Skip to main content

การยุบพรรคอนาคตใหม่อย่างที่สาธารณชนและแม้แต่นักกฎหมายเองก็เห็นว่าไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง และความเหลวแหลกของกลไก เกม และสถาบันการเมืองในขณะนี้ คือเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่ทำให้เยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นคนหน้าใหม่ของการเมืองไทย ในหลายพื้นที่กระจายไปทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่มีความขัดแย้งรอบใหม่ในกลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา 

20 ปีที่ผ่านมา คนหน้าใหม่ทางการเมืองเหล่านี้ค่อยๆ เติบโตขึ้นมาในวังวนของการเลือกตั้งและการรัฐประหาร ช่วงเวลานี้การเมืองไทยเปลี่ยนไปอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในหลายต่อหลายมิติด้วยกัน และปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อนใน 20 ปีนี้อย่างหนึ่งก็คือ การตื่นตัวของนักเรียนนักศึกษาในขนาดและความหลากหลายอย่างที่เห็นในทุกวันนี้ ที่เป็นเช่นนี้น่าจะด้วยสาเหตุเชิงโครงสร้างหลายประการด้วยกัน

1) เงื่อนไขเชิงประชากร คนรุ่นเก่ามีอายุยืนยาวขึ้น คนรุ่นเขาจึงไม่อาจปล่อยวางทางการเมือง ไม่อาจปล่อยวางอนาคตในแบบที่พวกเขาไม่ชอบ ไม่อยากเห็นให้เกิดขึ้น การเปลี่ยนผ่านในปัจจุบันจึงเป็นการเปลี่ยนผ่านที่ พลังอนุรักษนิยมไม่จำเป็นต้องหรือที่จริงก็ไม่สามารถจะจัดตั้งคนรุ่นใหม่มาสานต่อความอนุรักษนิยมอีกต่อไป เพราะพวกเขาคนรุ่นเก่ายังจะมีชีวิตอยู่กับคนรุ่นใหม่ไปอีกนานแสนนาน พวกเขาจะยังคงประวิงอำนาจไว้ให้นานที่สุด ดังนั้น ที่ว่ากันว่า "เวลาอยู่ข้างเรา" น่ะ อาจจะไม่จริง เพราะ "เทคโนโลยีการแพทย์และอำนาจเงินในการยืดอายุอยู่ข้างเขา"

2) เงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรม เงื่อนไขนี้สืบเนื่องกับเงื่อนไขแรก การเกิดช่องว่างระหว่างวัย ช่องว่างระหว่างวัฒนธรรม 2.0 และ 3.5 (คือยังไม่ 4.0 ดีนัก) ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน เกิดการเห็นอนาคตที่แตกต่างกัน เกิดทางเลือกที่แตกต่างกัน ข้อนี้แทบไม่ต้องอธิบายก็เห็นกันอยู่ เช่นว่า โลกของพวกเขาไม่ได้อยู่เฉพาะหน้าจอทีวีที่ยังควบคุมโดยรัฐ ไม่ได้อยู่เฉพาะในขอบเขตประเทศไทย แต่เป็นโลกก้าวที่จะยิ่งกว้างขึ้นเรื่อยๆ เพราะพวกเขาสร้างตัวตนจากความแตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ คนรุ่นพ่อแม่พวกเขาส่วนใหญ่พูดได้อย่างมาก 2 ภาษา แต่คนรุ่นหลังค่อยๆ เรียนภาษาที่ 3 กันมากขึ้น 

นี่ยังไม่ต้องพูดถึงวัฒนธรรมบริโภคที่คนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่เติบโตมาเลย พวกเขามองความรักต่างออกไป พวกเขามองความงามต่างออกไป พวกเขามองศาสนา (ถ้าจะยังสนใจกันอยู่) ต่างออกไป

การยืดยาวขยายอายุและจึงนำไปสู่การพยายามรักษาอำนาจของคนรุ่นเก่า จึงยิ่งส่งผลให้เกิดช่องว่างของความคิด อุดมการณ์ ความใฝ่ฝันของคนต่างช่วงวัยที่ขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้น โลกเก่าอันงดงามของสังคมพ่อปกครองลูกที่เมื่อลูกๆ ทะเลาะกันก็ให้พ่อตัดสินคดีความนั้น ได้หมดพลังไปจากจินตนาการของคนรุ่นใหม่แล้ว หรือหากพวกเขาจะถูกปลูกฝังมา พวกเขาก็ไม่มีวัน "อิน" กับจินตนาการแบบนั้นอีกต่อไป โลกของคนหน้าใหม่ทางการเมืองไทยเหล่านี้ยึดมั่นในการตัดสินใจของตนเอง การเป็นตัวของตัวเอง การมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

3) เงื่อนไขทางการเมือง ภูมิทัศน์การเมืองใหม่ที่สร้าง "ชนชั้นใหม่" ซึ่งเป็นชนชั้นกลางทางการเมืองและเศรษฐกิจ ให้เติบโตขยายตัว กระจายตัว และหยั่งรากลงลึกในท้องถิ่นต่างๆ ในเขตเมืองของจังหวัดและอำเภอต่างๆ มากยิ่งขึ้น ทำให้ประชาธิปไตยในท้องถิ่นเกิดขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น และแผ่กระจายมากขึ้น แม้จะเกิดการรัฐประหาร 2 ครั้งติดกันใน 20 ปีที่ผ่านมา แต่พลังเหล่านี้ก็ยังคงมีอยู่ 

ดังจะเห็นได้จากการเลือกตั้งหลังการรัฐประหารปี 2549 และการเลือกตั้งหลังรัฐประหารปี 57 ที่พรรคการเมืองฝ่าย "ก้าวหน้า" ที่เป็นตัวแทนของ "คนนอกกรุงเทพฯ" ก็ยังมีพลังในการท้าทายอำนาจรวมศูนย์ และแม้ในกรุงเทพฯ เอง ก็เกิดการแทรกเข้ามาของพรรคการเมืองฝ่ายก้าวหน้า ที่มีที่นั่งถึง 2 ใน 3 ของพรรคการเมืองฝ่านอนุรักษนิยม 

คนหน้าใหม่ที่ออกมาแสดงความเห็นในขณะนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของพลังชนชั้นใหม่ที่เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเมืองนั่นเอง พวกเขาคือลูกหลานของชนชั้นกลางใหม่ทั้งในเมืองและในชนบท ที่ต่อสู้กับพลังอนุรักษนิยมและชนชั้นกลางเก่ามาอย่างยาวนาน พวกเขาจึงกระจายอยู่ทั่วไปไม่ต่างจากชนชั้นใหม่ หากแต่พวกเขามีเครื่องมือสื่อสาร มีความสามารถทางปัญญา และมีเทคโนโลยีทางการเมืองที่ทรงพลังต่างไปจากพ่อแม่ของพวกเขา

4) เงื่อนไขทางเทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงไม่เฉพาะคนในพื้นที่ออนไลน์ แต่ยังเชื่อมออกมายังคนในพื้นที่ออฟไลน์ การเคลื่อนไหวที่ผ่านมาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ชุมชนที่สร้างโดยอินเตอร์เน็ตไม่ได้ทำให้ผู้คนจมจ่อมหรือก้มหน้าอยู่กับจอโทรศัพท์มือถือ แต่ยังดึงให้พวกเขาออกมาร่วมไม้ร่วมมือกันแสดงพลังให้คนเห็นตัวตนของพวกเขาในพื้นที่สาธารณะอีกด้วย เหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนรุ่นใหม่บรรลุผลทางการเมืองของพวกเขาได้แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนหน้า

เงื่อนไขนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเมืองซึ่งไร้การจัดตั้งขึ้นโดยง่าย ไร้การนำโดยใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มการเมืองใดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยง่าย การรีทวีต การติดแฮชแทก การสร้างแฮชแทก เป็นทั้งการแสดงความเห็นทางการเมืองการทดสอบตรวจสอบวิพากษ์ผู้มีอำนาจทางการเมือง และการสร้างชุมชนทางการเมือง ความแหลมคมของแฮชแทกจำนวนมากสร้างความเห็นทางการเมืองที่ไม่สามารถสร้างได้ก่อนหน้าเทคโนโลยีนี้ นี่ยังไม่นับเครื่องมืออื่นๆ อย่างมีม และการถ่ายทอดสด ที่ทั้งยอกย้อน พลิกอำนาจ และทันท่วงที 

ถึงที่สุดแล้ว ที่สำคัญคือ ในแง่ของความเป็นอิสระทางการเมือง การที่พวกเขาตัดสินใจก้าวออกมาจากโลก "ในจอ" สู่โลกการเมือง "นอกจอ" ออกมาแสดงตัวให้เห็นกันตัวเป็นๆ แสดงถึงการตัดสินใจอย่างที่การสร้างเครือข่ายทางการเมืองด้วยระบบอุปถัมภ์และอุดมการณ์แบบเก่าไม่สามารถทำได้ คุณจะไม่สามารถดูถูกว่าพวกเขาถูกซื้อ ถูกจ้าง ถูกชักจูงมา ถูกสั่งมา ได้ง่ายๆ อีกต่อไป 

ถึงแม้ใครจะปรามาสว่าการแสดงออกของคนหน้าใหม่ของการเมืองไทยยังอยู่เพียงในระดับของอารมณ์โกรธแค้น แต่อารมณ์ทางการเมืองนี่แหละที่จะก่อตัวขึ้นเป็น "โครงสร้างอารมณ์" ที่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุดมการณ์ โครงสร้างสังคม และโครงสร้างการเมืองในระยะยาวได้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร