Skip to main content
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน)
 
คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอาวัฒนธรรมอาหารตนเองไปเป็นตัววัดอาหารคนอื่น
ข้อเขียนของเพจ อดีตกินได้ ล่าสุด (ติดตามอ่านที่นี่) ชี้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างตรงไปตรงมา เข้าประเด็นอย่างแรง
ข้อเขียนนั้นทำให้ผมคิดถึงเรื่องผัสสะที่ไกลไปกว่าเรื่องอาหารไปได้อีกมาก ด้วยการใช้มโนทัศน์ต่างๆ ข้างต้นนั้น ผมจึงอยากขยายความเพิ่มอีกสักเล็กน้อยว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ขนาดไหน
 
เคยมีนักวิชาการอาหารคนสำคัญของไทยเล่าถึงอาหารชุดหนึ่งในเวียดนาม ที่เวียดนามเองก็ไม่มีคำเรียกรวม แต่นักวิชาการท่านนี้เรียกอาหารกลุ่มนี้ว่า ขนมครก ด้วยความที่ต่างก็ปรุงสุกด้วยภาชนะปรุงอาหารที่เป็นถาดหลุมมีฝาปิดตั้งไฟ
 
แต่ถ้าไล่เรียงดูอาหารที่ปรุงด้วยภาชนะนี้ของเวียดนาม แต่ละจานล้วนแตกต่างกันอย่างยิ่งในวิธีกิน เครื่องปรุง มื้ออาหาร และความคาวความหวาน รวมทั้งการใช้ความร้อนที่อาหารบางจานก็นึ่งไม่ใช่กึ่งอบกึ่งทอด อาหารเหล่านี้จึงเทียบกันไม่ได้เลยกับขนมครกในความเข้าใจของชาวสยาม
การเปรียบเทียบอาหารในประเทศไทยเองแต่ต่างถิ่นกัน ซึ่งเรารู้กันอยู่ว่าไม่ได้มีเอกภาพทางวัฒนธรรม และไม่ได้มีเอกภาพทางภาษา รวมไปถึงว่ายังมีความหลากหลายของความคิดความอ่านความเชื่อและอำนาจทางการเมือง ก็ต้องระวังอย่างยิ่งเช่นกัน
 
หากเราเชื่อในการรักษาไว้ซึ่งความเฉพาะถิ่น เชื่อในสุนทรียะของความแตกต่าง เชื่อในคุณค่าของการเรียนรู้ที่จะเข้าใจความแตกต่าง เราก็ไม่ควรละเลยการเข้าใจประเด็นอัตวิสัยของผัสสะ (sensory subjectivity) อย่างลึกซึ้ง ทั้งในเชิงปรากฏการณ์วิทยาของการลิ้มรส และการเมืองของผัสสะ
พ้นไปจากเรื่องอาหาร 
 
ประเด็นเดียวกันนี่โยงไปได้ถึงเรื่องการมอง อย่านำเกณฑ์ความงามตามจริตของเราไปตัดสินคนอื่น (ว่าชาติอื่นว่าแต่งตัวลิเก เท่ากับดูถูกทั้งลิเกและชาติอื่น) อย่านำเกณฑ์การฟังของตนเองไปตัดสินคนอื่น (เพลงแรปฟังไม่รู้เรื่อง หนวกหู) อย่านำเกณฑ์การดม รสชาติ การสัมผัส ไปตัดสินคนอื่น อย่าเอาวิธีจัดความสัมพันธ์ผัสสะของเราไปวัดคนอื่น อย่าติดกับดัก 5 ผัสสะที่เรารับอิทธิพลมาจากชาวกรีกโบราณ
 
ดังนั้น สำหรับผู้ที่ทำงานด้านวัฒนธรรม หากไม่ต้องการผลิตซ้ำอาณานิคมทางผัสสะ ก็ไม่ควรใช้ระบบการจัดประเภทผัสสะของเราเอง (sensory categories) ไปจัดประเภทผัสสะของผู้อื่น ควรตระหนักและระแวดระวังการเอาผัสสะตนเองเป็นศูนย์กลาง (sensory ethnocentrism) ด้วยการเข้าใจผัสสะอื่นๆ ผ่านฐานความเข้าใจผัสสะตนเองไปเสียทั้งหมด ระวังการใช้อคติทางผัสสะ (sensory bias) ในการเข้าใจจัดการผัสสะคนอื่น
 
หากไม่ตระหนักถึงปัญหาทั้งหมดนั้น ก็อาจนำมาซึ่งหรือแฝงอยู่ด้วยโครงสร้างอำนาจแบบมีกรุงเพทฯ สยาม ภาคกลางเป็นศูนย์กลางอำนาจ และการสถาปนากรุงเทพฯ สยาม ภาคกลางเป็นเจ้าอาณานิคมทางผัสสะ (sensory colonization)

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร