Skip to main content

..การบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านมิอาจกระทำได้โดยละเลยขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งโดยเฉพาะกระบวนการค้นหาและสถาปนาความจริงเป็นสิ่งที่ยากจะฟังขึ้น การใช้ข้ออ้างเรื่องความต่างทางวัฒนธรรม เป็นแต่เพียงการจุดชนวนระเบิดเวลาที่จะรอวันระเบิดเท่านั้น..อานนท์ ชวาลาวัณย์

 

อานนท์ ชวาลาวัณย์, กลุ่มประกายไฟ

ในระหว่างสงครามกลางเมืองหรือยุคสมัยแห่งความขัดแย้ง การใช้ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนคือสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วไปในสังคมทั้งการละเมิดที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำต่อประชาชนเช่นกรณีทหารเขมรแดงละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวกัมพูชาหรือกรณีที่ประชาชนชาวรวันดาถูกรัฐบาลใช้สื่อปลุกปั่นให้จับอาวุธเข้าห้ำหั่นกัน ภายหลังเหตุการณ์ความรุนแรงผ่านพ้นไป และสภาวะโกลาหล(Chaos) สิ้นสุดลงกระบวนการยุติธรรมก็จะถูกสถาปนาขึ้นมาเพื่อจัดระเบียบสังคมและควบคุมไม่ให้เกิดความรุนแรงอย่างไรก็ดีเนื่องจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับสถานการณ์ทางการเมืองกระบวนการยุติธรรมที่สถาปนาขึ้นจึงไม่สามารถตั้งอยู่บนตรรกะทางนิติศาสตร์หากแต่จำเป็นต้องผสานตรรกะทางรัฐศาสตร์เข้ามาด้วย

กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านนั้นประกอบด้วยสามกระบวนการใหญ่ๆได้แก่การค้นหาความจริง การบังคับใช้กฎหมายลงโทษผู้กระทำผิดและกระบวนการทางการเมืองอันจะทำให้รัฐสามารถก้าวข้ามความขัดแย้งและเดินหน้าต่อไปได้ กระบวนการทางการเมืองนี้ก้อได้แก่การเยียวยาเหยื่อและครอบครัวของเหยื่อ การสมานแผลระหว่างคู่ขัดแย้งหรือการปรองดองที่เป็นประเด็นในสังคมไทยและท้ายที่สุดการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำผิดระดับรองๆ

การค้นหาและเปิดเผยความจริงคือบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่าน หากปราศจากซึ่งกระบวนการค้นหาและเปิดเผยความจริงก็ยากที่กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านจะประสบความสำเร็จเพราะเมื่อปราศจากซึ่งความจริงก็ไม่อาจลงโทษหรือให้อภัยผู้กระทำผิดเพราะไม่รู้ว่าใครทำอะไร ไม่อาจคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเป็นธรรมให้แก่เหยื่อผู้วายชนม์และครอบของเขา การค้นหาและการประกาศความเป็นจริงคือหัวใจของกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านอันจะขาดเสียไม่ได้  หลังการค้นหาความจริงกระบวนการทางกฎมหายที่จะลงโทษผู้กระทำผิดคือสิ่งที่จะต้องดำเนินไป ผู้กระทำผิดในส่วนที่กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านมักมุ่งที่จะลงโทษได้แก่ผู้บังคับบัญชาและผ่ายบริหารที่เป็นผู้กำหนดหรือควบคุมนโยบายแห่งรัฐหรือคุมการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆเนื่องจากบุคคลเหล่านี้คือผู้ที่อย่เบื้องหลังเพราะเป็นผู้จุดประกายความขัดแย้ง ในส่วนกระบวนการทางการเมืองจะเน้นการผสานรอยร้าวระหว่างผู้คนในสังคมเช่นการจัดให้มีการพบปะพูดคุยและปรับความเข้าใจระหว่างผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ กระบวนการรื้อฟื้นความทรงจำและสถาปนาที่ทางในประวัติศาสตร์แก่ผู้วายชนม์เช่นการสร้างอนุสรณ์สถานและท้ายที่สุดการนิรโทศกรรมแก่ผู้กระทำผิดทั้งนี้ผู้ที่จะได้รับนิรโทศกรรมมักจะไม่ใช่คนที่อยู่ในระดับบัญชาการแต่เป็นผู้ปฏิบัติการเพราะบุคคลเหล่านี้มักไม่ได้กระทำผิดด้วยเจตนาแต่กระทำเพราะสถานการณืพาไป การลงโทษบุคคลเหล่านี้อาจทำให้รัฐสูญเสียประโยชน์ในระยะยาวเช่นการสูญเสียกำลังแรงงานเพราะมีผู้กระทำผิดติดคุกเป็นจำนวนมาก กระบวนการทั้งหมดทั้งสิ้นที่กล่าวมาหากได้มีการปฏิบัติสอดคล้องกันอย่างเหมาะสมอาจนำไปสู่การสถาปนาความยุติธรรมในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านได้ อย่างไรก็ดีสิ่งเหล่านี้กลับไม่เคยเกิดขึ้นในรัฐไทยทั้งที่รัฐไทยเองก็ประสบพบเจอกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองมาแทบจะนับครั้งไม่ถ้วน

หากศึกษาประวัติศาสตร์ของรัฐไทยก็จะพบว่าเหตุการณ์การความรุนแรงทางการเมืองที่ขยายตัวไปสู่การปะทะระหว่างฝ่ายรัฐและฝ่ายประชาชนซึ่งนำไปสู่การเสียเลือดเนื้อเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สิบสี่ตุลาหนึ่งหก หกตุลาหนึ่งเก้า สงครามประชาชนในยุคสงครามเย็นระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับรัฐบาลไทย  เหตุการณ์พฤษภาทมิฬสองห้าสามห้า เหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้และท้ายที่สุดเหตุการณ์เมษาและพฤษภาเลือดในปี2552กับปี2553 เหตุการณ์ทั้งหมดที่กล่าวมานำไปสู่การสูญเสียเลือดเนื้อของผู้บริสุทธิ์หลายต่อหลายคน ทว่าหลังเหตุการณ์ทั้งหมดจบลง(ยกเว้นเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ที่ยังคงดำรงอยู่) กลับไม่ได้มีการพยายามสถาปนากระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านขึ้นในประเทศไทย แม้ว่าจะมีการบังคับใช้นโยบายที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านบางประการในอดีตเช่นการออกคำสั่ง66/23เพื่อนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย การสร้างอณุสรณ์สถานสิบสี่ตุลา การเนรเทศ (ลงโทษ) ถนอมประภาส ณรงค์ จากกรณีสิบสี่ตุลาและการออกมากล่าวคำขอโทษอย่างเป็นทางการของสุรยุทธ์ จุลานนท์ต่อกรณีความรุนแรงในภาคใต้และล่าสุดการจ่ายเงินเยียวยาวแก่เหยื่อในเหตุการณ์ทางการเมืองช่วงปี52-53รวมไปถึงเหตุการณืทางการเมืองอื่นๆนับแต่รัฐประหารสองห้าสี่เก้าและเหยื่อความรุนแรงในภาคใต้ ทว่าการบังคับใช้นโยบายทั้งหลายเหล่านี้กลับประสบความล้มเหลวในภาพรวม สิ่งที่รัฐไทยทำอาจกล่าวได้ว่ารัฐไทยได้แต่ทำกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านให้เป็นกระบวนการอยุติธรรมเปลี่ยนผ่านซึ่งหมายถึงการบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านอย่างพิกลพิการเพื่อให้บริหารประเทศต่อไปได้โดยไม่สนใจว่าในระยะยาวความขัดแย้งอาจหวนกลับมาอีก  

หากจะพิจารณาลึกลงไปนโยบายในกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านที่ถูกนำมาบังคับในรัฐไทยดังที่กล่าวมาในตอนท้ายของย่อหน้าก่อนมิได้มีนโยบายใดที่เกี่ยวข้องกับการสืบหาและประกาศความจริงต่อสาธารณะ  นี่คงเป็นสาเหตุสำคัญที่กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านไม่เคยทำความยุติธรรมให้บังเกิดในไทยเพราะกระบวนการค้นหาและทำความจริงให้ปรากฏไม่เคยเกิดขึ้นกระบวนการอื่นๆที่เกิดขึ้นมาจึงดูพิกลพิการไปเสียสิ้นเช่นกรณีหกตุลาและสงครามประชาชนที่แม้ภายหลังจะมีการประกาศนิรโทษกรรมแต่ก็ไม่เคยมีการทำความจิงให้ปรากฎต่อสาธารณะว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลังใครคือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด การนิรโทษกรรมในกรณีดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่น่าขบขัน ประการแรกไม่มีการพิสูจน์ว่าประชาชนและนักศึกษาที่ได้รับการนิรโทษกรรมนั้นจริงๆแล้วพวกเขากระทำความผิดหรือปล่าว เพราะหากไม่ได้กระทำความผิดก็ไม่ควรจะมีการนิรโทษกรรมเพราะไม่มีความผิดให้นิรโทษ ขณะเดียวกันในฝ่ายของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของรัฐก่อนการนิรโทษกรรมก็ไม่ได้มีการใต่สวนหรือประกาศความผิดให้สาธารณชนรับ เมื่อญาติของผู้เสียชีวิตไม่ได้ทราบความจริงการให้อภัยก็คงบังเกิดไม่ได้ ขณะที่เหยื่อของเหตุการณ์ก็ไม่ได้รับรื้อฟื้นตัวตนและศักดิศรีความเป็นมนษย์ไม่มีที่ยืนทั้งในทางประวัติศาสตร์แห่งรัฐหรือการจัดสร้างอณุสรณ์สถาน ที่สำคัญที่สุดเมื่อไม่มีการค้นหาประกาศความจริงก็ไม่มีการถอดหน้ากากและนำตัวผู้บงการ(Master mind) มาลงโทษซึ่งโดยทั่วไปการนิรโทษกรรมในกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านมักไม่นับรวมผู้บงการ ล่าสุดในเหตุการณ์เมษาพฤษภา53 รัฐบาลที่ถูกเลือกมาโดยเหยื่อของเหตุการณ์ดูจะเพิกเฉยมีเพียงการจ่ายเงินเยียวยาทว่าไม่มีการทำความเป็นจริงให้ปรากฎ รัฐบาลอ้างความปรองดองพักเรื่องการหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษหรือเพื่อให้ประเทศเดินหน้าไปได้ อย่างไรก็ดีการปรองดองที่ปราศจากการค้นหาความจริง นั้นเป็นเพียงการปรองดองจอมปลอมที่จะเป็นเสมือนระเบิดเวลาที่รอการระเบิดในอนาคต 

กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านคือสิ่งที่จะจะต้องสถาปนาในสังคมหลังสงครามกลางเมืองและความขัดแย้งทางการเมือง หากปราศจากเสียซึ่งกระบวนการดังกล่าวก็ยากที่รัฐจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ การบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านมิอาจกระทำได้โดยละเลยขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งโดยเฉพาะกระบวนการค้นหาและสถาปนาความจริงเป็นสิ่งที่ยากจะฟังขึ้น การใช้ข้ออ้างเรื่องความต่างทางวัฒนธรรม(Cultural relativism) เป็นแต่เพียงการจุดชนวนระเบิดเวลาที่จะรอวันระเบิดเท่านั้น หากรัฐไทยยังไม่เปลี่ยนวิธีคิดและการกระทำความสูญเสียที่รุนแรงกว่าเดิมคงจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก

 

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
  ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี กลุ่มประกายไฟ            "รัฐสวัสดิการ เป็นระบบที่อยู่ตรงข้ามกับระบบทุนนิยมทั้งทางปฏิบัติและตรรกะ แต่ระบบทุนนิยมจะดำรงอยู่ไม่ได้หากปราศจากรัฐสวัสดิการ"วอลเตอร์ คอร์ปี ทำไมต้องสังคมนิยมประชาธิปไตย? สำหรับฝ่ายซ้ายทั่วไปอาจตั้งข้อสงสัยกับหัวข้อ ว่าสังคมนิยมมันต้องเป็นประชาธิปไตยในตัวอยู่แล้วมิใช่หรือ  แล้วทำไมต้องมีประชาธิปไตยต่อท้าย มันมีด้วยหรือ สังคมนิยมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย....เพื่อความเข้าใจตรงกัน...การใช้คำว่าสังคมนิยมประชาธิปไตย(Socialism Democracy)…
ประกายไฟ
“นักปฏิวัติท้ายที่สุดแล้วจะเป็นนักปฏิรูปที่ขยันที่สุด ก้าวหน้าที่สุด ในทางตรงข้ามนักปฏิรูปหากทำการปฏิรูปเพียงลำพังโดยปราศจากเป้าในการปฏิวัติ ก็จะเป็นผู้รักษาระบบแห่งการกดขี่ที่ขยันที่สุดอย่างขันแข็งที่สุดเช่นกัน” โรซา ลัคเซมเบิร์ก บทนำ ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งในสังคมที่ทุกฝ่ายอยากเบือนหน้าหนี ภาคประชาชนถึงคราวตีบตัน เมื่อหันไปดูรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็พบว่าเป็นรัฐบาลทุนนิยมสามานย์ที่สร้างบาดแผลลึกแก่สังคมไทย ตั้งแต่ตัวนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมรัฐสมัย6ตุลาคม2519 ยังไม่นับรวมการเป็นรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณซึ่งอื้อฉาวในกรณี ฆ่าตัดตอนยาเสพติด…