไม่มีเสียง มุมมองจากคนเบื้องล่าง มุมมองจากคนชายขอบ แล้วนำเอามุมมองที่ได้จากคนเหล่านี้ไปสร้างข้อถกเถียง โต้แย้ง คัดง้างกับมุมมองของคนที่มีอำนาจ มุมมองที่มีมาก่อนแล้ว หรือมุมมองที่เชื่อมั่นกันอยู่ก่อนแล้ว 

ในทำนองเดียวกันนี้ การที่มานุษยวิทยาสนใจเรื่องราวเล็กๆ ประเด็นเล็กๆ ก็เพื่อทำเรื่องเล็กๆ เหล่านั้นให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ คลิฟเฟิร์ด เกิร์ซคือนักมานุษยวิทยาคนแรกๆ ที่ยืนยันว่า มุมมองจากการศึกษาประเด็นเล็กนั่นแหละที่จะนำไปสู่การถกเถียงในเชิงปรัชญาได้ งานมานุษยวิทยาจึงเป็นงานทางความคิดที่มาจากหมู่บ้าน มาจากสังคมห่างไกล มาจากคนที่เราไม่เคยสนใจเขามาก่อน หลักนี้เกิร์ซเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า microscopic

เมื่อเราได้ทัศนะแบบมนุษยภาพ และเมื่อสามารถเอาเรื่องราว เอามุมมองจากคนเบี้ยล่าง เอาเรื่องเล็กที่ถูกมองข้าม มาทำให้เป็นข้อถกเถียงใหญ่ได้แล้ว ผมเชื่อว่าวิธีที่เราเข้าใจมนุษย์และโลกจะเปลี่ยนไป แล้ววิธีคิดแบบนี้จะนำไปสู่การแสวงหาแนวทางในการอยู่ร่วมกันแบบใหม่ๆ มันจะค่อยๆ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมได้ในที่สุดเอง

คำถามที่ว่ามานุษยวิทยาช่วยอะไรโลกได้คงตอบได้หลายแบบ แต่วิธีหนึ่งที่ผมตอบคำถามของอาจารย์ลี่ช่วยให้ผมต้องกลับมาคิดต่อไปอีกว่า ผมใช้เวลาเกินครึ่งชีวิตที่ผ่านมาเรียนและทำงานด้านนี้ไปเพื่ออะไรกัน ผมเชื่อมั่นอะไรในสิ่งที่ผมทำอยู่ บางทีการเรียนการสอนของเรา ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของเรา อาจจะกลบเกลื่อนบดบังเราไปจากการตั้งคำถามและพยายามตอบคำถามพื้นฐานแบบนี้ก็ได้

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง