Skip to main content

ณ ประเทศแห่งหนึ่งที่เพิ่งจะพ้นจากยุคเผด็จการอันแสนเลวร้ายมา พวกเขาต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่สะสมหมักหมมนานนับหลายปี

บรรดาผู้เชี่ยวชาญของประเทศต่างรู้ว่าเกินขอบเขตสติปัญญาของตนเพราะทั่นผู้เผด็จการคนก่อนดึงเอานักกฎหมายนักรัฐศาสตร์ที่น่าเชื่อถือไปรับใช้เสียจนประชาชนขาดความเชื่อมั่นในนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในประเทศ
 
ผู้นำชุดใหม่จึงหารือกันอย่างเคร่งเครียดว่าจะหาใครที่ไหนมาช่วย
 
ทันใด ชายคนหนึ่งก็ลุกขึ้นมาเสนอว่า พวกเขาควรติดต่อสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นประเทศประชาธิปไตยก้าวหน้าและสร้างชาติด้วยเวลาอันรวดเร็ว
ชายอีกคนลุกขึ้นคัดค้านทันใด ว่าสหรัฐอเมริกาไม่ใช่พ่อ แถมยังใช้รัฐธรรมนูญที่ล้าสมัยมาก ตั้งแต่ตั้งประเทศมาไม่เคยเปลี่ยนเลยสักฉบับ นอกจากแก้ไขเพิ่มเติมไม่กี่ครั้งเท่านั้น
 
ชายอีกคนหนึ่งเสนอว่าควรขอผู้เชี่ยวชาญจากเยอรมัน เขาถูกแย้งด้วยชายท่าทางฉลาดเฉลียวที่พูดแบบผู้ดีว่า ฮิตเลอร์มาจากการเลือกตั้ง และทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หากเอาระบบและวิธีคิดแบบเยอรมันนีมาใช้ ก็จะเกิดปัญหาแน่ๆ
 
ท่านนายพลคนหนึ่งอีกคนเสนอให้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษในฐานะประเทศต้นแบบประชาธิปไตย แต่ท่านนายพลถูกชายท่าทางเจ้าปัญญาทับถมเอาว่า ท่านช่างไม่รู้เดียงสา เพราะอังกฤษเป็นประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรนะ
 
เมื่อได้ยินอย่างนั้น ทั่นนายพลก้มลงจับกระบี่ที่คาดเอวอย่างหงอยๆ ทำราวกับว่าตัวเองไม่เสนอแนะอะไร และไม่มีคำโต้เถียงใดๆ
 
ชายเจ้าปัญญาคนหนึ่งมองเพื่อนๆ ด้วยความสมเพชเวทนา เขาตัดสินใจพูดด้วยสายตาเปี่ยมหวัง 
 
"ผมพบทางออกของชาติแล้ว ..." เขายืนยันด้วยเสียงหนักแน่น
 
"ผมเสนอว่าพวกเราควรติดต่อประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความชำนาญในการร่างรัฐธรรมนูญมากที่สุดในโลก นักวิชาการของเขาร่างรัฐธรรมนูญซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวกเขาเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครในโลก พวกเราจะได้ปัญญาญาณจากเขาแน่ๆ..."
 
"ถ้าเป็นไปได้ เมื่อพวกเขาช่วยเราร่างรัฐธรรมนูญ ผมอยากเสนอชื่อพวกเขาให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพด้วยการร่างรัฐธรรมนูญ"
 
ที่ประชุมถกเถียงกันพักใหญ่โดยยังไม่มีข้อสรุป
 
แล้วจะคาบข่าวมากบอก...นะจ๊ะ

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ตรุษจีนปีนี้ผมไม่ได้กลับบ้าน คงอยู่เงียบๆ เหมือนเคย แต่บรรยากาศของตรุษจีนของชาวจีนโพ้นทะเลไม่ว่าที่ไหนๆ ก็จะต้องมีเสียงของเติ้งน้อยเป็นเพลงประกอบราวกับเพลงบังคับของเทศกาล อดไม่ได้ที่จะหวนคิดถึงความเก่าความหลังที่ชีวิตวกวนพาไปเดินเล่นไกลถึงนิวยอร์ค
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเคยเขียนงานชุด จริยธรรมของการพบพาน (The Ethics of Encounter) เอาไว้เมื่อหลายปีก่อน เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นไปได้ในสถานการณ์ของการเชิญหน้า ว่าในการปะทะสังสรรค์กันของมนุษย์กับคนแปลกหน้าย่อมเกิดภาวะพิเศษ ซึ่งอาจนำไปสู่สงครามหรือสันติภาพก็ได้ หลายปีมานี้ผมพบว่าปัญหาหนึ่งของสังคมไทยก็คือการปะทะกั
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);}
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมได้รับชวนจากมิตรสหายท่านหนึ่งให้เข้ามาเขียนบล็อกที่นี่ หลังจากไปโพสต์ต่อท้ายข่าวซุปเปอร์แมนลาออกจากเดลี่เทเลกราฟไปเขียนบล็อก ผมบ่นไปทำนองว่า อยากออกไปทำงานอย่างอื่นบ้าง มิตรสหายท่านนั้นเลยยื่นข้อเสนอที่ยากปฏิเสธ เพราะผมอ่านข่าวในประชาไทอยู่นานแล้ว ก็อยากมีส่วนร่วมด้วย ประการหนึ่ง