Skip to main content

 

 ลุดวิก ฟาน เบโธเฟนมีซิมโฟนีทั้งหมด 9 บท ทั้งนี้ยังไม่นับหมายเลข 10 ที่ยังถกเถียงกันว่าเป็นของเขาจริงหรือไม่  แต่ละบทมีความโด่งดังและมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง จนมีคนยกย่องว่าเหนือชั้นกว่าซิมโฟนีของคีตกวีคนอื่นแม้แต่โมซาร์ตซึ่งถูกผลิตออกมาเป็นจำนวนถึง 41 บท  ที่สำคัญซิมโฟนีของเบโธเฟนดังเช่นหมายเลข 3 นั้นได้ชื่อว่าเป็นบันไดเปลี่ยนผ่านดนตรีของโลกจากยุคคลาสสิกไปสู่ยุคโรแมนติก  อย่างไรก็ดี ซิมโฟนีซึ่งมีความเด่นไม่เหมือนใครแม้ว่าจะได้รับการยกย่องไม่เท่ากับหมายเลข 5 หรือ 7 คือหมายเลข 6 ในฐานะ Program Music หรือดนตรีที่ต้องการสื่อถึงอะไรบ้างอย่างนอกเหนือจากความไพเราะของเพลง อันเป็นที่นิยมสำหรับคตีกวีในยุคแห่งโรแมนติกดังเช่น Symphonie fantastique ของเฮกเตอร์ แบริออส์ เพลง  Don Quixote ของริชาร์ด สเตราส์หรือซิมโฟนีหลายบทของกุสตาฟ มาห์เลอร์ กระนั้นในยุคก่อนหน้านี้ดังยุคบารอคก็มีอยู่เช่นเพลงของอันโตนีโอ วีวัลดี คีตกวียุคบาร็อคที่บรรยายถึงความงามของยุโรปผ่านสี่ฤดูกาล นั่นคือ Four Seasons

      ซิมฟีนีหมายเลข 6 Pastoral in F Major (Op. 68)  มีลักษณะสำคัญคือการบรรยายความงดงามของชนบทและธรรมชาติดังคำว่า Pastoral หมายถึงทุ่งหญ้าหรือชนบท  บทกวีแห่งท้องทุ่งนี้ยังตั้งอยู่บนการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์อันทำให้คนฟังแม้แต่ชาวบ้านธรรมดายังรู้สึกมีส่วนร่วมด้วยอย่างแนบแน่นเพราะสามารถประสบพบได้ในชีวิตประจำวันดังที่จะได้กล่าวต่อไป  ผู้ประพันธ์คือเบโธเฟนนั้นเป็นที่รู้กันว่ารักธรรมชาติ  เขาชอบเดินทางจากนครเวียนนาที่เขาพำนักอยู่เกือบตลอดชีวิตไปพักผ่อนที่ชนบท และเดินเล่นไปเรื่อยๆ จนเกิดความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับเพลงที่กำลังแต่ง ว่ากันว่าครั้งหนึ่งเบโธเฟนเดินลัดทุ่งนาและร้องเพลงเสียงแหลมเล็กจนอีกาตกใจบินหนีไป

       เบโธเฟนแต่งซิมโฟนีหมายเลข 6 ไปพร้อมๆ กับหมายเลข 5 อันลือชื่อซึ่งทุกคนจะค้นหูกันดีกับกระบวนแรก แต่เมื่อเขานำหมายเลข 6  มาแสดงในกรุงเวียนนาในปี 1808 กลับได้รับการต้อนรับอย่างเย็นชาจากผู้ชมเพราะไม่ชอบสไตล์เพลงที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนเช่นนี้ อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา บทเพลงนี้กลายเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก และถูกใช้ในโฆษณาโทรทัศน์ต่างๆ หรือภาพยนตร์เรื่องต่างๆ  ในหลายสิบปีที่ผ่านมา ตัวอย่างที่โดดเด่นได้แก่เรื่อง Fantasia (1940) ของค่ายภาพยนตร์วอลต์ ดิสนีย์

      ซิมโฟนีหมายเลย 6 มีทั้งสิ้น 5 กระบวน (Movement) ซึ่งแตกต่างจากซิมโฟนี ทั่วไปที่จะมีเพียง  4 กระบวน มีความยาวทั้งสิ้น 40 นาที แต่ละกระบวนมีประโยคบรรยายประกอบอันได้ใจความดังต่อไปนี้

       1.Allegro Ma Non troppo

       ความปิติฉับพลันต่อการได้มาเยือนท้องทุ่ง (Awakening of joyous feelings upon arrival in the country) เพลงๆ นี้จะเริ่มต้นด้วยจังหวะเร็วแสดงให้เห็นถึงความสุขของ คีตกวีที่ได้มาเยือนชนบท ได้แลเห็นทุ่งนาสีทองอันกว้างใหญ่พร้อมกับเนินเขาสีเขียวชะอุ่มอยู่ลับๆ พร้อมเมฆสีขาวปุยเป็นริ้วๆ อยู่บนท้องฟ้าที่แสงแดดสาดส่งลงมา

      2. Andante molto mosso

       ภาพริมธาร (Scene by Brook) เป็นจังหวะช้าๆ เนิบๆ ที่งดงาม ทำให้ผู้ฟังนึกถึงความงดงามของธรรมชาติข้างแม่น้ำสายเล็ก ๆ มีแสงแดดส่องทะลุกิ่งไม้ผ่านมากระทบกับพื้นน้ำเป็นประกาย ปลาน้อยใหญ่ว่ายวนไปมา

       3. Allegro attacca

      การเต้นรำที่แสนสนุกสนานของชาวนา (Happy gathering of country folk) เป็นจังหวะที่เร็วแสดงถึงชีวิตชาวนาเมื่อยามว่างจากการทำนาแล้วจึงมาร้องรำทำเพลงอย่างร่าเริงจนหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง

        4. Allegro

        ฟ้าผ่าและพายุ  (Thunder and Storm) ทันใดนั้นกลุ่มชาวนาก็แตกพลัดกระจัดกระจายเพราะพายุและฝนที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันบนท้องฟ้าที่มืดดำ กระบวนนี้บรรยายถึงความหวาดกลัวของผู้แต่งในฐานะมนุษย์ตัวกระจ้อยร่อยที่มีต่อความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ เพลงมีจังหวะเร็วและ รุนแรง ประดุจดังพายุไปพร้อมๆ กับเสียงกลองที่กระหน่ำเหมือนเสียงฟ้าผ่า

       5.Allegretto

      บทเพลงอันแสนยินดีและความกตัญญต่อน้ำพระทัยของพระเจ้าของคนเลี้ยงแกะหลังพายุได้พ้นผ่าน (Shepherd's song; cheerful and thankful feelings after the storm) เพลงกลับมาเร็วในระดับกลาง มีทำนองที่แจ่มใส อันแสดงให้เห็นว่าพายุได้พัดผ่านไปแล้ว แสงแดด และท้องฟ้าสีครามกลับมาอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับเสียงเจื้อยแจ้วของนกบนต้นไม้ ประชันกับเสียงฮอร์นอันร่าเริงของคนเลี้ยงแกะเคียงข้างฝูงแกะที่ติดอยู่ในซอกเขายามพบกับพายุ

       เบโธเฟนเคยคิดจะฆ่าตัวตาย เพราะความทุกข์ทรมานจากอาการหูหนวกที่กำเริบหนัก แต่ไม่สำเร็จ ใครหลายคนมองว่าเพราะความกลัวตาย แต่ก็มีคนอีกจำนวนมากเชื่อว่าเพราะความรักของเขาที่มีต่อเสียงเพลงตามคำสารภาพของเขาใน Heiligenstadt testament นอกจากนี้สุนทรียทัศน์ของโลกเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เบโธเฟนมีกำลังใจต่อสู้กับอุปสรรคทั้งปวง  การท่องเที่ยวไปในชนบทได้ฉลภาพของทุ่งนาซึ่งผมคิดว่าเป็นงานศิลปะที่งดงามที่สุดชนิดหนึ่งของโลกได้ทำให้เบเฟนได้รู้ว่าสารัตถะของชีวิตแท้ที่จริงไม่ใช่วัตถุของมีค่าหรือชื่อเสียงเลย หากแต่เป็นความงดงามของธรรมชาติที่สะท้อนภาพเข้ามาสถิตในหัวใจของเขา

การเขียนเพลงบทนี้ท่ามกลางความเงียบงันจากหูซึ่งก่อปัญหาหนักขึ้นช่างมีความยิ่งใหญ่ไม่ต่างอะไรจากการเข้าฌาณจนเกิดภาวะยั่งรู้ต่อธรรมชาติของนักบวชหรือศาสดาในอดีตทั้งหลาย เพียงแต่เบโธเฟนได้กลั่นกรองมาเป็นบทเพลงอันแสนไพเราะเท่านั้นเอง

 

 

                 

 

                                 ภาพจาก http://cps-static.rovicorp.com

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    ฟังเพลงของเขามามากต่อมากแล้วเรามาทายกันดีกว่าว่าหน้าตาของเขาน่าจะเป็นอย่างไร สูงผอม บอบบาง ขี้โรค อารมณ์อ่อนไหวง่ายและหน้าตาเต็มไปด้วยความทุกข์อยู่ไม่คลาย ?  และเมื่อเห็นภาพของโชแปงซึ่งเป็นภาพถ่ายของเขาเพียงภาพเดียว (ไม่นับภาพวาดอีกหลายๆ ภาพ และภาพยนตร์ที่อิงกับชีวิตของเขา) ก็ค
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้หรือไม่กับพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกของอังกฤษเมื่อปี 2012 ที่มีภาพยนตร์สั้น ซึ่งสร้างความประหลาดใจและความประทับใจให้กับคนดูทั่วโลกอย่างมาก เมื่อเจมส์ บอนด์ (แสดงโดย ดาเนียล เครก) ได้เดินทางไปถวายการอารักขาให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (แสดงโดยพระองค์จริง) ที่พระราชวังบักกิงแฮมก่อนจะเสด็จโด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
       คนไทยมักจะรู้จักอุปรากร Madame Butterfly  หรือ คุณนายผีเสื้อ  เป็นอย่างดีผ่านบทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้าของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ทรงดัดแปลงหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากอุปรากรเรื่องนี้ซึ่งแสดงถึงโศกนาฏกรรมของความรักระหว่างคน 2 เชื้อชาติคือ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
       หากเข้าใจเปรียบเทียบ Psycho นั้นเปรียบดังดาวซึ่งจรัสแสงที่สุดเท่าที่ฮอลลีวู้ดจะมีไว้ประดับท้องฟ้าแห่งวงการภาพยนตร์โลกประเภทตื่นเต้นสยองขวัญ แน่นอนว่าผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ซึ่งทำให้คนดูเหงื่อทะลักเกือบทั้งเรื่องทั้งที่มีเครื่องปรับอากาศย่อมไม่ใช่ใครอื่นนอกจากราชาแห่งภาพยน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ตอนที่ 1    
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   บทความนี้ขออุทิศให้ภรรยาของอ้ายจรัลซึ่งครั้งหนึ่งผู้เขียนบทความนี้มีโอกาสได้รู้จัก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ถือได้ว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของวงการดนตรีคลาสสิก เขาเป็นผู้บุกเบิกดนตรียุคบาร็อค (Baroque) ซึ่งเป็นดนตรีที่เรียบง่าย ฟังสบายๆ ไม่ดุเดือดเหมือนกับแนวโรแมนติกที่บุกเบิกโดยเบโธเฟนในหลายสิบปีให้หลัง  ด้วยดนตรีของบ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
     เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ สังคมไทยเกิดคำฮิตกับเพศชายคือคำว่าเมโทรเซ็กซัล (Metrosexual) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเมโทร กระนั้นก็ทำให้คนเข้าใจไปเป็นคำ ๆ เดียวหรือใกล้เคียงกับ  คำว่า Homosexual หรือ พวกรักร่วมเพศ จึงกลายเป็นมองว่าคนพวกนี้เป็นเกย์ทั้งนั้น  ตามความจริ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 Ran(1985) เป็นงานชิ้นโดดเด่นและใช้ทุนสุดมหาศาลของยอดผู้กำกับภาพยนตร์อย่างอาคิระ คุโรซาวาในช่วงบั้นปลายที่เขาหันมาทำภาพยนตร์เป็นสีธรรมชาติ บางคนอาจจะชอบภาพยนตร์สีธรรมชาติเรื่องก่อนหน้านี้ของเขาคือ kagemusha หรือนักรบเงา (1980) แต่ผมคิดว่า Ran จัดว่าเป็นภาพยนตร์ที่เปี่ยมด้วยเนื้อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                        
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) คีตกวีชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของรัสเซีย ไม่ได้เก่งแค่แต่งเพลงประกอบบัลเลต์อย่างเช่น Nutcracker หรือ Swan Lake รวมไปถึงไวโอลินและเปียโนคอนแชร์โตอันลือชื่อ หากแต่ยังฉกาจในการแต่งซิมโฟนี ซึ่งแต่ละบทก็มีชื่