Skip to main content

วินาทีที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ความสำคัญไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองหนึ่งถูกยุบไปหรอก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจกำลังสร้างความแตกร้าวครั้งใหม่ที่พวกเขาอาจจะพบปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่เหลือเศษซากอะไรให้กอบกู้โลกเก่าของพวกเขากลับมาได้อีกต่อไป

หากใครเข้าใจแค่ว่า การยุบพรรคอนาคตใหม่คือการปิดฉากการเมืองของกลุ่มการเมืองที่แหลมคม ก้าวหน้า มองว่านี่เป็นการกำราบและกรรโชกพลังก้าวหน้าของสังคมนี้ได้อีกขั้นหนึ่ง ผมว่าพวกเขากำลังคิดผิด

พรรคอนาคตใหม่เกิดขึ้นมาและเติบโตได้จากความแตกร้าวทางการเมืองครั้งก่อน ที่วางอยู่บนการเมืองสีเสื้อ การเมืองความดี-ความชั่ว การเมืองแบ่งขั้วแบบเก่าถูกแทนที่ไปพ้นการเมืองแบบเก่าในหลายๆ มิติ มีอะไรบ้างที่ใหม่ มีอะไรบ้างที่การยุบพรรคการเมืองหนึ่งที่เป็นตัวแทนของพลังแบบนี้จะไม่สามารถทำลายพลังแบบนี้ได้

ข้อแรก อนาคตใหม่เกิดมากจากการเป็นทางเลือกของการเมืองขัดแย้งสีเสื้อที่ไม่มีทางออก เสียงที่เลือกอนาคตใหม่แสดงความเบื่อหน่ายกับความขัดแย้งแบ่งขั้วตรงข้ามอย่างชัดเจน เสียงอนาคตใหม่เป็นตัวแทนของ "คนเป็นกลางทางการเมือง" แบบหนึ่ง ต่างจากเสียงเลือกพลังประชารัฐ ที่เป็นเสียงอนุรักษนิยมสุดขั้ว กับเสียงเพื่อไทย ที่เป็นพลังสนับสนุน "ทักษิณ" และการเมืองมวลชนจากทศวรรษ 2540 คือ 20 ปีที่แล้วอย่างสุดขั้ว

ถ้าได้คุยกับคนขับแท็กซี่ที่ฟังการอภิปรายทั้งวัน จะได้ยินพวกเขาพูดว่า "การอภิปรายในสภาของพรรคอนาคตใหม่นี่ เปลี่ยนการเมืองไปจริงๆ นะ เข้าประเด็นตรงๆ ไม่เสียเวลาไปกัดคนโน้นคนนี้" นี่คือเสียงของคนที่แสวงหาทางเลือกใหม่ทางการเมือง แล้วเขาพบว่าพรรคอนาคตใหม่คือทางเลือก คนไม่อยากเหลือง คนไม่อยากแดงจำนวนมาก หันมาเลือกอนาคตใหม่

ข้อสอง อนาคตใหม่เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจการเมือง ไม่ใช่คนรุ่นใหม่ทุกคนที่ใส่ใจการเมือง ไม่ใช่คนรุ่นใหม่ทุกคนที่ใส่ใจการเมืองแล้วเลือกอนาคตใหม่ แต่คนรุ่นใหม่จำนวนมาก มากชนิดที่ผมกล้ายืนยันว่าคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจการเมืองส่วนใหญ่เลือกอนาคตใหม่ การยุบพรรคอนาคตใหม่คือการผลักให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ไปยืนเป็นปฏิปักษ์กับการใช้อำนาจรัฐที่พวกเขาเห็นว่า "อยุติธรรม"

หากคิดแต่เพียงว่าคนรุ่นใหม่หรือผู้ลงคะแนนเสียงหน้าใหม่ยังอ่อนด้อย ไร้เดียงสา ก็เท่ากับว่าคุณไม่อยากให้เขาเติบโตในทางของเขาเอง คุณยังอยากให้ลูกหลานคุณเป็นเด็กแบเบาะให้คุณชักจูงไปทางไหนก็ได้ แต่อันที่จริงแล้ว พวกเขาเติบโตและเห็นโลกกว้างและใหม่กว่าโลกตอนที่พวกคุณอาบน้ำร้อนมาก่อนนั้นมากมายนัก

ข้อสาม อนาคตใหม่มีคนสนับสนุนไม่น้อย และคนที่สนับสนุนไม่น้อยเหล่านี้ส่วนหนึ่งคือคนที่มีปากมีเสียง มีอำนาจต่อรอง มีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมสูง ผมไม่ได้จะบอกว่าเสียงของคนที่เลือกพรรคอื่นจะไม่สำคัญ แต่เสียงที่เลือกคนพรรคนี้คือเสียงที่พวกคุณเองเกรงกลัว เพราะพวกเขาอยู่ในเครือข่ายทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ที่ช่วงชิงอำนาจศูนย์กลางของพวกคุณได้

ดูง่ายๆ เฉพาะในกรุงเทพฯ เสียงเลือกอนาคตใหม่เป็นเสียงที่มีคะแนน 1 ใน 3 ของเสียงกรุงเทพฯ ทั้งหมด พรรคเก่าแก่พรรคหนึ่งหมดที่นั่งไปในกรุงเทพฯ ก็เพราะ 1 ใน 3 ของเสียงนี้ การลิดรอนเสียงของคนเหล่านี้ การท้าทายเสียงของคนที่มีทุนทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่ทัดเทียมกับพวกคุณเหล่านี้ จะผลักให้พวกเขาเป็นปฏิปักษ์กับพวกคุณมากยิ่งขึ้น

การทำลายทางเลือกใหม่ การผลักให้พลังของคนรุ่นใหม่ไปเป็นปฏิปักษ์กับพลังอนุรักษนิยมอย่างเปิดเผย การท้าทายพลังของทุนใหม่แบบต่างๆ ที่เติบโตรดต้นคอและในครัวเรือนของคนรุ่นอนุรักษนิยมเอง กำลังสร้างเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่ 

เรายังไม่รู้หรอกว่าปฏิกิริยาต่อการผลักไสทางการเมืองรอบนี้จะเป็นอย่างไร แต่เราจะได้เห็นกันเร็วๆ นี้ว่า พลังของอนาคตที่ก่อตัวขึ้นเงียบๆ ในรถแท็กซี่ ในโรงภาพยนตร์ ในร้านเบเกอร์รี่ ในร้านนมสด ในทวิตเตอร์ ในนิยายออนไลน์ จะตีกลับและรุกไล่พลังอนุรักษนิยมอย่างไร

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร