Skip to main content

ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้

1. การผลักภาระให้ปัจเจกบุคคล ปัจเจกบุคคลผู้รับผิดในเหตุ #กราดยิงโคราช ก็คือจ่าสิบเอกคนนั้นคนเดียว เขาถูกผลักออกจากการเป็นทหาร แล้วถูกตีตราว่าเป็นอาชญากร โดยพฤติกรรมแล้วเขาเป็นอาชญากรอย่างไม่ต้องสงสัย หากแต่พฤติกรรมเดียวกันนี้ การสังหารผู้บริสุทธิ์โดยทหารด้วยอาวุธสงครามบางครั้ง (เช่นในกรณีพฤษภาคม 2553) ก็ไม่ได้ถูก ผบทบ. คนเดียวกันนี้ตีตราว่าเป็นอาชญากรรมเสมอไป คำพูดที่ว่า “วินาที ที่ผู้ก่อเหตุลั่นไกสังหารประชาชนนั้น เขาคืออาชญากร ไม่ใช่ทหารอีกต่อไปแล้ว” จึงไม่ได้พูดออกมาจากหลักการใดๆ แต่พูดออกมาจากการพยายามปัดความรับผิดชอบเป็นกรณีๆ ไปเท่านั้น

2. การรับผิดแต่เพียงลำพัง ผบทบ. กล่าวในลักษณะของการรับภาระแต่เพียงลำพังว่า “อย่าด่าว่ากองทัพบก อย่าว่าทหาร ถ้าจะด่า จะตำหนิ ท่านมาด่า พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผมน้อมรับคำตำหนิ" นั่นคือการยอมรับผิดแต่เพียงเขาผู้เดียว ไม่ยอมรับว่าความผิดพลาดนี้ ทั้งกองทัพต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย เพราะการที่เขามาเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพ ไม่ใช่มาด้วยตัวเขาเองคนเดียว ต้องมีกลไกกองทัพทั้งระบบรองรับเขาทั้ง การที่กองทัพให้คนอย่างเขามาเป็นผู้บังคับบัญชา จะปฏิเสธความรับผิดชอบในระดับกองทัพได้อย่างไร

3. การรับผิดแต่ไม่รับโทษ การกล่าวยอมรับผิด ยอมให้ประชาชนกล่าวตำหนิ ไม่ได้หมายความว่าความรับผิดชอบจะหมดสิ้นไปเพียงเมื่อร้องไห้แสดงความเสียใจแล้วกล่าวโทษตนเองเช่นนี้ ในกระบวนการของระบบการบริหารราชการ หรือการบริหารองค์กรขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพใดๆ ก็ตาม จะต้องมีการตรวจสอบ ไต่สวนความผิด และอาจจะต้องพิจารณาโทษทางวินัยหากความบกพร่องของผู้บังคับบัญชามีส่วนต่อความบกพร่องจนเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียของประชาชนและเกิดความสะเทือนใจไปทั่วอย่างกรณีนี้ แต่ก็ไม่เห็นว่า ผบทบ. จะเอ่ยถึงกระบวนการดังกล่าวแต่อย่างใด

4. การไม่ยอมรับว่าเป็นปัญหาของระบบ การรับผิดด้วยตนเอง การผลักความผิดให้ผู้ก่อความรุนแรง เพียงเท่านั้น ยังนับว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบที่ระบบของกองทัพทั้งระบบจะต้องรับผิดชอบด้วยเช่นกัน การปกป้องกองทัพให้พ้นจากความรับผิดชอบ เท่ากับเป็นความไม่รับผิดชอบในระดับร้ายแรง เพราะหากผู้บังคับบัญชาสูงสูดของกองทัพเองยังไม่ยอมรับว่า ความบกพร่องในลักษณะนี้เป็นความบกพร่องที่เกินไปกว่าเพียงปัจเจกบุคคลคนใด หรือแม้แต่เพียงตัว ผบทบ. เองคนเดียวจะแบกรับภาระได้ หากแต่เป็นความบกพร่องของทั้งระบบ ก็น่าเป็นห่วงว่าประเทศชาติ ประชาชนจะฝากความรับผิดชอบให้แก่กองทัพได้อย่างไร 

ประชาชนชาวไทยรักกองทัพ รักทหาร และต้องการความเชื่อมั่นจากกองทัพ จากทหาร ไม่น้อยไปกว่า ผบทบ. และด้วยความรัก และความเชื่อมั่นนั้น ประชาชนชาวไทยต้องการให้มีกลไกการสอบสวนเหตุนี้อย่างโปร่งใส มีขั้นมีตอน และเป็นกลางคือมีผู้แทนของประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบนี้ด้วย 

หากคำพูดและน้ำตาของ ผบทบ. ก็ยังไม่เพียงพอที่จะเยียวยาความสูญเสียใดๆ ได้ แล้วคำพูดและนำ้ตาของ ผบทบ. จะสามารถเยียวยาปัญหาของกองทัพไทยได้อย่างไร

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน