วงษ์สวรรค์

มกรา อำลา 'รงค์ วงษ์สวรรค์ One For The Road.


ครับ
หัวชื่อเรื่องข้างบนนี่ มิใช่เรื่องที่ผมจะเขียน แต่เป็นชื่องานแสดงภาพถ่ายขาวดำและประวัติผลงาน ’รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ ที่เป็นแรงบันดาลใจ ทำให้คนหนุ่มสาวมากมายหลายคน และหลายรุ่น เดินเข้ามาสู่ถนนสายวรรณกรรม ซึ่งล่วงลับไปเมื่อต้นปีที่แล้ว และผมเลือกให้ฉายาแก่เขาว่า “พ่อมดแห่งภาษากวีมาดวิไลจากบ้านสวนทูนอิน”

มกราคม อำลา อา'รงค์ วงษ์สวรรค์ (1) "ผู้ชายเรียนรู้จากป่าและดอกไม้"

ลมบาดหิน ของอา…


ผู้ชายคนนั้นกับผู้หญิงของเขาตัดสินใจแรมคืนในกระโจม(เต็นท์)

เขาพบว่าการเสียบก้านปลั๊กตัวผู้ลงในรูปลั๊กตัวเมียเพื่อต้มน้ำกับกาไฟฟ้านั้นเป็นความสะดวกสบายของคนในทาวน์เฮาส์ที่กรุงเทพฯ และอย่างน่าอิจฉา

แต่การมองหาก้อนหินนำมาวางเป็นก้อนเส้า

กิ่งไม้ง่ามปักกับดินแล้วพาดราวแขวนหม้อและริ้วชิ้นวัวฝานหมักเกลือ

ก่อกองไฟและต้มกาแฟ

นี้เป็นบางแบบของชีวิตซึ่งผู้ชายควรเรียนรู้...”

จับมือไวโอลิน ไปอำลา อา'รงค์ วงษ์สวรรค์

พอออกมาจากห้องฝึกเรียนไวโอลินกลางเมืองเชียงใหม่  ผมบอกเจ้า 9 ขวบว่าไปเยี่ยมคุณลุงหน่อยนะ   เจ้าเก้าขวบถามทันทีที่ไหน  ผมตอบกลับวัดเจดีย์หลวง  ไปทำอะไรเหรอ เขาสงสัย  อยากไปเยี่ยม พ่อไม่ได้เข้าไปนานแล้ว

ปายกลางฝน : ปลาสะแงะ


ภาพจาก www.thailandoutdoor.com

ไปปายคราวที่แล้ว ได้ยินชื่อปลาสะแงะในเมนูร้านอาหารร้านอร่อย (ร้านน้องเบส เห็ดหอมทอดอร่อยด้วยน้ำจิ้มสีเขียว) แต่ก็ไม่ได้กิน ถามใครก็ตอบไม่ได้ว่าเป็นปลาอะไร ดียังไง ทำไมต้องปลาสะแงะ

จนกระทั่งมาเจอข้อเขียนของคุณ’รงค์  วงษ์สวรรค์ ที่เคยเขียนไว้ถึงปลาชนิดหนึ่งชื่อปลาไหลหูดำ

“ปลาไหลหูดำ  โอว  หี่  เหมา  ปรุงรสน้ำแดงกับเห็ดหอมและผักบุ้ง--เอ้งฉ่าย   ปลานี้อิมพอร์ทเข้ามาจากฮ่องกงราคาแพงและมีกินในฤดูเดือนเท่านั้น

แต่บางคนบอกความลับว่า  พรานปลาแถบลุ่มน้ำตาปีภาคใต้นำมาส่งอย่างไม่เปิดเผยเพื่อการผดุงราคาเหนือกว่าปลาอื่น

นักกินรุ่นเก๋าว่าเป็นปลาเดียวกับปลาไหล  อุนาหงิ  ของญี่ปุ่น  ย่างราดซีอิ๊ว  โชยุผสมเหล้ามิรินกับกระดูกป่นของตัวมันเป็นเกรวี่--โอ๊ยฉี่--แปลว่าอร่อยเป็นบ้า !

ชินแสสัปดนห่อใบผักกาดดองเค็ม--เกี้ยมฉ่าย  ตุ๋นตำรับจีนเชื่อกันว่าบำรุงกำลังขย่มบนเตียงนอนหมวยครวญคราง

นักเลงปากกว้างในร้านลาบหลู้ยืนยันว่าปลานี้สกุลเดียวกับ  สะแงะ  ของแม่น้ำปายแม่ฮ่องสอน  เวลานี้เป็นปลาเขียม (หายาก)  ปานกันกับเขียดแลวหรือกบยักษ์ 


ภาพจากหมูหินดอทคอม 

ข้อมูลในวิกีพีเดียให้ไว้ว่า ปลาสะแงะมีรูปร่างคล้ายปลาไหล อยู่ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anguilla bengalensis มีความยาว 1-1.5 เมตร พบมากในแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำสาขาในจังหวัดตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ฮ่า แม่น้ำปายนั่นเอง ที่ฮือฮาครั้งหนึ่งคือมีผู้จักปลาสะแงะได้ที่คลองบางกะปิ เมื่อปี 2468 – 84 ปีล่วงมาแล้ว ปลาตัวที่พบนี้ยาว 65 ซ.ม. ทำให้คนเชื่อว่าเป็นปลาไหลไฟฟ้า บางคนคิดว่าเป็นพญานาค บางคนว่าคือมังกร
ความพิเศษของปลาสะแงะอีกอย่างหนึ่งคือ มีเสียงร้องเหมือนเด็กทารกในเวลากลางคืน ใครเคยได้ยินบ้างเนี่ย ที่แม่ฮ่องสอน ชาวปากญอเรียกปลาสะแงะว่า “หย่าที”

ครั้งหนึ่งบนโต๊ะอาหารของคุณชายคึกฤทธิ์ มีเมนูปลาไหลหูดำ หรือปลาสะแงะตัวนี้อยู่ด้วย คุณ’รงบันทึกไว้ว่า

บันทึกอย่างน่าโดนถีบว่าเคยเห็นท่านก้างติดคอในวันนั้นที่ผ่านมา
พนักงานรับใช้ถึงผู้จัดการภัตตาคารตกใจวิ่งกันพล่าน  บ้างออกปากขอโทษ  บ้างละล่ำละลักบอกให้กลืนก้อนขนมปัง  บางคนว่ากลืนกล้วยหอมชะงัดกว่า
คุณชายไม่กลืนอะไรทั้งนั้นนอกจากค็อนญัค  และเอื้อมมือลูกคออย่างสงบ
ใบหน้าคลายยิ้มแต่ปากพูดอย่างราบรื่น
“อันการกินปลาพลาดพลั้งก้างก็ติดคอบ้างเป็นธรรมดา  ไม่เจ็บปวดอะไรนักหนาแต่รำคาญบ้างเท่านั้น  เออ--กินกันตามสบายอย่าทำตาละห้อยเป็นห่วงบ้าบออะไรกันกับข้าวออกเต็มโต๊ะ"
บ่ายวันนั้นกลับสำนักงานบนอาคาร  6  ถนนราชดำเนิน  ท่านเขียนบทความเกี่ยวกับบางปัญหาโจมตีรัฐบาลอย่างแสบสันต์
ก้างติดคอชิ้นนั้นพลอยเจ็บแปลบไปถึงคนในทำเนียบ 

ก้างติดคือยังสะเทือนถึงปานนี้ ไม่กินไม่ได้แล้ว ปลาสะแงะ
ไป...ไปปายกัน

 

 

กลับมาจากอ่านบทกวี "ผู้ชายเรียนรู้จากป่าและดอกไม้" ให้อา 'รงค์ วงษ์สวรรค์ในคืนก่อนบินไกล

เสาร์ 14 มีนาคม 2552 เวลา 3 ทุ่ม 45 นาที ห้องเงียบ มีพยาบาลและเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานสามสี่คน เขาเข้าไปยืนใกล้ๆแล้วถามหาชื่อ หนึ่งในนั้น ชี้ไปยังเตียงใกล้ๆ เขาแทบไม่เชื่อสายตา เขาแทบจำไม่ได้ เขาเข้าไปกราบไหว้

มองร่างสงบนิ่ง เขาพยายามมองทุกส่วนที่จะมองเห็น เสียงเครื่องมือเป็นตู้สี่เหลี่ยมดังส่งเสียงช่วยชีวิต และเส้นกราฟวิ่งไปมา เขาเห็นตัวเลขหน้าปัด ข้างบน 80 ข้างล่าง 40 มองไปยังเตียงอื่น ร่างที่ทอดอยู่บนเตียงแทบไม่ต่างกัน หรือเขาเข้ามาในช่วงเวลาผู้ป่วยพักผ่อน

คาวบอย ผู้เป็น HERO ของข้า


 

1.

 

ยามเช้า

เปิดหน้าต่างตะวันออก

เพื่อรับแสงสว่าง

และข่าวคราวจากโลกภายนอก

พญาอินทรีในสวนอักษร

  

0 คารวาอาลัยสวน

ผิรัญจวนแล้วจากร้าง

หนาวเนื้อแล้วเหลือลาง

ไว้ลายสลักอักขรา ฯ

ชีวิตสั้น ต้นไม้มีราก : พญาอินทรี ถึงเวลาต้องบิน



ขอยกคำกล่าวลาของคุณอุ๋มอิ๋ม วดีลดา เพียงศิริ "พี่บอกพี่ปุ๊ว่า พญาอินทรี ถึงเวลาต้องบิน" กับช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตพญาอินทรี ลุงปุ๊ครูแห่งการถ่ายภาพของฉัน


Pages

Subscribe to วงษ์สวรรค์