Skip to main content

ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 

ก่อนมาก็เลยไปหาซื้อเสื้อผ้าสำหรับเมืองร้อน ที่บาง แต่กันแดดได้ ส่วนหนึ่งคือผ้าลินิน และทุกวันก็เตรียมเสื้อเชิร์ตแขนยาวมาใส่ เพราะต้องเรียบร้อยเนื่องจากต้องเจอผู้คน และต้องกันแดดได้ แต่จะให้เปลี่ยนตู้เสื้อผ้าเพื่อการเดินทางทั้ง 10 วัน ก็เกินไปหน่อย จึงซื้อเพิ่มไม่กี่ตัว 

เมื่อมาถึงลาฮอร์ อุณหภูมิ 41-42 ก็ว่าร้อนมากแล้ว แถมแดดจัดทุกวัน แต่ละวันจึงรู้สึกคอแห้งนิดๆ เสมอ ดื่มน้ำบ่อย แต่บ่อยมากก็ไม่ดีเพราะห้องน้ำหายากหน่อย 

แต่ประสบการณ์อย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ การฉี่ที่นี่ เปล่า ไม่ได้มีท่าฉี่พิสดารอะไรหรอก แต่พบว่าร่างกายปรับตัวด้วยการฉี่ในความถี่จำนวนครั้งที่ปกติ แต่ในปริมาณแต่ละครั้งที่น้อยกว่าตอนอยู่เมืองไทยมาก แม้แต่หลังดื่มชา ดื่มเบียร์ ซึ่งปกติผมจะฉี่มากขึ้น อยู่นี่ก็น้อยลง

 

ร่างกายมันคงพยายามเก็บน้ำให้มากที่สุด

 

กับความร้อน เมื่อมาถึงซักเกอร์และซินธ์ จึงได้เผชิญกับความร้อนระดับ 45-46 และมันอาจขึ้นไปถึง 50 คือจุดสูงสุดของมันได้ แถมเมื่อวาน เดินดลางแดดเพื่อดูโบราณสถานโมเฮน-โจ-ดาโรจนทำให้นักสังคมวิทยาเอ่ยปากว่า “ได้รู้แล้วว่านักโบราณคดีเขาทำงานกันในสภาพแบบไหน ชั้นไม่มาเป็นและจะไม่ให้ลูกหลานมาเป็นเด็ดขาด”

 

ส่วนนักมานุษวิทยา ที่แค่ชอบอ่านงานโบราณคดี แต่ให้เป็นก็คงกระเทาะหินเป็นหัวขวานไม่สำเร็จ คิดในใจว่า “ดีแค่ไหนแล้วที่ไม่ชอบความวิทยาศาสตร์ของโบราณคดี แต่ชอบเฉพาะจินตนาการของนักโบราณคดี ก็เลยไม่ได้อยากเป็นนักโบราณคดีที่ต้องตรากตรำร่างกายขนาดนี้”

 

เมื่อคืน (25 พค. 61) เจออีกประสบการณ์ร่างกาย คือไฟดับตั้งแต่เที่ยงคืน ผลคือต้องนอนโดยไม่มีแอร์ ปกติที่มาเมืองลาร์คานา เมืองหนึ่งของจังหวัดซินธ์ เราดำรงชีพอยู่ในห้องแอร์เป็นส่วนใหญ่ แล้วไฟก็ตก ติดๆ ดับๆ เสมอ จนเมื่อคืนคิดว่า เดี๋ยวไฟก็มา แต่มันไม่มายันเช้า

 

3 ชั่วโมงแรก หลับสนิท คงเพราะความเพลีย ฤทธิ์เบียร์ และอาหารเย็นตอน 5 ทุ่ม แต่สักตี 3 รู้สึกตัวว่าเหงื่อท่วม พบว่าไฟไม่ติดทั้งคืนแน่แล้ว ออกมานอกห้อง เดามีห้องเราเท่านั้นที่ดับเพราะอีกตึกมีแสงไฟ ความที่ห้องนี้อยู่นอกอาคารต่างหากจากคนอื่น ก็เลยไปขอพึ่งคนอื่นไม่ได้ 

 

นอนกระสับกระส่ายอยู่สักพัก แล้วพบว่า เพื่อนร่วมห้องคืออาจารย์สุดแดนนอนได้กรนสบาย ก็เลยพยายามนอนบ้าง ปรากฏว่าหลับต่อได้จนถึงเช้า ตื่นขึ้นมาตี 5 ครึ่ง ไม่นอนต่อแล้ว เปิดประตูห้องออกมา เช็คอุณหภูมิ เขาว่า 29 เซลเซียส แต่ความรู้สึกคือ เย็นสบายมาก คาดว่าถ้ากลับไปกรุงเทพฯ เที่ยวนี้ คงจะสวมเสื้อกันหนาวไปอีกสัก 2-3 วัน

 

อีกเรื่องคือการกิน คนที่นี่กินอาหารไม่เป็นเวลาเอามากๆ ยิ่งที่ซินธ์ ยิ่งเพี้ยน มื้อกลางวันมื้อแรกที่นี่ กินตอน 4 โมงเย็น แล้ววันนั้นกว่าจะได้กินข้าวเย็นก็เที่ยงคืน วันที่สอง มื้อเช้า 9 โมง มื้อกลางวันเที่ยงวัน แล้วมื้อเย็นก็ 5 ทุ่ม 

 

แต่ร่างกายก็ไม่แปรปรวนอะไร ไม่รู้เพราะอะไร ส่วนใหญ่เราคงใช้พลังงานน้อย เดินมากไม่ได้เพราะร้อนมาก เคลื่อนไหวช้าๆ พักดื่มชา (ชาที่นี่ต้มกับนมควาย ใส่ครื่องเทศจางๆ แล้วเติมน้ำตาลกรวด) ร่างกายก็เลยไม่หิวโหยมาก และคงเพราะน้ำในตัวมีน้อย น้ำย่อยก็เลยน้อยไปด้วย ไม่รู้เหมือนกัน แต่ไม่หิวรุนแรง

 

“Big Boss” คนที่ดูแลพวกเราที่ซินธ์เป็นนักเล่าเรื่อง เขาบอกว่า หมาเป็นสัตว์ที่ปรับตัวง่าย ที่ร้อน ที่หนาว ก็อยู่ได้หมด เขาเลยเอาไว้เรียกคนที่ปลิ้นปล้อนว่า “dog temperature man” โดยเฉพาะพวกนักการเมืองปลิ้นปล้อน

 

แต่จากที่มาอยู่เมืองร้อนจัด เคยอยู่เมืองหนาวจัด อยู่กรุงเทพฯ แบบไม่ติดห้องแอร์ ก็ทำให้พบว่า คนนี่แหละที่ร่างกายปลิ้นปล้อนมาก ไม่แพ้หรืออาจจะยิ่งกว่าหมา

 

ยังมีเวลาอยู่ที่ปากีสถานอีกหลายวัน ยังมีเรื่องที่ยังไม่ได้เล่าอีกมาก จะค่อยๆ ทยอยเล่าเหมือนปริมาณน้ำฉี่ที่นี่ไปก็แล้วกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง