Skip to main content
ชาน่า
ข่าวคาว มาเป็นคราว ๆ กับเรื่องรักน้ำเน่า เจ้านั่น หรือ พ่อคนนี้เป็น “แอ๊บจัง” เป็น “เกย์” หรือไม่ แฟนดารา คู่หมั้นนักร้องดัง อย่างทาทา มีประชาชนชาวไทยอยากรู้ถามไถ่ว่า ป้อจายที่หมายหมั้นแล้วถอนหมั้นคนนั้นเป็นหรือไม่... มากมายหลายคำถาม เพราะสังคมทุกวันนี้มีทางออกและทางเลือกมากมาย ชายใดไม่แต่งงาน บ้างก็ฟันธง “เป็นแน่ๆ เลยสู” ชายใด ชอบชาย อันนี้แน่นอน “เป็นแน่ๆ เลยตัว”
เปิดม่านลุ่มนำฝาง
การให้ความรู้และความเข้าใจในการป้องกัน
ชาน่า
ความเป็นอิสระเสรีของชีวิตเกย์ ไม่ว่าจะเกย์มีคู่ เกย์สันโดษ เกย์ไม่มีพันธะ จะสังเกตได้ว่า หลายคนชอบเดินทางเพื่อให้รางวัลของชีวิตหรือจะเป็น "การเดินทางที่แสนพิเศษ" เพื่อหลากหลายจุดประสงค์ก็ตาม "แหม..แก ตัวคนเดียว เที่ยวรอบโลก คิดอะไรมากไปเปิดหูเปิดตาซะมั่ง รึหล่อนจะเก็บเงินไว้ซื้อโลงศพฝังเพชรกระไดยิงกันยะ" เสียงของเพื่อนสาวขาเม้าท์แตก การท่องเที่ยวถือเป็นอุตสาหกรรมที่รองรับเกย์ รักร่วมเพศ นักเดินทางมากมายทั่วทุกมุมโลกที่แสวงหาความสุขทางการเดินทางท่องเที่ยว
ชาน่า
ชาน่าไม่ได้อยู่เมืองไทยเป็นเวลาสิบปีแต่ทุกปีก็จะกลับมาพักร้อนที่เมืองไทย บางข่าวบางเรื่องราวแทบจะเรียกได้ว่า “ตกยุค” ไม่ค่อยอัพทูเดท กับความล้ำ และความแปลกใหม่หลายๆ เรื่องที่เกิดขึ้นในเมืองไทยจนทำให้ชาวโลกต้องหันมามองถึงความเป็นไปได้ มีเยี่ยงนี้เชียวหรือ อือ...มันแปลกดีนา เมื่อคืนก่อนเห็นข่าวทางสำนักข่าว บีบีซี ถ่ายทำสกู๊ปเรื่อง “ห้องน้ำสีชมพู” ซึ่งเป็นห้องน้ำพิเศษแยกเพศที่สามไว้โดยเฉพาะ เรื่องนี้เกิดขึ้นในสถานศึกษา “ชาน่ารู้จัก ซีสะเก็ต (ศรีสะเกษ) เมื่อคืนฉันเห็นทีวีช่องข่าวบีบีซี น้องสาว (กะเทย) นักเรียนเต็มไปหมดเลย” เพื่อนร่วมงานชาวต่างชาติถามยามเช้า “ไอ ซี ล้ำ เลิศมั้ยหละฮะ” บอกแล้วพี่ไทยมีอะไรที่ล้ำ นำหน้าไม่แพ้ต่างชาติในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์
ชาน่า
วันก่อนดูข่าวซีเอ็นเอ็น หรือเข้าใจง่ายๆ ว่าสำนักข่าวเห็นสองเอ็น รายงานเรื่องราวของชาวอเมริกัน กลุ่มรักร่วมเพศที่กลายสภาพจากหญิงจริงเป็นชายด้วยหน้าตา รูปร่างแทบจะแยกไม่ออกว่านี่คือผู้หญิงมาก่อน ทั้งหนวดเครา กล้ามหน่อยๆ หน้าแมนๆ ได้เห็นแล้วยังทึ่งนิดส์ นิด เพราะปกติตัวเองจะเคยชินเห็นแต่ภาพชายแปลงร่างเป็นหญิง ไม่ค่อยได้เห็นหญิงทอมแปลงร่างเป็นชายมากมายนัก หากอ่านหัวข้อ คงไม่ว่ากันว่าทำไมถึงเขียนคำว่า แปลง หลังคำว่าผู้ชาย ไม่งั้นอ่านแล้วอาจจะดูเหมือนชาน่าตอหะแล ผู้ชายในโลกนี้ใครจะท้องได้ (มันก็จริงแฮะ) ตอนแรกก็ตกใจเป็นไปได้ไง ผู้ชายเหรอที่ท้อง แต่พอทรายรายละเอียดจริง ๆ ถึงได้บางอ้อว่า มันก็ไม่แปลกอะไร เพราะเธอเคยเป็นหญิงมาก่อนและก็มีมดลูก รังไข่สมบูรณ์ จึงไม่แปลกที่จะตั้งท้องได้ แม้สภาพรูปพรรณภายนอกจะแมนขนาดไหนก็ตาม บอกแล้วนะฮะว่าบางทีภาพลักษณ์ รูปร่างหน้าตาภายนอกก็ยากจะบอกตัวตนที่แท้จริงของคนเราได้
ชาน่า
เมื่อวันก่อนได้เปิดอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ชาติต่าง ๆ ผ่านสัญญาณดาวเทียมส่งตรงมายังเรือสำราญที่กำลังล่องแถบทวีปยุโรป สะดุดข่าวหนึ่งที่รายงานสองสามวันติดกัน ในหนังสือพิมพ์ "India Today" วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 หัวข้อข่าวพาด "Gays set for first nationwide pride marches" และ "Gay Pride out on street Kolkata" สอบถามเพื่อนร่วมงานชาวอินเดียถึงข่าวคราวนี้ ทราบว่า สมัยก่อนเมื่อราวเกือบสองร้อยปีที่ผ่านมา ก่อนที่อินเดียจะได้รับอิสระในปี 1947 ประเทศอินเดียนั้นถือว่า การเป็นเกย์ หรือ กลุ่มรักร่วมเพศเป็นสิ่งต้องห้าม ผิดกฎ ผิดจารีต ประเพณี หรือเรียกบ้าน ๆ ว่าผิดผีหนะฮ่ะ ในสมัยก่อนๆ ถึงกับมีการฆ่า (มัน...ข้ามันลูกเกย์) กำจัดไม่ให้เหลือคราบ (ว๊ายยยยยย สยองจังฮ่ะ)
ชาน่า
"อันชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนพิกลนัก" คำกล่าวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ที่พวกเรารู้จักกันดีและเห็นด้วยในความหมายของประโยคนี้กันมาตั้งแต่ไหนแต่ไร อย่าบอกนะว่าคนอ่านคอลัมน์ของชาน่าไม่ชอบเพลง ถ้าชอบก็แล้วแต่ว่าใครจะถนัดแนวไหน โดยส่วนตัวของชาน่าฟังได้ทุกแนวค่ะ ไม่ว่าจะเป็นแนวตะเข็บชายแดน หรือเด็กแนว เด็กหยาม (วัยรุ่นสยาม) เพื่อชีวิต ลูกทุ่ง ลูกกรุง สากล ฟังได้ไม่เลือกแต่ก็ขึ้นอยู่กับกาละและเทศะ กะอารมณ์อีกทีหนะฮ่ะ เพลงหลายเพลงแต่งจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้น แต่งจากแรงบันดาลใจ หลายเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง ทุกเหตุการณ์ ทุกอารมณ์ ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ ปรุงแต่งทำนอง เนื้อร้องให้เข้าเป็นจังหวะจะโคลน โดน ๆ จึงไม่แปลกที่เพลงเก่า เพลงใหม่จะโดนใจคนฟัง ไม่ว่าเพลงนั้นจะพึ่งแต่งขึ้นเมื่อวานหรือผ่านหูตั้งแต่แรกเกิด
ธัช
ชาน่า
พักนี้เก่าไปใหม่มา ลูกเรือไทยและต่างชาติที่หมดสัญญาทำให้หลายคนได้พักร้อน ลูกเรือคนใหม่หลายคนก็เข้ารับหน้าที่แทน ชาน่าจึงมีโอกาสได้ดูหนัง ฟังเพลง ใหม่ ๆ อัพทูเดทจากเมืองไทย ส่งตรงไปต่างแดน หยิบวีซีดีแผ่นหนึ่งว่าด้วยเรื่องกฎหมาย “คู่ซ่าส์ ทนายแสบ บันทึกการแสดงสด” ของทนายแฝด จากรายการแจ้งความทางไอทีวี ,คนหัวหมอ ช่องสาม ,และซุปเปอร์แก๊กทางช่องเจ็ด โดย ทนายวันชัย สอนศิริ และทนายประมาณ เรืองวัฒนะวนิช ทนายคู่แฝดขำ ขำ เน้นย้ำสาระจึงพลาดไม่ได้ที่จะเปิดดู ซึ่งได้ทั้งความฮาไม่มีขีดจำกัดและความรู้เต็มจอ จึงขออนุญาตนำเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชาวเรา ๆ มาฝากกันในสัปดาห์นี้ฮ่า
ชาน่า
นานแล้วที่ไม่ได้เม้าท์เรื่องราวภัยรายวัน หลังจากที่คอลัมน์เตือนภัยที่มีคนเข้าอ่านเกือบหมื่น เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหกเกือบปีเชียวฮ่ะ เพื่อนพ้องน้องพี่ชาวเกย์หลายคนร้องเรียก เม้าท์แตกกัน วันนี้จึงขอหยิบหลากหลายเรื่องราวมาเม้าท์เล่าสู่กันฟังนะฮะ บางเรื่องราวฟังไว้ไม่เสียหลาย บางราย “มีอย่างนี้ด้วยหรือ” คุณขา ยุคข้าวยาก หมากแพง เศรษฐกิจทรุด การเมืองแทรก ความมั่นคงถดถอย น่าเห็นใจชาวไทยกันถ้วนหน้าที่ต้องรับสภาพปัญหาเยี่ยงนี้ชาน่าขอแยกเป็นเรื่อง ๆ ตามหัวข้อที่เพื่อน ๆ เม้าท์ให้ทราบละกันฮ่า 
ชาน่า
เมื่อใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว หากใจและกายไม่สอดคล้องกับความรู้สึกและความต้องการ  ทางออกของใครหลายคนจึงเลือกที่จะเยียวยารักษาทางกายมากกว่าทางใจ  จึงเป็นผลให้ใครหลายคนเลือกที่จะทำการ “ผ่าตัดแปลงเพศ”ในส่วนของพนักงานบริการที่เราคุ้นกันในเมืองไทย ก็มีจารึกไว้แล้ว โดยหนุ่มสจ๊วตที่แปลงโฉมเป็นแอร์กี่ เอ้ยไม่ใช่ค่า แอร์โฮสเตส เรียกเสียงวิพากวิจารณ์จากมหาชนมิใช่น้อยส่วนของเรือสำราญ พนักงานบริการที่ต้องพบปะผู้โดยสารจากหลายประเทศทั่วโลกก็มีเธอผู้นี้ ... เช่นเดียวกัน
Hit & Run
 ภาพจาก reutersคิม ไชยสุขประเสริฐวันฝนตก ฉันนั่งอ่านบทความของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงษ์ <1> ในหนังหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับหนึ่ง ที่เขียนเกี่ยวกับภาพของ นางการ์เม่ ชาคอน (Carme Chacon) วัย 37 ปี ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ The International Herald Tribune ขณะที่นางชาคอน ผู้ซึ่งในรัฐบาลชุดก่อนเป็นรัฐมนตรีการเคหะ กำลังเดินตรวจพลสวนสนามครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ของสเปน ในกรุงมาดริด เมื่อวันที่ 14 เม.ย.... เธออยู่ในชุดกางเกงกับเสื้อคลุมท้อง และสวมรองเท้าส้นสูง...นางชาคอนได้เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกของสเปน เมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พร้อมคณะรัฐมนตรีอีก 16 คน โดยการนำของนายกรัฐมนตรีโฆเซ่ หลุยส์ โรดริเกซ ซาปาเตโร จากพรรคสังคมนิยมแรงงาน ซี่งชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 9 มี.ค.พร้อมกับคำสัญญาว่า สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลชุดนี้จะทำให้ประชาชนชาวสเปนได้เห็นกันก็คือ การมุ่งส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพความเท่าเทียมระหว่างหญิงชาย ยืนยันได้จากการที่นายโฆเซ่ก็ได้แต่งตั้งรัฐมนตรีผู้ชายมีอยู่ 8 คน และรัฐมนตรีหญิงถึง 9 คน ซึ่งมีรัฐมนตรีเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ประจำกระทรวงใหม่ 1 แห่ง คือ กระทรวงความเท่าเทียมกัน (the Equality Ministry) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเรื่องสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างชาวสเปน โดยมีนางสาวบิบิอาน่า ไอโด้ เป็นเจ้ากระทรวง อย่างไรก็ตามนางชาคอนไม่ใช่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของโลก เพราะก่อนหน้านี้ ในประเทศญี่ปุ่นก็มีนางยูริโกะ โคอิเขะ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของญี่ปุ่น ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมคนแรกของประเทศเมือปี 2550 หรือการประกาศของประธานาธิบดีราฟาเอล คอร์เรีย แห่งเอกวาดอร์ ที่ยืนยันจะแต่งตั้งสตรีเป็นรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่แทนนางกัวดาลูเป ลาร์ริวา รัฐมนตรีกลาโหมหญิงคนแรกของประเทศ ซึ่งเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกเมื่อปลายเดือน ม.ค.50 หลังจากเพิ่งได้รับตำแหน่งเพียง 1 สัปดาห์ แต่การก้าวสู่ตำแหน่งเจ้ากระทรวงกลาโหมของชาคอนเป็นที่จับตามอง เพราะในขณะนั้นเธอท้องได้ 7 เดือน เมื่อเข้ารับตำแหน่งในช่วงแรกเธอต้องเริ่มสะสางงาน แต่อีก 2 เดือนต่อจากนั้นเธอต้องลาคลอด และสามารถลาคลอดได้ถึง 16 สัปดาห์ ที่สำคัญการที่เธอไม่เคยเป็นทหาร และไม่มีประสบการณ์ในกองทัพมาก่อนเลย ทำให้เธอถูกปรามาสจากกลุ่มหัวอนุรักษ์นิยม ว่าจะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ <2>ท่ามกลางเสียงวิจารณ์นั้น ก็มีความคิดเห็นที่ว่าการแต่งตั้งผู้หญิงที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ทางทหาร และไม่เคยผ่านการฝึกทหารเลย มาเป็นผู้นำกองทัพ เท่ากับเป็นการส่งสารให้โลกรู้ว่า โลกเราต้องการความสงบสุข "เพราะผู้หญิงเกลียดสงคราม" และ "การที่ผู้หญิงได้เป็นผู้นำกองทัพ แสดงให้เห็นว่าตำแหน่งผู้นำกองทัพไม่จำเป็นต้องมีแต่ความบึกบึน แข็งแกร่งเป็นชาย แต่สามารถมีความอ่อนโยน และมีมนุษยธรรมมากขึ้น" <3>สำหรับสังคมไทย ‘อาชีพทหาร' เองก็ยังถูกมองว่าเป็นอาชีพของ ‘ผู้ชาย' เพราะทหารต้องเข้มแข็งอดทนตามแบบฉบับของชายชาตรี แม้ว่าปัจจุบันจะมีการเปิดสมัครรับราชการทหารทั้งเพศชายและหญิง แต่ก็ยังไม่เคยมีทหารหญิงคนใดก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งใหญ่โตทางการทหารให้เห็น เมื่อเห็นภาพของนางนางชาคอนในชุดคลุมท้องเดินตรวจแถวทหาร นักสิทธิมนุษยชนด้านสตรีศึกษาและเพศสภาพอดที่จะชื่นชมไม่ได้ในภาพของความเป็นผู้หญิง และเป็นแม่ ที่ได้รับความเชื่อมั่นในศักยภาพให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงทั้งในรัฐบาล โดยแบกรับมีความรับผิดชอบส่วนตัว และความรับผิดชอบต่องานเอาไว้ โดยที่คุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้หญิงไม่ได้ติดอยู่ที่ความอ่อนแอ แต่ความอ่อนโยนของพวกเธอมีคุณสมบัติพิเศษที่ความเข้มแข็งตามแบบเพศชายไม่อาจทำได้การที่ผู้หญิงคนหนึ่งได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบใน ‘ตำแหน่งแห่งที่' ซึ่งเคยผูกขาดไว้เฉพาะเพศชาย ผู้ยึดถือในความเป็นปิตาธิปไตยจึงอาจมองว่านี่คือ ‘ความเสื่อมถอย' แต่แน่นอนว่า สำหรับผู้เชิดชูสิทธิสตรีและความเท่าเทียมกัน ย่อมเห็นพ้อง (ค่อนข้าง) ตรงกันว่า นี่คือ ‘ความก้าวหน้า' ครั้งสำคัญ................................................หากมองย้อนกลับมายังสังคมบ้านๆ ของเรา...การดำรงฐานะใหญ่โตระดับประเทศชาติของ ‘ผู้หญิง' เป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างมานานแล้ว แม้ว่าเท่าที่ผ่านมา การรับภาระเพื่อชาติจะยังจำกัดอยู่แค่ไม่กี่พื้นที่ เช่น ดูแลเรื่องสุขอนามัย เรื่องแรงงาน หรือไม่ก็เรื่องประเพณีวัฒนธรรม...ซึ่งถ้าจะมองอย่างเ้ข้าข้างกันถึงที่สุด ก็พอเข้าใจได้ว่า เรื่องเหล่านี้เกี่ยวพันกับทุกผู้คน และแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน การที่มีเพศหญิงซึ่งมีความละเอียดรอบคอบเป็นผู้ดูแลในด้านนี้ ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีของสังคมแล้ว และมันก็ทำให้ใครหลายคนชื่นใจว่า...นี่คือสังคมที่มีความเท่าเทียมกันทั้งสองเพศ...ฟังดูเหมือนเป็นอย่างนั้น...จนกระทั่งประเด็นร้อนฉ่าเกี่ยวกับนักแสดงที่ถูกขนานนามว่าเป็น ‘เจ้าพ่อวีซีดี (โป๊)' ออกมาแดกดัน ‘เกย์คนหนึ่ง' ซึ่งเป็นห่วงเป็นใยต่อผลกระทบที่อาจจะเกิดตามมาในเรื่องค่านิยมและทัศนคติทางเพศของคนในสังคม หลังจากที่ฝ่ายแรกออกมาเผยเรื่องราวแทบจะทุกซอกทุกมุมที่เกี่ยวกับประสบการณ์ทางเพศที่มีกับผู้หญิง 2 คนออกอากาศผ่านสื่อโทรทัศน์ที่มีคนดูทั่วประเทศ และพูดถึงหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศที่โจ๋งครึ่มพอๆ กับที่พูดออกอากาศไป เกย์ผู้นั้นออกมาติติงเจ้าพ่อวีซีดีผ่านสื่ออีกสื่อหนึ่ง เป็นผลให้โดนตอกกลับอย่างรุนแรงไม่แพ้กัน...ฝ่ายหนึ่งถูกเหน็บแนมว่าเป็น ‘ผู้ชายป้ายเหลือง' ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งตอบโต้กลับว่า ‘เป็นเกย์หนักแผ่นดิน'การวิวาทะระหว่าง ‘ชายแท้' ผู้พร้อมจะแฉผู้หญิงที่เคยเกี่ยวข้อง กับผู้มีเพศสภาพเป็นชาย แต่มีหัวใจค่อนไปทางเพศแม่ จึงกลายเป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นว่า ที่ทางการสื่อสารสำหรับเพศอื่นๆ นอกเหนือจากความเป็นหญิงและชายในบ้านเรา...มีน้อยยิ่งกว่าน้อยที่จริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องถกเถียงว่าใครเป็นฝ่ายผิดหรือถูก ระหว่างคนที่ให้สัมภาษณ์เรื่องใต้สะดือออกอากาศ กับคนที่เป็นห่วงเรื่องการสื่อสารเรื่องเพศที่เกินพอดีต่อสาธารณชน เพราะเป็นสิทธิ์ของทั้งคู่ที่ทำได้ (แต่คนที่รอดตัวไปได้จากกรณีนี้ก็คือ ‘สื่อ' ที่เป็นช่องทางให้ทั้งสองฝ่ายได้ออกมาฉะกันเพื่อสร้างเรตติ้ง และไม่มีใครลากโยงให้ต้องรับผิดชอบต่อผลที่ตามมาแต่อย่างใด)ในความเป็นจริงแล้ว ในสังคมที่ ‘ดูเหมือนจะ' ให้เกียรติผู้หญิง และเชิดชูเพศแม่ แต่ความคาดหวังของสังคม ต่อการเป็นเพศชาย เพศหญิง ที่ปลูกฝังและถ่ายทอดมานานผ่านวัฒนธรรม จารีตประเพณี ได้สร้างบรรทัดฐานทางสังคมที่ผู้หญิงและผู้ชายควรเป็น หรือ ต้องเป็น จนกลายเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความแตกต่างและเหลื่อมล้ำกันระหว่างเพศ เกิดเป็นความดีเลว ถูกผิด อีกทั้งยังส่งผลถึงการกีดกันคนที่ต่างไปจากจากความคาดหวังให้เป็นตามสองเพศนี้ ให้กลายเป็น ‘เพศที่ผิดปกติ'‘ความเป็นผู้หญิง' ถูกจำกัดวงไว้เพียงความเรียบร้อย ความนุ่มนวล และความรักนวลสงวนตัว ผู้หญิงดีๆ จึงหมายถึงผู้หญิงที่ไม่เคยข้องแวะเกี่ยวกับเรื่องฉาวๆ คาวๆ เลย ส่วนผู้หญิง (อย่างน้อยก็ 2 สาว) ที่มีพฤติกรรมโลดโผน และถูกผู้ชายคนหนึ่งพูดถึงอย่างไม่ไว้หน้าในสื่อแห่งหนึ่ง แต่กลับไม่มีใครในสื่อแห่งนั้นรู้สึกว่าพวกเธอเป็นฝ่ายเสียหาย หรือเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงที่สื่อควรจะปกป้องสิทธิ ด้วยเหตุผลว่า นั่นคือผลจากการกระทำ (ที่ไม่งดงาม) ของสตรีที่ไม่สุภาพเหล่านั้นเองในขณะที่ ‘ผู้ชายอกสามศอก พูดจาตรงไปตรงมา' สามารถนำผู้หญิงมาวิพากษ์วิจารณ์โขกสับอย่างไรก็ได้ ถ้าหากผู้หญิงเหล่านั้นไม่ได้มาตรฐานของสังคมไทย เช่นเดียวกับคนที่เป็นเกย์ หากออกมาตำหนิติติงผู้ชายคนหนึ่ง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม (เป็นห่วงสังคม, หรือ อยากดัง ฯลฯ) ก็ต้องทำใจยอมรับแต่เนิ่นๆ ว่า ‘การเป็นเกย์' จะเป็นสิ่งที่ทำลายเหตุผลและความชอบธรรมในสิ่งที่คุณพูดไปทั้งหมด เพราะสำหรับใครบางคน ‘การเป็นเกย์' ได้ถูกตัดสินไปแล้วว่า ‘เป็นความผิดปกติ' และ‘เป็นความป่วยไข้ของสังคม' ........................... ข้อมูลจาก <1>หนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ ประจำวันที่ 16 พ.ค.51<2>วิกิพีเดีย, http://www.oknation.net/blog/inter/category/ANALYSIS และ www.independent.ie <3>หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11006<4>"นิกกี้" ฉุน "เกย์นที" ด่าหนังสือเซ็กซ์ บอกมันเข้าตูดคุณเหรอ ?!