Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ข้าใส่เสื้อสีเหลือง ใช่ เพราะข้าเชื่อในสีเหลืองแห่งความชอบธรรมของข้า ใช่ เพราะข้าเชื่อในสีเหลืองแห่งความถูกต้องของข้า ใช่ เพราะข้าเชื่อในสีเหลืองแห่งความดีงามของข้า ใช่ เพราะข้าเชื่อในสีเหลืองแห่งข้อเท็จจริงของข้า ใช่ เพราะข้าเชื่อในสีเหลืองแห่งความเป็นจริงของข้า ใช่ เพราะข้าเชื่อในสีเหลืองแห่งเหตุผลของข้า ใช่ เพราะข้าเชื่อสีเหลืองแห่งอุดมการณ์ของข้า ใช่ เพราะข้าเชื่อในสีเหลืองแห่งพลังมวลชนอันยิ่งใหญ่ของข้า และความเชื่อในสีเหลืองทั้งหมดของข้า เป็นความเชื่อที่ข้าเชื่อว่า เป็นความเชื่อที่ถูกต้องที่สุด และดีที่สุดที่ข้ามี แต่เพียงผู้เดียวในโลกนี้ ข้าจึงไม่มีวันที่จะประนีประนอม กับใครหน้าไหนในโลกนี้ทั้งสิ้น
รวิวาร
การผ่อนพักอันยาวนาน มืดและเงียบสงบ ในวงล้อมของหมู่ไม้ ได้ยินเสียงสัตว์เล็กๆ และการไหวตัวใต้พื้นดิน... ฉันอยู่ที่นั่น แน่นิ่ง ไม่ไหวติง หยุดมหาสมุทร สายน้ำ สายลมในตัว โลกกำลังต้องการการหลับใหล ความคิดหยุดลงชั่วขณะ เอียนเหลือแล้วกับสิ่งต่างๆ ที่ตนแสดงออก ความคิด โครงการ คำพูด เหน็ดเหนื่อยกับความกระตือรือร้น และการกระทำฉับไวต่อเนื่องไม่ยอมหยุด นอนอยู่บนผืนดิน เงียบสงัดจากความคิด ไหลเลือน ละลาย ชำระ ปล่อยให้สารพัดสิ่งพวยพุ่งทะลักกลับคืนแหล่ง โลกไม่ต้องการอะไรจากฉัน ฉันไม่จำเป็นต้องพ่นตัวเองออกสู่โลก ออกข้างนอกมากไปแล้วจำต้องหวนกลับคืนสู่ภายใน เข้าจัดการกะเกณฑ์ วางแผนมากไป ถึงขีดหนึ่งคือความไร้สาระ เนื้อแท้ นาฏกรรมคือนาฏกรรม ผืนพิภพไม่ตัดสินให้ค่าความเป็นไปบนเปลือกโลก การกระทำของฉันสลายไปในอากาศ ก้าวถอยออกจากรูปรอยที่ตนขีดสร้าง นิ่งค้าง พึ่งพาผืนดิน สงบชีพจรเร่งลง
สุมาตร ภูลายยาว
 แม่น้ำโขงจากหลังคาโลกสู่ทะแลจีนใต้แม่น้ำโขงได้รับการจัดอันดับว่าเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ ๑๐ ของโลกครอบคลุมพื้นที่ ๖ ประเทศคือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม มีผู้คนมากกว่า ๖๐ ล้านคนได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ ทั้งทำการประมง ทำการเกษตร การขนส่ง และการคมนาคม แม่น้ำโขงตอนบนมีลักษณะลาดชันไหลผ่านช่องเขาที่แคบเป็นแนวยาว แม่น้ำโขงตอนบนได้รับน้ำจากการละหายของหิมะเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่แม่น้ำโขงตอนบนอยู่ในเขตปกครองตนเองของทิเบต และจีนแม่น้ำโขงในส่วนตอนกลางมีลักษณะเป็นแก่ง และมีหน้าผาสูงอยู่ในแม่น้ำและตามริมฝั่ง ระดับน้ำในฤดูน้ำหลากและฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันถึง ๒๐ เมตร แม่น้ำโขงตอนกลางได้รับน้ำจากปริมาณน้ำฝน และแม่น้ำสาขาขนาดใหญ่เป็นหลัก ในส่วนของประเทศไทยนั้น พื้นที่ลุ่มน้ำโขงส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งจัดว่ามีขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำใหญ่เป็นอันดับ ๒ ของประเทศ พื้นที่แม่น้ำโขงตอนกลางครอบคลุม ๓ ประเทศคือ พรมแดนพม่า-ลาว พื้นที่บางส่วนในภาคของลาว และพรมแดนลาว-ไทยแม่น้ำโขงตอนล่างมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง และมีเกาะดอนเป็นจำนวนมาก พื้นที่ที่สำคัญของแม่น้ำโขงตอนล่างคือ สี่พันดอน ทะเลสาปเขมร และปากน้ำเวียดนาม โดยเฉพาะทะเลสาปเขมรนั้นถือว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติที่สำคัญที่สุดในแม่น้ำโขงตอนล่าง พื้นที่แม่น้ำโขงตอนล่างครอบคุลมพื้นที่ของลาวตอนใต้ พรมแดนลาว-กัมพูชา และเวียดนามการพัฒนาแม่น้ำโขงเพื่อตอบสนองด้านพลังงานไฟฟ้า และการเดินเรือพาณิชย์โครงการพัฒนาแม่น้ำโขงเพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานไฟฟ้ามีมาตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยคณะกรรมการแม่น้ำโขงในขณะนั้น ได้นำเสนอแผนพัฒนาแม่น้ำโขง ภายใต้โครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ และการชลประทานบนแม่น้ำโขง ในทศวรรษที่ ๑๙๖๐ โครงการเขื่อนที่ถูกนำเสนอโดยคณะกรรมการแม่น้ำโขง และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายคือโครงการเขื่อนผามองที่มีกำลังผลิตติดตั้ง ๔,๘๐๐ เมกะวัตต์ มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำ ๓,๗๐๐ ตารางกิโลเมตร และต้องอพยพผู้คนที่จะได้รับผลกระทบมากถึง ๒๕๐,๐๐๐ คน แต่แผนการก่อสร้างก็ชะงักงันลง เพราะภูมิภาคอินโดจีนอยู่ในภาวะของสงครามในขณะเดียวกันเมื่อเมื่อภาวะสงครามสิ้นสุดลงโครงการเขื่อนต่างๆ ที่ถูกนำเสนอก็เงียบหายไป แต่ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงก็ได้พัฒนาข้อเสนอการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงใหม่อีกครั้ง ขณะเดียวกันที่คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงได้พัฒนาข้อเสนอการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงครั้งใหม่ แต่ในปี ๒๕๓๖ เขื่อนแห่งแรกบนแม่น้ำโขงที่ชื่อว่า เขื่อนม่านวานก็ได้มีการดำเนินการก่อสร้าง โดยตัวเขื่อนมีความสูง ๑๒๖ เมตร มีกำลังผลิตติดตั้ง ๑,๕๐๐ เมกะวัตต์ เริ่มเปิดใช้งานในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เขื่อนแห่งนี้ตั้งอยู่ในมลฑลยูนานหลังจากจีนได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแห่งแรกบนแม่น้ำโขงสำเร็จ โครงการพัฒนาต่างๆ จากประเทศที่ได้ชื่อว่าแผ่นดินใหญ่ก็ถาโถมลงมาสู่แม่น้ำโขง ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ โครงการระเบิดแก่งและปรับปรุงร่องน้ำเพื่อการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้างจึงเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือจากรัฐบาลของทั้ง ๔ ประเทศคือ จีน พม่า ลาว ไทย และในปี ๒๕๔๕ การระเบิดเกาะ แก่ง บนแม่น้ำในตอนบนจึงเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อการระเบิดแก่งในระยะแรกสิ้นสุดลงชาวบ้านสองฝั่งโขงตั้งแต่เมืองกวนเหลยลงมาจนถึงอำเภอเชียงแสนจึงได้เห็นเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ล่องขึ้น-ลงในแม่น้ำโขงแทบทุกวัน ภายหลังที่เขื่อนแห่งแรกบนแม่น้ำโขงถูกสร้างขึ้นมาสำเร็จ จีนก็ได้ออกแบบและทำการศึกษาการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบนอีกหลายเขื่อน โดยเขื่อนที่สร้างเสร็จแล้วคือเขื่อนต้าเฉาชาน เขื่อนจิงฮง ส่วนเขื่อนที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างและเตรียมการก่อสร้างคือเขื่อนเชี่ยวหวาน เขื่อนกงก่อเฉี่ยว เขื่อนนัวชาตู้ เขื่อนเมซอง เมื่อหลายประเทศได้เห็นการพัฒนาที่ชื่อว่าเขื่อนบนแม่น้ำโขงมีความเป็นไปได้ และมีการทำจนสำเร็จ นักสร้างเขื่อนจากหลายประเทศจึงพากันกรีฑาทัพเข้าสู่สนามรบแห่งการพัฒนานี้ด้วย ภายใต้วาทะกรรมที่ว่า จีนสร้างเขื่อนได้เราก็สร้างได้ และแม่น้ำไหลผ่านไปหาได้ให้ประโยชน์อะไรไม่ เราสร้างเขื่อนจากน้ำที่ไหลเรายังได้ใช้ไฟฟ้า หลายประเทศจึงส่งผ่านความคิดเหล่านี้สู่แม่น้ำโขง และโครงการก่อสร้างเขื่อนบนพื้นที่แม่น้ำโขงตอนกลาง ตอนล่างจึงเกิดขึ้น โดยเขื่อนๆ ต่างที่จะเกิดขึ้นบนแม่น้ำโขงมีรายชื่อดังนี้ เขื่อนปากแบ่ง เขื่อนหลวงพระบาง เขื่อนไซยะบุรี เขื่อนปากลาย เขื่อนสานะคาม เขื่อนปากชม เขื่อนบ้านกุ่ม เขื่อนลาดเสือ เขื่อนดอนสะฮอง เขื่อนซำบอผลกระทบข้ามพรมแดนจากการพัฒนาแม่น้ำโขงด้วยการสร้างเขื่อนและการระเบิดแก่งเพื่อเดินเรือพาณิชย์ในขณะเดียวกันโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นมาก่อน เช่น การสร้างเขื่อนในจีน และการระเบิดแก่งเพื่อการเดินเริอพาณิชย์ได้สร้างผลกระทบมากมาย แต่นักสร้างเขื่อนผู้อุปโลกตัวเองว่าเป็นนักพัฒนาก็หาได้สนใจกับผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ส่งผลต่อชาวบ้านในประเทศท้ายน้ำที่หลากหลายอาชีพ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถสรุปได้ดังนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการไหลของน้ำ น้ำในแม่น้ำโขงเร็วเร็ว และแรงขึ้นกว่าเดิม ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงของการขึ้น-ลงของระดับน้ำ ระดับน้ำมีการขึ้น-ลงไม่เป้นปกติ เช่น ๓ วันขึ้น ๒ วันลง และนอกจากนั้นยังส่งผลเกิดอุทกภัยทั้งที่ปริมาณน้ำฝนมีไม่มากพอ ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อการพังทะลายของตลิ่ง จากการไปลเร็วและแรงของน้ำส่งให้ติล่งริมฝั่งแม่น้ำที่เป้นดินร่วนปนทรายได้เกิดการพังทลายลง นอกจากนั้นประการสำคัญการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของการขึ้นลงของระดับน้ำยังส่งผลให้เกิดการลดลงของพันธุ์ปลา และจำนวนของปลาอีกด้วย  ผลกระทบที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นผลพวงมาจากโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นบนแม่น้ำโขงทั้งสิ้น  แม้ว่าในวันนี้โครงการการสร้างเขื่อนในหลายพื้นที่ยังไม่มีความคืบหน้า แต่เราในฐานะผู้คนที่อาศัยอยู่ในประเทศท้ายน้ำได้แต่หวังว่า โครงการพัฒนาใดๆ ก็ตามที่จะเกิดขึ้นบนแม่น้ำโขง และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนท้ายน้ำ ขอให้ประชาชนผู้ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่า เราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับโครงการพัฒนาที่กำลังจะเกิด และที่สำคัญของให้ผู้เดินทางเข้ามาในนามของนักสร้างเขื่อนโปรดรับรู้ไว้ด้วยว่า ความจริงจากคนท้ายน้ำที่ได้นำเสนอมานั้นเป็นความจริงที่เจ็บปวดของคนผู้ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้มาหลายชั่วอายุคนหากวันใดวันหนึ่งที่แม่น้ำโขงทั้งสายหยุดไหล ความทุกข์ครั้งใหญ่จะอยู่กับผู้ใดถ้าไม่ใช่ผู้คนในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงแห่งนี้... 
ชาน่า
กลางเดือนสิงหาคม ชาน่าเดินทางถึงเมืองไทย เป็นการพักร้อนในช่วงฤดูฝนพรำ  น้ำท่วม  เศรษฐกิจยังทรุด การเมืองแรง ๆ เข้ามาแทรก  แต่ถึงกระนั้นก็ยังสวนกระแส ไม่ยอมแพ้ต่อสถานการณ์  ตั้งหน้าก้าวต่อไป จึงได้ฟอร์มกับเพื่อน ๆ ที่กรุงเทพฯ ว่าเราจะร่วมกันจัดทำหนังสือเล่มหนึ่ง หลังจากทำธุระกับต้นสังกัดงาน "เดินแบก" ต่างแดนเสร็จ  จึงเร่งรีบทำหนังสือเล่มนี้  "ใช่ว่าจะดอก...ท้อ" ให้จงได้  โดยจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่  ข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิง ให้หลายกลุ่มโดยทั่วถึง   อีกอย่างพูดง่าย ๆ คือเป็นความต้องการส่วนตัว เป็นอีกหนึ่งโครงการทำดีที่เราพอทำได้  และสุดแสนดีใจที่ตรวจโรคภัยไม่มี คราวนี้ไม่รีรอ ทำตามกุศลกรรมและเจตนาที่ตั้งไว้  
เมธัส บัวชุม
พวกกบโง่....เห็นนกกระยาง....เป็นนางฟ้า...สมน้ำหน้า....หลงบูชา....ดุจนางแถน...นางประแดะ.....แสร้งเมตตา...อย่างแกนๆฝูงกบแสน....ดีใจ....ได้นายดี......๚ะ๛                                                ๏..ตรังนิสิงเห...๚ะ๛( http://www.prachatai.com/webboard/wbtopic.php?id=733477 )========================================= ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มพันธมิตรฯ มีส่วนอย่างสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมในการก่อปัญหามากมายหลากหลายด้านขึ้นมารุมเร้าสังคมไทย  ว่าที่จริง ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มาแล้วด้วยซ้ำที่พันธมิตรฯ จุดชนวนปัญหาขึ้นมาจนบานปลายโดยไม่มีที่ท่าว่าจะจบสิ้นลงง่าย ๆ ในอนาคตอันใกล้ ลัทธิพันธมิตร ฯ เรียนรู้และเก่งกาจในการสร้างปัญหาหรือทำให้เป็นปัญหาขึ้นแต่ไม่มีปัญญาแก้ได้สักเรื่องเดียว
มูน
นอกเหนือจากการเดินทางระหว่างจังหวัด สถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ฉันจำเป็นต้องใช้เวลาไปนั่งทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงเจ้าสี่ขา เป็นบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ริมถนนสายใหญ่ ด้านหนึ่งเป็นทางรถไฟ ไปอีกไม่ไกลคือท่าอากาศยานดอนเมือง รถบนถนนแล่นผ่านไปมาด้วยความเร็วสูง รถไฟฉึกฉักผ่านวันละหลายขบวน สลับด้วยเครื่องบินนานาชาติที่ขึ้นลงวันละหลายเวลา ชีวิตที่นั่นส่วนหนึ่งจึงอื้ออึงด้วยเสียงรถยนต์ รถไฟ และเครื่องบิน บางครั้งผลัดกันมา บางครั้งก็มาพร้อมๆ กัน หากไม่เอาเรื่องหูอื้อมาเป็นประเด็น ข้อดีที่ฉันหาได้คือ มันทำให้เราใส่ใจฟังคนอื่นพูดมากขึ้น (ไม่อย่างนั้นจะไม่ได้ยิน) และรู้จักที่จะเว้นวรรคคำพูดให้ถูกกาลเทศะ เพื่อไม่ให้เสียแรง(พูด) ไปเปล่าๆถึงจะมีโทลด์เวย์เกะกะสายตา ฉันยังมีโอกาสดูละครเมฆบนฟ้า วันดีคืนดีจะมีฝูงแมลงปอบินขึ้นไปอวดปีกใสๆ ถึงข้างหน้าต่างตึกริมถนนใหญ่มีคลองเล็กๆ ที่ตื้นเขินเพราะใบไม้ใบหญ้าและขยะอันประกอบไปด้วยถุงพลาสติก ขวด ห่อขนม และกล่องโฟม ถัดเข้ามาเป็นที่ลุ่มรกร้าง มีแอ่งน้ำขังกับดงหญ้าคาสูงท่วมเอว พุ่มกระถินขึ้นแซมกกธูปและกอผักบุ้งที่ใบใหญ่จนน่าตกใจ มีเถาตำลึงเลื้อยอยู่เป็นหย่อมๆ มองเห็นดอกสีขาวกับลูกสุกสีแดงอยู่ตรงนั้นตรงนี้ ในดงหญ้าคามีบ้านพักของคนงานก่อสร้างปลูกติดกันอยู่ประมาณ ๓-๔ หลังบ้านเหล่านั้นสร้างขึ้นง่ายๆ ด้วยโครงไม้ยูคา เสาบางท่อนปักอยู่ในแอ่งน้ำ หลังคามุงด้วยสังกะสีและแผ่นป้ายหาเสียง (ผลประโยชน์ที่ประชาชนหยิบฉวยได้ในฤดูเลือกตั้ง)บางวันฉันเห็นคนงานหญิงเดินเก็บผักบุ้งกับยอดกระถิน มื้อเย็นของเขาคงมีน้ำพริกหมาเร่ร่อนตัวหนึ่งเดินสะเปะสะปะมาอาศัยร่มเงาของบ้านคนงานก่อสร้าง มันเป็นหมาที่น่าจะผ่านการเป็นแม่มาหลายครั้งแล้ว ดูจากทรวดทรงที่ผอมแห้ง นมเหี่ยวยานยอบแยบแกว่งไปมาเวลาวิ่ง บ้านกรรมกรไม่ได้มีอาหารมากพอให้มันอิ่มท้องทุกครั้งที่หิว แต่มีร่มเงาให้มันหลบแดดฝน ไม่มีเสียงไล่หรือการทำร้ายทุบตี มันจึงหยุดการเร่ร่อนไว้ที่เพิงสังกะสีริมถนนใหญ่ และถ้ามันคิดเป็น (ซึ่งฉันเชื่อว่าเป็น) มันคงดีใจที่จะได้เลิกเร่ร่อนเสียที แต่มีบางอย่างที่มันยังไม่รู้คนทำงานก่อสร้างไม่มีหลักแหล่งถาวร จบงานเก่าก็รื้อบ้านย้ายไปงานใหม่ ทำงานตรงไหน ก็สร้างบ้านตรงนั้น ระยะเวลาของการเป็นเจ้าของบ้าน นานเท่าที่งานเสร็จชีวิตกรรมกร หลายช่วงจึงเป็นชีวิตเร่ร่อน
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ผู้เขียน : ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ผู้แปล : เนื่องน้อย ศรัทธา ประเภท : วรรณกรรมเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : แพรวเยาวชน ปีกลายที่ผ่านมา มีหนังสือขายดีติดอันดับเล่มหนึ่งที่สร้างกระแสให้เกิดการเขียนหนังสืออธิบาย เพื่อตอบสนองความสนใจผู้อ่านต่อเนื่องอีกหลายเล่ม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์เอย ด้านมายาจิตเอย ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องความคิดเป็นจริงเป็นจัง หนังสือเล่มดังกล่าวนั่นคงไม่เกินเลยความคาดหมาย มันคือ เดอะซีเคร็ต ใครเคยอ่านบ้าง? คนที่ไม่ชอบหนังสือแนวแนะนำวิธีการ หรือที่เรียกติดปากว่า ฮาวทู อาจขยับความชิงชังออกห่างไปนิด แต่ก็ไม่มากหรอก เพราะอย่างไรมันก็คือ ฮาวทู วันยังค่ำ ต่อให้ผู้แปลเป็นดั่งดาวกระจ่างฟ้า เนื้อนัยก็ไม่อาจเทียบรัศมี ส่วนใคร ๆ ที่อ่านวรรณกรรมจะตอบได้ทันทีว่า เดอะซีเคร็ต เป็นหนังสือสุดเชย และไม่ใช่ของเก่า ประเภทหมักบ่มมาสองชั่วอายุคน แล้วเพิ่งถูกค้นพบจนฮือฮากันไม่เลิก ก็เพราะในวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง เจ้าหญิงน้อย (A Little Princess) ของ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เน็ตต์ (Frances Hodgson Burnett) ที่เนื่องน้อย ศรัทธา แปลเอาไว้ มีเรื่องราวเดียวกับ หรือคล้ายคลึงกับ เดอะซีเคร็ตเป็นแก่นเรื่อง หนำซ้ำ เจ้าหญิงน้อยเรื่องนี้ยังอ่านได้อรรถรส น่ารื่นรมย์กว่ากันเยอะ ใครที่เคยอ่านเดอะซีเคร็ตจะรู้สึกเหมือนถูกครอบงำอยู่ตลอดทั้งแต่อักษรตัวแรก
ประสาท มีแต้ม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2551 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวว่า "พลังงานเผยไทยผลิตน้ำมันดิบสูงกว่าบรูไน คุยทดแทนนำเข้าปีนี้มหาศาล" (ไทยรัฐ 2 เมษายน 2551)    สาเหตุที่ผู้ให้ข่าวซึ่งก็คือข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานได้นำประเทศไทยไปเทียบกับประเทศบรูไน ก็น่าจะเป็นเพราะว่าคนไทยเราทราบกันดีว่าประเทศบรูไนเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายหนึ่งของภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าก็น่าจะทำให้คนไทยเราหลงดีใจได้บ้าง  นาน ๆ คนไทยเราจะได้มีข่าวที่ทำให้ดีใจสักครั้ง   หลังจากอ่านข่าวนี้แล้ว ผมก็ได้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตก็พบว่า ตัวเลขผลผลิตของไทยสูงกว่าของบรูไนเพียงเล็กน้อย คือยอดผลิตของทั้งสองประเทศประมาณกว่าสองแสนบาร์เรลต่อวันเพียงเล็กน้อย  แต่จำนวนประชากรของบรูไนมีไม่ถึง 4 แสนคน ในขณะที่จำนวนประชากรไทยเรามีถึง 64 ล้านคนหรือจำนวนประชากรของไทยมากกว่าเกิน 160 เท่าตัวของประเทศบรูไนน้ำมันที่บรูไนผลิตได้ส่วนใหญ่ส่งไปขายต่างประเทศ นอกจากนี้บรูไนยังส่งก๊าซธรรมชาติเหลวได้มากเป็นอันดับ 9 ของโลกด้วย รายได้จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทำให้สวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพของชาวบรูไนดีที่สุดในเอเชีย มีการคาดกันว่าแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำรองในบรูไนจะใช้(รวมทั้งขายด้วย)ได้นานถึง 25 และ 40 ปี ตามลำดับ
โอ ไม้จัตวา
แนะนำเพลงสัปดาห์นี้ชื่อเพลง Stair way to heaven เป็นเพลง soft rock รุ่นเก่าแก่ ของ Led Zeppelin ฟังมายี่สิบกว่าปี เป็นเพลงเล่าเรื่องหญิงสาวคนหนึ่งผู้คิดว่าทุกอย่างสวยงามเปล่งประกาย เธอต้องการซื้อบันไดไปสู่สวรรค์  ในชีวิตของเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่อาจคาดเดา บางครั้งคิดว่าใช่กับไม่ บ่อยครั้งที่ฉันคิดว่าเรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร เมื่อคนเราเกิดมาแล้วก็ตายไป เราสร้างหนี้สินในรูปแบบต่างๆ เราหาพันธนาการมาร้อยรัด เพื่อให้วันเวลาในชีวิตไม่ว่างเปล่าจนเกินไปอย่างนั้นหรือ
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น ในครั้งนี้ฉันอยากจะเขียนถึงงานใหญ่ของชาวมอญในเมืองไทยงานหนึ่งที่ฉันได้ไปร่วม นั่นคือ พิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมานี้เอง งานนี้เราจัดกัน ๑ วัน แต่การเตรียมการนั้นใช้เวลาหลายเดือน เนื่องจากเราทำตามประเพณีมอญโบราณซึ่งมีขั้นตอนเยอะ และเราก็ต้องใช้ปัจจัยเยอะด้วยเช่นกัน ขบวนแห่ฮะอุ๊บมอญ (สังฆทาน) จากวัดชนะสงครามไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
คนไร้ที่ดิน
นนท์ นรัญกร   ประเทศไทยมีพื้นที่ป่า 147 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ซึ่งได้แก่ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ พื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 A และ ป่าสงวนแห่งชาติโซน C ประมาณ 80 ล้านไร่ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การบริหารจัดการพื้นที่ป่าของของกรมอุทยานแห่งชาติ พันธุ์พืชและสัตว์ป่า มีบทเรียนหลายประการ ที่ไม่ได้ถูกนำมาถกเถียงในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานให้ดีขึ้น ในขณะที่กำลังจะสร้างปัญหาใหม่ตามมา ดังที่เป็นข่าวเรื่องความพยายามใน การเซ้งพื้นที่อุทยานฯ ให้กับภาคเอกชนเช่าทำธุรกิจ บทเรียนประการแรก กฎหมายอุทยานแห่งชาติ ได้ให้อำนาจและดุลพินิจกับคณะกรรมการอุทยานฯ ในการประกาศเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ ในลักษณะของการรวมศูนย์สู่ส่วนกลาง ในขณะที่ประชาชนภาคส่วนต่างๆ ในระดับท้องถิ่น หมายรวมถึง นักวิชาการในพื้นที่ ข้าราชการในท้องถิ่น ภาคเอกชน ชุมชนและประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง ไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการประกาศเขตพื้นที่อุทยานฯ ซึ่งตั้งอยู่ในท้องถิ่นได้แต่อย่างใด
Hit & Run
  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย... ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ   แต่ที่แน่ๆ ข่าวสารที่ได้รับในช่วงเวลาที่ผ่านมาบอกเราว่า ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในวันนี้คงไม่ใช่สิ่งที่จะแก้กันได้ง่ายดาย โดยคนบางคน หรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม และอาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูความคิดประชาธิปไตยกันอีกนานหลายสิบปี ............................................... ย้อนถอยหลังไป 11 วันก่อนหน้านี้ ที่เชียงใหม่... วันแล้ววันเล่า กิจกรรมที่ไปทำรวมกับเพื่อนหลากหลายเชื้อชาติในลุ่มน้ำโขงยังคงดำเนินไปได้อย่างปกติ ท่ามกลางความกระวนกระวายใจของใครหลายคนต่อสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้น ด้วยเป้าประสงค์คือการมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนอาเซียนในงาน "มหกรรมประชาชนอาเซียน (AFP)" และการจัดทำข้อเสนอต่อ "การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือ ASEAN Summit" โดยทั้งสองงานถือเป็นงานใหญ่ระดับชาติที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย ช่วงเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเองถือเป็นงานที่มีความสำคัญต่อรัฐบาลไทย เพราะถือเป็นหน้าเป็นตาของรัฐบาลที่ต้องแสดงศักยภาพของไทยต่อประเทศที่เป็นประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ  อาจเป็นด้วยตารางกิจกรรมที่อัดแน่นด้วยเนื้อหาที่ถูกกำหนดไว้แล้ว และสถานที่พักพิงไม่ได้สะดวกเอาเสียเลยที่จะรับข่าวสารผ่านสื่อมวลชนทั้งกระแสหลักกระแสรองต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสถานการณ์ข่าวสารเองก็เรียกได้ว่าสับสนอลหม่านพอสมควร การพูดคุยกันถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่รัฐสภาหรือเรื่องราวความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบฯ จึงจำกัดอยู่ในวงเล็กๆ ของการพูคุยแสดงความเห็นและบอกเล่าความคืบหน้าที่ได้รับรู้มา  ในช่วงหนึ่งของการพูดคุย น้องสาววัยมัธยมจากภาคกลางคนหนึ่งบอกเล่าว่าแม่ของเธอได้เข้าไปร่วมในการชุมนุมของพันธมิตรมานานหลายเดือน แต่หลังจากที่เกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ตุลาที่ผ่านมา แม่ของเธอก็ได้เดินทางกลับบ้านแล้วเพราะกลัวเกิดความรุนแรง แม้เธอจะบอกเล่าด้วยท่าทีที่เรียบเฉย แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าข้างในจิตใจคงหวาดหวั่นไม่น้อยหากความสูญเสียเป็นสิ่งที่เกิดกับครอบครัวเธอเอง ส่วนพี่ชายจากเมืองใต้บอกว่า จากที่ได้ติดเป็นระยะกับเพื่อนที่อยู่ในการชุมนุม ภายหลังการปะทะและมีคนบาดเจ็บพี่น้องภาคใต้ได้รวบรวมคนเพื่อเข้าร่วมการชุมนุมเพราะทนไม่ได้ที่รัฐบาลใช้ความรุนแรงกับประชาชนจนทำให้เกิดความสูญเสียนับหลายร้อยราย แต่ข้อมูลที่ได้รับก็ไม่ได้บ่งบอกถึงข้อสรุปหรือจุดจบของความวุ่นวายใดๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อได้พูดคุยกับเพื่อนชาวเวียดนามที่มาร่วมกิจกรรมด้วยกัน เธอเล่าว่าทางครอบครัวของเธอที่เวียดนามได้โทรศัพท์มาเร่งเร้าให้รีบเดินทางกลับเนื่องจากกลัวเหตุการณ์ความวุ่นวายในประเทศจะบายปลาย แต่ที่เชียงใหม่การดำเนินชีวิตของชาวบ้านทั่วไปแทบไม่ได้รับผลกระทบจากความวุ่นวายที่กำลังดำเนินอยู่ในเมืองหลวงเลย แม้จะรับรู้ข่าวความรุนแรงมีการใช้แก๊สน้ำตา มีการเสียชีวิต และคิดว่าอาจมีการใช้อาวุธ แต่การอยู่ที่เชียงใหม่กับกับระยะทางที่ห่างจากกรุงเทพฯ ราว 750 กิโลเมตรก็ทำให้เธอรู้สึกปลอดภัยดีอยู่ .............................................. จากการพูดคุยและสังเกตผู้คนทั่วไปในเชียงใหม่ที่ได้รับรู้ข่าวสารจากทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ต่างพากันสะเทือนใจและตั้งคำถามต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถึงความรู้สึกร่วมในการเป็นคนไทยด้วยกัน ถึงผลกระทบต่อประเทศชาติ เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวที่เกี่ยวพันไปถึงปากท้อง แต่สิ่งที่พวกเขาทำได้หรือได้ทำ คือการติดตามสถานการณ์ต่อๆ ไป ซึ่งคงเป็นความคิดความรู้สึกที่ไม่ได้แตกต่างกันกับผู้คนในภาคในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ  และสิ่งที่สัมผัสได้ คือ ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในเมืองหลวง เราในฐานะประชาชนของประเทศก็ยังคงต้องดิ้นร้นเพื่อการดำเนินชีวิตท่ามกลางการเมืองที่ถูกโหมกระหน่ำด้วยปัญหา เศรษฐกิจที่ทะยานลงตามกระแสโลก สภาพสังคมที่เขาว่ากันว่าอยู่ในภาวะวิกฤติของจริยธรรมและศีลธรรมอันดี และข่าวที่รอบด้านหลากหลายจนชักเริ่มสับสนกับการเลือกบริโภคกันต่อไป  อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เชื่อว่าใครหลายคนคงรู้สึกเศร้าโศกไปกับการสูญเสีย สะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องการให้พบทางออกของปัญหาในเร็ววัน ซึ่งจะยังขอเชื่ออีกด้วยว่าทุกคนควรสามารถออกมาแสดงความคิดเห็นกับการกระทำของฝ่ายต่างๆ ได้ รวมทั้งรับรู้ข้อมูลข่าวสารตามสิทธิเสรีภาพอันพึงของการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย  ...................................... ห้วงเวลาที่ผ่านมา... ด้วยความไม่รู้ และอยากจะรู้ว่าถึงเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นแข่งกับเวลาในฐานะของคนที่ไม่ได้อยู่ร่วมแต่อยากมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ทำให้เข้าใจได้ว่าชีวิตเราผูกพันกับการสื่อสาร และข่าวสาร ไม่ว่าจะในวงแคบหรือวงกว้างกันมากพอดู แต่เมื่อพูดเกี่ยวกับความสำคัญของ "ข่าว" หากใครได้ผ่านการเรียนจิตวิทยา ที่ให้ความหมายว่า "ข่าว" คือ "เรื่องราวในอดีต ที่เมื่อคุณอ่านข่าวคุณกำลังอ่านเรื่องราวในอดีต และเข้าใจในสิ่งที่คุณแก้ไขไม่ได้" จึงมีการตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการบริโภคข่าวในการการดำเนินชีวิต ซึ่งนั้นย่อมไม่ได้หมายความว่าข่าวหรือเรื่องราวที่ผ่านมาแล้วนั้น ไม่มีความสำคัญต่อผู้คนที่จะต้องรับรู้มัน แต่ในแต่ละวันเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกนั้นมีอยู่มากมาย นอกจากนี้ความเป็นไปของสังคมโลกที่เราพยายามก้าวเดินตาม มันได้นำไปสู่การอธิบายปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และมันก็เป็นสิ่งที่เราต้องรู้เท่าทันซึ่งไม่ใช่เฉพาะข่าวสารเท่านั้น แต่มันยังหมายรวมถึงกระบวนวิธีการได้มาและการนำเสนอข่าวสารเหล่านั้นด้วย มันจึงไม่แปลกเลยทำให้รู้สึกคล้อยตามว่า คนเราไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นไปเสียทุกอย่าง อีกทั้งยังจะต้องยุ่งยากในการชั่งตวงวัดเพื่อเสพข่าวสารที่ถูกต้องครบถ้วน รอบด้าน หากมันทำให้สภาพจิตใจย่ำแย่ พักบ้างก็ได้ หยุดคิดปิดหูปิดตาบ้างก็ได้ ถ้าปัญหาวุ่นวายนั้นเราไม่ได้เป็นทั้งผู้ก่อและไม่สามารถเป็นผู้แก้ สักประเดี๋ยวสถานการณ์ก็จะคลี่คลายเหมือนที่มันเคยเป็นมา  แต่สิ่งสำคัญที่หลงลืมไม่ได้ คือ ทุกวันนี้ปัญหาในสังคมนี้ ประเทศนี้ โลกนี้มันไม่ได้มีอยู่เฉพาะที่รัฐสภาหรือที่ทำเนียบ ปัญหาคนยากคนจน การป่วยไข้ ผลกระทบการจากแย่งชิงทรัพยากร การเบียดขับให้กลายเป็นอื่น ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นปัญหาพื้นที่ฐานของสังคมที่พัวพันกันอีรุงตุงนัง และยังรอการแก้ไขอยู่อีกมากมาย ซึ่งการปิดหูปิดตา มันก็เป็นเพียงการหลีกหนีปัญหาที่วุ่นวาย และไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมที่เรากำลังตกอยู่ในบ่วงเหล่านี้ไปได้ ........................................... สำหรับฉันคนที่อยู่ไกลทั้งระยะทาง และถอยออกห่างทางความรู้สึกในการมีส่วนร่วมกับปัญหาทางการเมืองที่คาราคาซังยืดเยื้อจนน่าเวียนหัว คงต้องขอบคุณเครื่องมือสื่อสาร และเทคโนโลยีการสื่อสารที่ช่วยส่งผ่านข่าวมาไปให้รับรู้ถึงถิ่นห่างไกลและนี่คงเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีในโลกทุนนิยมที่แม้ใครจะว่ามันฟอนเฟะ แต่อย่างนี้น้อยมันก็ทำให้เราได้สามารถร่วมแลกเปลี่ยน พูดคุย วิพากษ์วิจารณ์ต่อสถานการณ์ความเป็นไปของสังคมได้แม้อยู่ในถิ่นที่ห่างไกล จนแทบเหมือนได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ แม้จะไม่รู้เลยว่าความจริงที่ได้รับเป็นเพียงกี่เศษเสียวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง คิดแล้วก็ให้ย้อนไปถึงในห้องเรียนวิชาการสื่อสารมวลชนเท่าที่จำได้พอเลือนๆ ที่อาจารย์พูดไว้เรื่องเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวว่า ต้องทันเหตุการณ์ เร้าอารมณ์ ใกล้ชิดสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม รอบด้าน และสิ่งที่เราได้รับรู้ผ่านสื่อคือสารที่ได้รับการคัดสรรค์แล้วเพื่อการนำเสนอเพื่อให้คนรู้เท่าทันเหตุการณ์  แต่เมื่อเสพมันแล้วก็ผ่านเลยไป ในขณะที่สภาพความเป็นจริงของปัญหาที่ต้องแสวงหาแนวทางแก้ไขคือความซับซ้อนที่ได้ถูกซ่อนเอาไว้  ทำให้เกิดคำพูดที่ว่าสื่อมอมเมาประชาชน แต่หากมองอีกด้านหนึ่งการนำเสนอข่าวของสื่อในปัจจุบันมีทางเลือกที่มากขึ้น และการนำเสนอแง่มุมที่หลากหลาย ซึ่งในส่วนของการรับข่าวสารจากสื่อในปัจจุบันผู้รับข่าวสารเองแม้ไม่ใช้คนถูกกำหนดไว้ให้เป็นผู้แก้ปัญหา แต่เป็นผู้กระตุ้นเตือนผู้มีหน้าที่รับผิดชอบให้ต้องเร่งแก้ปัญหาที่มีอยู่ในสังคม ดังนั้นคงไม่แปลกหากจะวาดฝันว่าในฐานะผู้บริโภคข่าวสารที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราน่าจะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อสังคมจากการรับรู้ข่าวสารที่นอกจากการวิเคราะห์เลือกรับข้อมูลแล้ว ยังสำคัญในกระบวนการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสังคม ไม่ใช่เพียงแต่ตกเป็นเหยื่อการมอมเมาจากสื่อ และข่าวสารที่มีอยู่มากมายในปัจจุบันอย่างที่ว่ากันเท่านั้น 

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม