Skip to main content

ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา

 

ผมมักจะเที่ยวคุยโม้ว่าตัวเองเติบโตและใช้ชีวิตกลับไปกลับมาที่บ้านยาย อยู่บ้านกระทุ่ม อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บ้านยายอยู่ริมน้ำ ผมรู้ดีว่าน้ำท่วมสูงอยู่นานๆ ต้องใช้ชีวิตอย่างไร เคยตัก "น้ำท่า" กินโดยไม่ต้ม เคยอาบน้ำตีนท่า เคยตักน้ำจากตีนท่าขึ้นบันไดสูงมาใส่โอ่งแกว่งสารส้มเก็บไว้ใช้  

 

ในวัยเด็ก ผมก็เลยได้กินปลาหลายชนิด ผมรู้วิธีทำปลาทุกชนิด และเข้าใจว่าตัวเองรู้จักปลาหลายชนิดกว่าเพื่อนๆ ที่โตขึ้นมาในกรุงเทพฯ และรู้จักความอร่อย ความสดหวานของเนื้อปลาพอที่จะไม่ชอบให้ใครทอดปลาก่อนเอาไปผัดเผ็ดหรือแกงส้ม แกงเผ็ด 

 

รวมทั้งไม่ชอบฉู่ฉี่ที่เอาปลาไปทอดก่อน เพราะนั่นคือการกลบเกลื่อนความไม่สดของปลามากกว่าจะทำให้มันอร่อยขึ้น ผมโตมาแบบนั้น ใครจะว่าดัดจริตก็แล้วแต่

 

แต่เมื่อได้ไปอำเภอชุมแสงเที่ยวนี้ จึงได้รู้ว่าความเข้าใจเรื่องปลาของผมมันกระจอกมาก ไม่ได้แม้แต่สักเสี้ยวหนึ่งของชาวปลาในถิ่นนี้

 

เอาเฉพาะแค่ชื่อปลา มีปลาอีกมากมายหลายชนิดที่ผมไม่เคยได้ยินชื่อ ไม่ว่าจะเป็นตระกูลปลาเกล็ดตั้งแต่ ปลากา ปลาตะโกก ปลาตะกาก สำหรับผม พวกนี้หน้าตาคล้ายตะเพียนไปหมด ยกเว้นแต่สีของเกล็ดกับรูปร่างความแป้น ความเรียวของมัน แม้แต่ปลาตะเพียนที่ผมเคยเห็นว่าส่วนใหญ่จะตัวแป้นๆ ที่นี่ก็ตัวเรียวกว่าที่ผมคุ้นเคย ส่วนปลาม้า ปลาช่อน พวกนี้กลายเป็นปลาตลาดๆ ที่ดูไม่น่าลิ้มลองเอาเสียเลย

 

ส่วนปลาตระกูลหนัง ไม่ต้องพูดถึงปลากด ปลาสวาย ปลาดุก ปลาเนื้ออ่อน ผมยังรู้จักปลาเค้าค่อนข้างดี เพราะเคยเห็นปลาเค้าตัวใหญ่ขนาดเต็มลำเรือมาแล้ว แต่ปลาที่ใกล้เคียงกันอย่าง ปลาลึง ปลากดครีบแดง ปลาเบี้ยว (คล้ายปลาเค้าแต่ปากล่างยื่นออกมามาก) และปลาสวายหนู (คล้ายสวาย แต่ตัวเรียวกว่าหน่อย ไขมันน้อยกว่า แน่นกว่า)

 

หรืออย่าง ปลาแดง (ที่เคยคิดว่าแค่เป็นอีกชื่อของปลาเนื้ออ่อน แต่จริงๆ แล้วมันหัวแดงและตัวใสกว่าปลาเนื้ออ่อน แถมตัวใหญ่กว่า) ที่เพิ่งเคยได้ยินจริงๆ และโชคดีที่ได้ชิทรส คือปลาน้ำเงิน หน้าตารูปร่างมันเหมือนปลาเนื้ออ่อน หนังมันเงางามสีเงินยวงเนื้อนุ่มอย่างปลาเนื้ออ่อน แต่ก็แน่นกว่าหน่อย

 

ชุมแสงมีทำเลที่เหมาะกับการกินปลา หาปลา เรียนรู้เรื่องปลามาก อำเภอนี้อยู่เหนือตัวเมืองนครสวรรค์ขึ้นไป ค่อนไปทางตะวันออก ตัวอำเภอตั้งอยู่ริมน้ำน่าน แต่ถิ่นที่ผมไปน่ะ ตั้งอยู่อยู่ระหว่างน้ำน่านและน้ำยม เกือบถึงพิจิตร มีเส้นทางต่อเนื่องไปถึงพิษณุโลกได้ น้ำเหล่านี้ส่วนหนึ่งไหลมาที่บึงบอระเพ็ด

 

ผมเข้าใจว่าทำเลแบบนี้นี่เองที่ทำให้กลายเป็นแหล่งที่ปลาหลากหลายชนิดมาอาศัยอยู่ แต่อีกส่วนหนึ่งคงเพราะการปิดกั้นเขื่อน ทำให้ปลาหลายชนิดที่อยู่ภาคกลางตอนบน ไม่ค่อยได้ลงไปถึงอยุธยาบ้านยายผม ผมก็เลยไม่รู้จักปลาพวกนี้เลย นอกจากนั้น ปลาพวกนี้คงมีธรรมชาติที่ชอบอาศัยอยู่ในน้ำเชี่ยวไหลแรง ต่างกับแม่น้ำน้อยหน้าบ้านยายผม ที่ไหลเอื่อยๆ ผมก็เลยไม่ค่อยเจอปลาพวกนี้

 

ในสองวันกว่าที่ผ่านมา ผมก็เลยได้กินปลากลุ่มปลาหนังที่เอ่ยถึงมานั่นเกือบทั้งหมด ส่วนปลาเกล็ดหลายชนิดที่เอ่ยมาแทบจะยังไม่ได้กินเลย ยกเว้นปลาม้า ที่ได้กินตั้งแต่พักกลางวันที่สิงห์บุรีแล้ว กับปลากราย ที่มีมากและสดอร่อยเสียจนแทบจะอยู่ในทุกมื้ออาหาร

 

นอกจากชนิดปลาแล้ว ชาวชุมแสงยังเล่าถึงวิธีการดักปลาในฤดูน้ำหลาก ก็กำลังเริ่มช่วงเดือนนี้นั่นแหละ สำหรับผม ฤดูน้ำหลากที่บ้านยาย ก็คือมีปลามามาก บางจุดนี่ ปลาเยอะขนาดแค่เอากะละมังจ้วงลงไปในน้ำ ก็จะได้ปลาติดขึ้นมาแทบเต็มกะละมังเลยทีเดียว บางปียายผมก็เลยทำน้ำปลาเก็บไว้กินเอง

 

แต่ในฤดูน้ำปกติ แถวบ้านยายผมเขาจะ "ล้อมหญ้า" กัน คือเอาไม้ไผ่มากั้นคอกในแม่น้ำตรงริมตลิ่ง ขนาดสัก 1 งาน (100 ตารางวา) แล้วเอากอไม้ต่างๆ มาโยนลงไปในน้ำ สัก 4-5 เดือนต่อมา ก็ค่อยเอาตาข่ายมาล้อม เอากอไม้ออก แล้วคราวนี้ก็ช่วยกันจับปลาด้วยวิธีต่างๆ วิธีนี้จะได้ปลาเยอะมากพอที่จะขายคนได้หลายหมู่บ้านทีเดียว

 

แต่คนที่ชุมแสงเล่าถึงเทคนิคที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น แบบหนึ่งคือการขุด​ "บ่อล่อ" คือการใช้ที่ส่วนหนึ่งในนา ขุดบ่อขนาดสักหนึ่งงานหรือสองงาน ปล่อยไว้อย่างนั้น ไม่ต้องทำอะไร พอนำ้ลด ปลาที่ไม่ชอบน้ำนิ่งมันจะหนีตามน้ำไป แต่ปลาที่ชอบน้ำนิ่ง มันจะไม่ไปไหน ติดอยู่ในบ่อล่อนั้น นอกจากแทบไม่ต้องลงทุนอะไรมากแล้ว วิธีนี้ยังเก็บปลาไว้ได้เป็นปี ไม่ต้องรีบแปรรูปรีบขาย

 

อีกวิธีคือ "บ่อโจร" เขาจะเอาไหหรือโอ่งฝังใต้ดิน แล้วทำรางน้ำมายังโอ่งนั่น แล้วเอาน้ำใหม่ๆ โรยลงบนราง ปลามันจะชอบน้ำใหม่ มันก็จะว่ายเข้ามาตามราง แล้วเข้าไปในโอ่งนั่น เราก็จะจับปลาได้ วิธีนี้น่าจะชั่วคราว แต่ก็เป็นวิธีที่ไม่ต้องลงทุนใหม่มาก แค่ลงแรงกับดัดแปลงวัสดุที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น

 

ที่จริงหากจะจับปลาเก็บไว้ในหน้าน้ำน่ะ ชาวบ้านเขารู้ดีอยู่แล้ว เขามีวิธีจัดการที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตเขา เหมาะกับสภาพแวดล้อมเขา ส่วนพวกที่ไม่รู้จักฟังใคร แต่คิดว่าตัวเองรู้และคอยสั่งสอนชาวบ้านเขา แถมยังคอยหาเรื่องเสียเงินเสียทองไปได้เรื่อยๆ น่ะ คงไม่มีวันแก้ปัญหาชาวบ้านได้หรอก น่าสมเพชและน่าเสียใจที่ยังมีคนยกย่องคนพวกนี้อยู่อย่างไม่โงหัวสักที

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์