ขบวนพาเหรด กลุ่มรักร่วมเพศ "Gay Pride in India"ครั้งแรกที่ยิ่งใหญ่ได้ใจได้โล่ห์

13 July, 2008 - 00:00 -- chana

เมื่อวันก่อนได้เปิดอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ชาติต่าง ๆ ผ่านสัญญาณดาวเทียมส่งตรงมายังเรือสำราญที่กำลังล่องแถบทวีปยุโรป


สะดุดข่าวหนึ่งที่รายงานสองสามวันติดกัน ในหนังสือพิมพ์ "India Today" วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 หัวข้อข่าวพาด "Gays set for first nationwide pride marches" และ "Gay Pride out on street Kolkata"

สอบถามเพื่อนร่วมงานชาวอินเดียถึงข่าวคราวนี้ ทราบว่า สมัยก่อนเมื่อราวเกือบสองร้อยปีที่ผ่านมา ก่อนที่อินเดียจะได้รับอิสระในปี 1947 ประเทศอินเดียนั้นถือว่า การเป็นเกย์ หรือ กลุ่มรักร่วมเพศเป็นสิ่งต้องห้าม ผิดกฎ ผิดจารีต ประเพณี หรือเรียกบ้าน ๆ ว่าผิดผีหนะฮ่ะ ในสมัยก่อนๆ ถึงกับมีการฆ่า (มัน...ข้ามันลูกเกย์) กำจัดไม่ให้เหลือคราบ (ว๊ายยยยยย สยองจังฮ่ะ)

กลับเข้าสู่โลกปัจจุบันนี้อะไร ๆ ก็เปลี๋ยนไป๋ ก็แหม คุณขาทุกวันนี้ขนาดเมืองไทยเรายังไม่นั่งเกวียนเข้าสยามเลยนะฮะ กล่าวได้ว่า มีการยอมรับกันมากขึ้น ถึงแม้จะเป็นกฎต้องห้าม "a law forbidding homosexuality"

Kolkata เมืองทางตะวันออกติดกับอ่าวเบงกอล กลุ่มรักร่วมเพศจำนวนสี่ร้อยกว่าคนพลเมืองเกย์ รักร่วมเพศออกมาเดินขบวน ท่ามกลางสายตาคนจับตามองเกือบหลายพันคน โดยถูกล้อมรอบด้วยตำรวจ อย่างสงบ ซึ่งการเดินขบวนพาเหรดครั้งนี้ เดินกันเกือบ 4 กิโลเมตร ในบริเวณกลางตัวเมือง

 

13_7_03

 

 


"
กลุ่มรักร่วมเพศวัยรุ่นได้มาร่วมงานครั้งนี้มากขึ้น"
Pawan Dhall
หนึ่งในทีมงานพาเหรดกล่าว แม้การตั้งขบวนกลุ่มรักร่วมเพศที่ได้เดินพาเหรด เพื่อเรียกร้องสิทธิและพิธีการสังสรรค์สนุกสนานจะมีวัยรุ่นวัยทีนเข้าร่วมมากขึ้น แต่หลายคนก็ยังเกรงทางบ้านจะรับไม่ได้ จึงต้องใส่หน้ากาก ประมาณว่าอยาก (ร่วมขบวน) แต่ขอแอบ แอ๊บจังเหอะ

น่า... ไม่ว่ากัน หากชาน่าได้เดินขบวนเกย์ พาเหรดที่กรุงเทพฯ ก็คงต้องพรางชมพู แปลงร่างไอ้มนุษย์แดงเกย์ หรือไม่ก็แต่งสาวจนทางบ้านจำไม่ได้ เหมือนกับคอนเซ็ปต์ในการแต่งสาวเขียนหนังสือเพราะไม่อยากให้ทางบ้านทราบนั่นล่ะฮ่า

 

13_7_02

 

ส่วนกรุงนิวเดลี กลุ่มรักร่วมเพศถือว่าเป็นของต้องห้ามอย่างเป็นทางการในอินเดีย แต่ก็ไม่สามารถหยุดรั้ง พลพรรคคนรัก (เป็น) เกย์ได้ ซึ่งได้จัดตั้งขบวนพาเหรดในวันสุดสัปดาห์นี้


"
ขบวนพาเหรดที่เกิดขึ้นในครั้งนี้นั้น ทำให้รู้ถึงผู้คนที่เป็นกลุ่มรักร่วมเพศมีความกล้าพอที่จะแสดงตัวตนที่แท้จริงของตัวเองออกมา" Lesley Esteves ฝ่ายกิจกรรมสิทธิมนุษยชนคนเป็นเกย์ กล่าว

ถึงกระนั้นตามกฎหมายของอินเดียที่บัญญัติไว้ มาตรา 377 กฎหมายการกระทำผิดทางเพศมีโทษปรับ และจำคุก 10 ปี ซึ่งเคยมีคนรักร่วมเพศเคยโดนจับมาแล้วจำนวนหนึ่ง จนทำให้ เกย์ เลสเบี้ยนหลายๆ คนเลือกที่จะเป็นแต่เลือกอีกว่าจะไม่แสดงออก เกรงและกลัวโทษ ขอแอ๊บ เก็กชง ลุ่มหลงแค่นั้นก็พอ

น่าสงสารนะฮะ อยู่ภายใต้กฎหมายที่ไม่ยอมปรับตามโลกปัจจุบัน อิชั้นว่าเหมือนอยู่ในนรกหมกไหม้ ตายทั้งเป็น โถ โถ นะโม คุณขา ชีวิตก็ของเรา จะรักจะชอบใครมันผิดด้วยหรือ ก็แค่ความต้องการทางเพศที่เป็นปัจเจกบุคคลยังมาห้ามกันอีก อีพวกชายจริง หญิงแท้ (ห่วยๆ) แย่งลูกแย่งเมียชาวบ้านเค้าน่ะสมควรทัณฐ์บน ต้องโทษอย่างหนักมากๆ กว่า คนเป็นเกย์ด้วยซ้ำ

จึงไม่แปลกถ้าหากบางคนรับกฎหมาย ข้อบังคับของสถานที่นั้นๆ ไม่ได้ ขอหนีไปอยู่อีกโลกที่ไกลแสนไกล ไปให้ถึงโลกของเรา แล้วเราก็จักเป็นสุขมากกว่าอยู่โลกของเขา

 

 

13_7_01

 

แล้วเมืองไทยหละค๊า การเมืองเรื่องราวเป็นยังไง สนใจ ใส่ใจกันบ้าง อย่าเอาแต่ "เห็นแก่ตัว หาผลประโยชน์ แย่งชิงดี ชิงเด่น ลุ่มหลงในลาภ ยศ สรรเสริญ บ้าคลั่งอำนาจ" ตายไปก็หาได้เอาไปด้วยไม่

เอาใจช่วยเพื่อนบ้าน "อินเดีย" ให้ก้าวต่อไป เพื่อโลกของเรา ชาวเราจักเป็นสุขให้ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม และกฎหมายซักที แม้ไม่รู้ว่าจะมีหวังหรือไม่ นานกี่ไปเท่าไหร่ ... รอต่อไปนะคนดี

ชาน่า เขียนบนเรือสำราญหรู ขณะลอยล่องท่องอยู่ยุโรป เรือจอดเมือง อิสตันบูล ประเทศตุรกี คราวหน้าจะเขียนเกี่ยวกับประเทศ ตุรกี ใครเป็นเกย์ กะเทย มาเมืองนี้ต้อง “ซี่” ทุกราย

 

ความเห็น

Submitted by bb on

อยากให้โลกมีสังคมที่สดใส

หนีตาม...เกย์ชาน่า (ไม่ใช่กาลิเลโอ)

28 March, 2010 - 00:00 -- chana

 
หากใครเคยชมภาพยนตร์ไทยของจีทีเอช โดย บริษัท จอกว้าง ฟิล์ม จำกัด เมื่อปีที่แล้ว “หนีตามกาลิเลโอ” หลายคนคงจะประทับใจเรื่องราวและการต่อสู้ ความน่ารักและการใช้ชีวิตของสองสาวไทยที่ตัดสินใจไปเที่ยวและทำงานต่างประเทศ หนึ่งคนไปเพราะอกหัก อีกหนึ่งไปเพราะสอบตก อยากเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใหม่  แต่สำหรับฉัน “ชาน่า” หนีไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ที่ตัดสินใจบินออกนอกประเทศ ความรู้สึกไม่ได้แตกต่างอะไรไปมากกว่านางเอกของหนังเรื่องนี้นักเลย  สุข เหงา เศร้า คละเคล้ากันไปยิ่งกว่าละครเสียอีก    แต่ชาน่าไม่ใช่นางเอกของเรื่อง แค่เกย์ที่หลายคนรู้จัก บ้างรู้จักฉันดี บ้างแค่ผ่านมาแล้วผ่านไป   เส้นทางของหนังหลายเมืองใหญ่ดัง ๆ ระดับโลก ฉันเคยไปเหยียบมาหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นลอนดอน ปารีส โรม อิตาลี่ ฟลอเรนซ์ แต่การเดินทางของฉัน เคลื่อนไปกับเรือสำราญลำใหญ่ที่จุคนมากกว่าสี่พันชีวิตต่อครั้ง ทั้งผู้โดยสารสามพันกว่า และลูกเรืออีกพันสองร้อยชีวิต จากนานาประเทศ

หลัง พ.ศ. 2499 เราชาวเกย์เป็นไท ไม่ผิดกฎอาญา

22 March, 2010 - 13:42 -- chana

หลายคนอาจจะเคยสงสัยเหมือนกับชาน่าว่าในสมัยก่อนวิถีชีวิตของเกย์เป็นเยี่ยงไร วันนี้จึงหาคำตอบและเป็นความต้องการทราบส่วนตัวด้วยค่ะ เพราะว่ามีโอกาสได้ดูละครเรื่องสาปภูษา จึงใคร่รู้เยี่ยงนักว่าประวัติความเป็นมาและสังคม กฎระเบียบบ้านเมืองเป็นเช่นใด ข้าใคร่รู้ ณ บัดเดี๋ยวนี้

(ไม่)ชวนเสียวในคืนสยอง...

28 February, 2010 - 00:00 -- chana

 

เมื่อช่วงพักร้อนที่ผ่านมา ชาน่าและเพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันตามประสาเฮฮาปาร์ตี้ เพื่อนๆ ต่างไม่เจอกันมานาน มีทั้งเพื่อนชายจริง หญิงแท้และชาวหลากหลายทางเพศ

ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย ของ...จิ๋ม ซาร่า

14 February, 2010 - 00:00 -- chana

"กระจกจ๋า บอกซาร่าหน่อยนะ ว่าผู้ชายคนเนี้ยะ...ใช่มะ ใช่มะ...."
มาแล้ว มาแล้ว มาแล้ว จิ๋ม ซาร่า ท้าสัมผัส... มากับอัลบั้มชุดที่สอง "คนร่วมฝัน"

 


หากคุณได้ยินเพลงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าเป็นหญิงจริงหรือหญิงเทียม ไม่ว่าคุณจะมองผู้หญิงคนนี้อย่างไร ชาน่ามองเธอว่า เธอคือผู้ชายที่กลายเป็นผู้หญิงที่น่าค้นหาอีกคน ข้อความจากเพลง “เกินห้ามใจ” ของนักร้องสาวประเภทสองที่ชื่อจิ๋ม ซาร่า หรือชื่อที่ใช้ในวงการ “สุจินต์รัตน์ ประชาไทย” ผู้ชายทั้งแท่งที่ผันตัวเองให้เป็นผู้หญิงทั้งทิ่ม เธอผู้นี้เป็นคนไทยคนแรกที่กล้าไปผ่าตัดแปลงเพศไกลถึงดินแดนเมืองผู้ดี “อังกฤษ”

'เหวี่ยง' กันทำไม ?

7 February, 2010 - 00:00 -- chana

 

การมองโลกในแง่ร้าย การมีประสบการณ์ที่โหดร้าย หรืออยู่ในสังคมที่แย่ อาจจะทำให้คนในสังคมนั้นมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก สังคมที่ไม่มีศีลธรรม สังคมทุนนิยมที่เอาแต่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยช่วยให้คนกลุ่มนั้นมีทัศนคติและพฤติกรรมที่กลุ่มคนดีเค้าไม่ทำกัน

วันนี้อยากนำเสนอเหตุการณ์ และ ศัพท์ของเกย์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับสังคมสีม่วงของเรา ถ้าหากหลีกเลี่ยงได้ สังคมเกย์ไทยจะน่าอยู่อีกเยอะเลยล่ะฮ่ะ