Skip to main content

คนรุ่นใหม่ครับ... 

ข้อแรก ในยุคของการต่อสู้ของพวกคุณ ข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งคือ คุณมีสื่อมวลชนของคุณเอง คือ social media คนรุ่นคุณคือคนที่รู้พลังของมันดีที่สุด คุณรู้ดีว่าลักษณะพิเศษของสื่อใหม่นี้คือการที่คุณสร้างการรวมตัวทางไกลได้ คุณสร้างความเคลื่อนไหวที่เผด็จการไม่สามารถเด็ดหัวทิ้งง่านๆ ได้ เพราะมันเป็นการเคลื่อนไหวแบบ "รากฝอย" (ถ้าอ่านหนังสือบ้างก็คงรู้นะว่าที่มามันมาอย่างไร) การเคลื่อนไหวของคนรุ่นคุณมันจึงเป็นการเคลื่อนไหวที่ป่วนเผด็จการได้ดีกว่าคนรุ่นเก่าด้วยซ้ำ

 

ข้อสอง แต่คุณอย่าไปอ่อนไหวกับสื่อใหม่นี้มาก คุณอย่าไปหล่อเลี้ยงตัวตนคุณด้วยสื่อนี้เลย คุณอย่าไปคิดว่าการเป็น influential persons ต้องได้มาด้วยการเป็น celebrity สิ คุณอยากทำแค่ดังชั่วช้ามคืนแล้วดับไปอีกนานเหรอ คุณทำอะไรได้ไกลและลึกกว่านั้นเยอะ ขอให้คุณคิดถึงขบวนการระยะยาว ค่อยๆ สู้ไป ถ้าริจะทำงานใหญ่แล้วก็อย่าอ่อนแอสิครับ ขออย่าได้คอยออดอ้อนมวลชนด้วยโซเชียลมีเดียจนเสียขบวนการสิครับ คิดถึงคนอื่นและโลกที่คุณคาดหวังระยะยาวให้มากเข้าไว้ คุณไม่ได้อยากจะมีชีวิตอยู่แค่ชั่วดราม่าที่ปัจจุบันนี้ไม่เกินสัปดาห์เดียวกับหมดอายุไขแล้วไม่ใช่เหรอ  

 

ข้อสาม เราต่างรู้กันดีกว่าเราต่อสู้เพื่ออนาคตของเราเอง และในบางจุด เราปะทะกันบ้าง แต่ถึงจุดของการเคลื่อนไหวที่ต้องการขบวนการขนาดใหญ่ เราต้องยอมอ่อนข้อกับการสร้างแนวร่วมขยายเครือข่ายบ้าง อย่าจุกจิกกับเรื่องเล็กน้อยมาก อย่าทำตัวเป็นไม้บรรทัดกับทุกสิ่ง คุณดูสิ คนที่ทำตัวเป็นไม้บรรทัดทุกสิ่งน่ะ ทุกวันนี้เขาสร้างขบวนการอะไรได้ เขาเองยังแทบเอาตัวไม่รอด ถ้าจะสู้กับอะไรใหญ่ๆ ก็ขอให้รู้จักฟังบ้าง และบางครั้งก็ต้องกล้ำกลืนเก็บหลักการอันแข็งแกร่งของตัวเองไว้ในใจบ้าง อย่างน้อยก็ในระยะที่เรายังอหังการที่อาจจะเป็นไปอย่างผิดๆ ว่าหลักการอันแข็งแกร่งของเรายังไม่มีใครหยั่งรู้กี่มากนัก

 

ข้อสี่ พวกคุณควรประเมินสถานการณ์ของตนเอง สร้างประวัติศาสตร์ของตนเอง การเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงประวัติศาสตร์ไม่มีทางเหมือนกัน โลกปัจจุบันนี้แค่ 10 ปีก็จำกันไม่ได้แล้วว่า 10 ปีที่แล้วเกิดอะไรขึ้น เพราะเงื่อนไขไม่เคยเหมือนกัน แต่แน่นอน เราสรุปบทเรียนจากที่อื่นหรือยุคอื่นมาเพื่อการเคลื่อนไหวของเราเองได้ แต่อย่ายึดติดข้อสรุปอย่างตายตัว เรื่องแบบนี้มันไม่ต่างจากการทำงานทางวิชาการ หรือการทำงานสร้างสรรค์ต่างๆ เราต้องรู้แนวทางทั่วไปพร้อมๆ กับรู้ข้อจำกัดเฉพาะตัวของเรา ต้องคิดว่าเงื่อนไขเฉพาะของเราคืออะไร แล้วจะเอาบทเรียนจากคนในอดีต จากคนที่อื่น มาต่อยอดพัฒนาการเคลื่อนไหวของเราเองอย่างไร

 

คนรุ่นเก่าครับ...  

 

ข้อแรก ขอทีเถอะครับ อย่าถามซ้ำซากว่า "คนรุ่นใหม่ทำอะไร" "คนรุ่นใหม่หายไปไหนในการต่อสู้ทางการเมือง" คนทุกรุ่นเขามีแนวทางการดิ้นรนของเขาเอง คนแต่ละรุ่นมีการเมืองในขอบเขตของเขาเอง พวกคุณคงตกยุคแล้วที่ไม่รู้ว่าการเมืองมันมีมากกว่าที่คุณเข้าใจ การเมืองทางการมันเป็นแค่การเมืองเดียวที่คนรุ่นคุณคาดหวัง  

 

ถ้าคุณก้าวผ่านยุคการเมืองของ "ซ้ายใหม่" มา คุณน่าจะรู้ว่าตั้งแต่ทศวรรษ 1970 มาแล้วที่การเมืองมันกระจัดกระจายและเป็นเรื่องระยะยาว คุณจะคาดหวังว่าคนรุ่นใหม่จะต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันในแบบคนรุ่นคุณทำน่ะเหรอ นั่นแสดงว่าคุณไม่เข้าใจว่าการเมืองสมัยนี้มันซับซ้อนกว่ายุคของคุณมากแล้วล่ะ ไม่มีการโค่นล้ม การปฏิวัติใด ที่นำไปสู่สังคมที่ดีกว่าในทุกด้านอย่างแท้จริงอีกต่อไป ถ้าคุณยังคาดหวังให้คนรุ่นใหม่ลุกฮือต่อสู้ในแนวทางที่คุณต้องการ แสดงว่าคุณล้มเหลวในการประเมินการเมืองปัจจุบัน

 

ข้อสอง แทนที่คุณจะถามคนรุ่นใหม่ คุณควรจะถามตัวเองว่า "แล้วคุณล่ะทำอะไรบ้าง" "แล้วพวกคุณหดหัวไปอยู่ที่ไหนล่ะ" สำหรับคนรุ่นเก่าที่คอยฝากความหวังไว้กับคนรุ่นใหม่น่ะ พวกคุณเป็นคนไม่รับผิดชอบต่อสังคมที่คุณอยู่ไม่น้อยไปกว่าคนรุ่นใหม่ที่เฉยเมยหรอก  

 

ทุกวันนี้คนเราไม่ตายกันง่ายๆ สักที พวกคุณคนรุ่นเก่าจะเป็นประชากรหลักของสังคมชราภาพ อนาคตอันใกล้และอีกไกลมันไม่ใช่อนาคตของคนรุ่นใหม่เท่านั้นหรอก แต่มันจะมันอนาคตของพวกเราที่กำลังก้าวสู่ภาวะชรานี่แหละ ถ้าคุณไม่ออกมาสู้ด้วยตนเอง ก็อย่าผลักภาระเสี่ยงให้กับคนรุ่นใหม่ ขอร้องว่า ถ้าคุณไม่เรียกร้องกับตนเองเสียก่อน ก็ไม่ต้องไปคาดหวังคนรุ่นใหม่

 

ไม่ว่าจะรุ่นไหน ถ้าไม่ร่วมกันสู้ เราก็จะต้องอยู่ใต้เงื่อนไขกะลาแคบๆ กันต่อไป

 

ด้วยรักและนับถือ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ...