บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/
เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้ถึงแม้จะเป็นที่รู้จักกันน้อยที่สุดในบรรดาซิมโฟนีอันยิ่งใหญ่ของเบโธเฟนไม่ว่า หมายเลข 3 5 6 และ 9 แต่นับได้ว่าเป็นซิมโฟนีที่ล้ำค่าและอลังการไม่แพ้กันเลย เบโธเฟนเริ่มเขียนงานชิ้นนี้ในปี 1811 ขณะที่ตนไปรักษาสุขภาพที่เมืองเตปลิซ ซึ่งเป็นเมืองบ่อน้ำแร่ (สปา) ออกนำแสดงเป็นครั้งแรกในกรุงเวียนนา ปี 1812 ในคอนเสิร์ตเพื่อหาเงินไปช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสมรภูมิฮาเนาอันเป็นการสู้รบระหว่างกองทัพผสมออสเตรียและแคว้นบาวาเรียนกับกองทัพของพระเจ้านโปเลียน ซิมโฟนีชิ้นนี้ยังถูกนำเสนอพร้อมกับผลงานชิ้นเลิศคือ Wellington’s Victory แถมคีตกวีเอกของเราลงทุนไปกำกับเอง ได้ผลลัพธ์คือคนฟังให้การต้อนรับอย่างดี
ซิมโฟนีบทนี้มีทั้งหมด 4 กระบวน ความยาวประมาณ 33 นาที 44 วินาที วัดจากการบรรเลงของวงเบอร์ลิน ฟิลฮาร์โมนิก ออร์เคสตร้า โดยเฮอร์เบิร์ต ฟอน คารายาน บันทึกเสียงในปี 1962
1.Poco sostenuto - Vivace
2.Allegretto
3.Presto
4. Allegro con brio
ภาพจาก www.allmusic.com
บทความของคุณเบอร์นาร์ด
การแสดงในงานคริสต์มาสเพื่อการกุศลของโรงพยาบาลเซนต์มาร์กที่ถูกจัดขึ้นในปี 1816 และการแสดงเพื่อช่วยเหลือแม่หม่ายและเด็กกำพร้าจากสงคราม ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวียนนาในปีต่อมาเป็นโอกาสถึง 2 ครั้งที่เบโธเฟนจะได้นำการบรรเลงซิมโฟนีหมายเลข 7 นับว่าเป็นหนึ่งในโอกาสของการออกนำวงด้วยตัวเองที่นับวันยิ่งไม่ค่อยมีนัก
ซิมโฟนีหมายเลข 7 ในช่วงเวลาไม่ถึง 6 ปีภายหลังจากการถูกนำออกแสดงครั้งแรกกลับได้รับการตอบสนองที่ไม่ค่อยดีนักเช่นเมย์นาร์ด โซโลมอนด์นักเขียนชีวประวัติของเบโธเฟนได้เขียนไว้ว่า "คนปรบมือกันเปาะแปะ แถมกระบวน Allegretto ที่ทรงคุณค่าไม่ได้รับการร้องขอให้เล่นอีกครั้งตามธรรมเนียม ซึ่งบรรดาเพื่อนๆ ของเบโธเฟนก็แก้ต่างอย่างข้างๆ คู ๆ ว่า เพราะคนนั่งกันอย่างแออัดทำให้ยกแขนขึ้นมาปรบมืออย่างไม่สะดวกนัก”
ความชื่นชมคลั่งไคล้ของชาวเวียนนาที่มีต่อเบโธเฟนในช่วงเวลานั้นได้ลดฮวบฮาบไปอย่างน่าตกใจ อย่างไรก็ตามพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์ของเบโธเฟนก็ไม่ได้ลดไปด้วย ตามความจริง เขากำลังค้นหาหนทางใหม่ในช่วงที่ตัวเองกำลังพบกับความวุ่นวายในชีวิตคืออาการหูหนวกและการขอมีสิทธิ์เลี้ยงดูหลาน ซิมโฟนีหมายเลข 7 อยู่ในช่วงท้าย ๆ ที่ผลงานของเขาเป็นการเชิดชูบูชาบุคคลดังที่เรารู้จักกันดีในซิมโฟนีหมายเลข 3 และหมายเลข 5
และโซโลมอนยังอ้างถึงความรู้สึกสั้น ๆ เกี่ยวกับซิมโฟนีหมายเลข 7 ของผู้ซึ่งติดตามงานของเบโธเฟนในศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีลักษณะคล้าย ๆ กันดังนี้
เบลิออซเรียกเพลงนี้เป็น "ระบำรูปวงกลมของชาวนา" (Ronde des Paysans) โดยเฉพาะในกระบวนแรก วาคเนอร์เรียกเพลงนี้ว่า “เป็นเพลงเต้นรำที่สุดยอด” เลนซ์เห็นว่าเป็น "ซิมโฟนีหมายเลข 6 บทที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบตรงการเต้นระบำของชาวนาในงานแต่งงาน"
โนห์ลเห็นว่าซิมโฟนีชิ้นนี้เป็นงานเทศกาลของพวกอัศวินและงานเต้นรำใส่หน้ากากที่เมามันด้วยความสนุกสนานและไวน์ และ เบกเกอร์เรียกว่าเป็น Bacchic orgy (งานร่าเริงแบบเทพเจ้าบัคคุสหรือเทพแห่งไวน์ตามความเชื่อของชาวโรมัน) และเออร์เนส นิวแมนเห็นว่ามันเป็นการพุ่งทะยานของพลังแห่งเทพไดโอนีซุส หรือการเสพสุขทางจิตวิญญาณ
ภาพจาก www.awesomestories.com
ท่วงทำนองที่สนุกสนานที่มีอยู่ทั่วซิมโฟนีได้ทำให้นักเขียนทั้งหลายคิดว่าไม่ว่ามันจะแสดงออกอย่างไร เพลงซึ่งเป็นบทเริ่มต้นที่ยาวที่สุดได้แสดงให้เห็นว่าเบโธเฟนได้พาคนฟังเข้าไปมีอารมณ์ร่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อความสนุกสนานที่กำลังจะเริ่มขึ้น บทนำนั้นได้ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึก 2 อารมณ์ อารมณ์แรกคือการนำไปสู่ธีมเอเมเจอร์ด้วยขลุ่ยและอารมณ์ที่ 2 มันได้เลื่อนไหลจากโน้ตตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่งแต่เบโธเฟนได้เข้าขัดจังหวะการเลื่อนไหลเช่นนี้ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพและทำให้ธีมของมันกลับมาเหมือนเดิม ผู้ฟังจึงตั้งใจฟังอย่างแทบไม่หายใจ
ทันที่ขลุ่ยเริ่มต้นบรรเลงตามจังหวะของกระบวนแรก การเต้นรำก็เริ่มขึ้นและดำเนินไปเช่นนั้นเรื่อย ๆ ครั้ง วาทยกรผู้โด่งดังคือบรูโน วอลเทอร์ได้ออกความเห็นในช่วงซ้อมว่า เขากำกับซิมโฟนีหมายเลข 7 มามากมายหลายครั้ง แต่ไม่เคยสามารถทำให้จังหวะมันถูกต้องตลอดไปได้เลยแม้แต่ครั้งเดียว เพราะจังหวะของมันนั้นประณีตพอๆ กับความเร่าร้อน
ในกระบวนที่ 2 คือ Allegretto อาจจะช้ากว่ากระบวนอื่น แต่ด้วยมาตรฐานของกระบวนที่ช้าทั่วไปนั้น มันไม่ใช่เลย กระบวนที่ 2 ประกอบด้วยรูปแบบของ dactylic ที่มั่นคง (ยาว ช้า ช้า) ในเอเมเจอร์ที่แสนจะงดงาม ซึ่งทวีความเข้มข้นขึ้นสอดประสานกับการซ้ำจังหวะของแต่ละครั้ง นี่เป็นกระบวนซึ่งผู้ชมมักจะร้องขอให้เล่นซ้ำมากที่สุด ธีมของมันไม่มีอะไรมากและเรามักจะรับรู้ถึงตัวโน้ตที่ถูกบรรเลงซ้ำ ๆ แต่เบโธเฟนประสบความสำเร็จในการทำให้ตัวโน้ตเกิดความเป็นเอกภาพพร้อมไปกับการเปลี่ยนท่วงท่า ทำให้ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้งใจ
ผม (คุณเบอร์นาร์ด) ได้ฟังจังหวะ Scherzo (ในกระบวนที่ 3 คือ Presto) ในหนังสารคดีมานับครั้งไม่ถ้วน ที่บ่อยที่สุดคือดนตรีประกอบสารคดีศิลปะยุคโรแมนติก นี่คือการเต้นรำที่บ้าคลั่งที่สุด และมักจะสลับด้วยส่วนที่ขัดแย้งที่สุดคือจังหวะ Trio ซึ่งมีแรงขับเคลื่อนน้อยกว่า แต่เมื่อถึงตอนจบ ทรีโอแม้จะปรากฏตัวอย่างสั้น ๆ ได้ทำให้ดนตรีมีลักษณะแหกจารีตอย่างที่คนฟังคาดไม่ถึง นี่คือตัวอย่างหนึ่งในบรรดาดนตรีของเบโธเฟนที่มักจะทะลุนอกกรอบ
บางคนคิดว่าเบโธเฟนต้องเมาอย่างแน่นอนเมื่อเขียนกระบวนสุดท้ายหรือไม่ก็ทำให้เกิดภาพว่าใครสักคนกำลังเมา มีหลายจุดที่ทำให้ชวนจินตนาการถึงฉากคนหลายคนกำลังทะเลาะกันถึงเรื่องที่ไม่มีใครเข้าใจ ผลที่ได้เป็นเรื่องตลกนั่นคือการกลับไปกลับมาตลอดกาลระหว่างความวุ่นวายและดุลยภาพ
สำหรับผู้เขียน (อรรถสิทธิ์) คิดว่าคงจะเหมือนกับที่เลนซ์บอก หากซิมโฟนีหมายเลข 6 คือการที่ชายผู้เดินทางในชนบท ได้พบกับความงดงามของธรรมชาติ ได้เผชิญกับพายุฝนและความงดงามอันเดิมที่กลับมาอีกครั้งภายหลังจากพายุผ่านไป ซิมโฟนีหมายเลข 7 คือยามเย็นที่ชายคนนั้น (ก็คือเบโธเฟนนั้นเอง) ได้เดินทางมาพบกับบ้านที่กำลังจัดงานแต่งงานที่บรรดาแขกเต้นรำกันสนุกสนาน ใครคนหนึ่งออกมาเชิญเขาให้ไปเต้นรำด้วย....
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ฟังเพลงของเขามามากต่อมากแล้วเรามาทายกันดีกว่าว่าหน้าตาของเขาน่าจะเป็นอย่างไร สูงผอม บอบบาง ขี้โรค อารมณ์อ่อนไหวง่ายและหน้าตาเต็มไปด้วยความทุกข์อยู่ไม่คลาย ? และเมื่อเห็นภาพของโชแปงซึ่งเป็นภาพถ่ายของเขาเพียงภาพเดียว (ไม่นับภาพวาดอีกหลายๆ ภาพ และภาพยนตร์ที่อิงกับชีวิตของเขา) ก็ค
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้หรือไม่กับพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกของอังกฤษเมื่อปี 2012 ที่มีภาพยนตร์สั้น ซึ่งสร้างความประหลาดใจและความประทับใจให้กับคนดูทั่วโลกอย่างมาก เมื่อเจมส์ บอนด์ (แสดงโดย ดาเนียล เครก) ได้เดินทางไปถวายการอารักขาให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (แสดงโดยพระองค์จริง) ที่พระราชวังบักกิงแฮมก่อนจะเสด็จโด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
คนไทยมักจะรู้จักอุปรากร Madame Butterfly หรือ คุณนายผีเสื้อ เป็นอย่างดีผ่านบทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้าของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ทรงดัดแปลงหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากอุปรากรเรื่องนี้ซึ่งแสดงถึงโศกนาฏกรรมของความรักระหว่างคน 2 เชื้อชาติคือ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากเข้าใจเปรียบเทียบ Psycho นั้นเปรียบดังดาวซึ่งจรัสแสงที่สุดเท่าที่ฮอลลีวู้ดจะมีไว้ประดับท้องฟ้าแห่งวงการภาพยนตร์โลกประเภทตื่นเต้นสยองขวัญ แน่นอนว่าผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ซึ่งทำให้คนดูเหงื่อทะลักเกือบทั้งเรื่องทั้งที่มีเครื่องปรับอากาศย่อมไม่ใช่ใครอื่นนอกจากราชาแห่งภาพยน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้ขออุทิศให้ภรรยาของอ้ายจรัลซึ่งครั้งหนึ่งผู้เขียนบทความนี้มีโอกาสได้รู้จัก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ถือได้ว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของวงการดนตรีคลาสสิก เขาเป็นผู้บุกเบิกดนตรียุคบาร็อค (Baroque) ซึ่งเป็นดนตรีที่เรียบง่าย ฟังสบายๆ ไม่ดุเดือดเหมือนกับแนวโรแมนติกที่บุกเบิกโดยเบโธเฟนในหลายสิบปีให้หลัง ด้วยดนตรีของบ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ สังคมไทยเกิดคำฮิตกับเพศชายคือคำว่าเมโทรเซ็กซัล (Metrosexual) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเมโทร กระนั้นก็ทำให้คนเข้าใจไปเป็นคำ ๆ เดียวหรือใกล้เคียงกับ คำว่า Homosexual หรือ พวกรักร่วมเพศ จึงกลายเป็นมองว่าคนพวกนี้เป็นเกย์ทั้งนั้น ตามความจริ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Ran(1985) เป็นงานชิ้นโดดเด่นและใช้ทุนสุดมหาศาลของยอดผู้กำกับภาพยนตร์อย่างอาคิระ คุโรซาวาในช่วงบั้นปลายที่เขาหันมาทำภาพยนตร์เป็นสีธรรมชาติ บางคนอาจจะชอบภาพยนตร์สีธรรมชาติเรื่องก่อนหน้านี้ของเขาคือ kagemusha หรือนักรบเงา (1980) แต่ผมคิดว่า Ran จัดว่าเป็นภาพยนตร์ที่เปี่ยมด้วยเนื้อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) คีตกวีชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของรัสเซีย ไม่ได้เก่งแค่แต่งเพลงประกอบบัลเลต์อย่างเช่น Nutcracker หรือ Swan Lake รวมไปถึงไวโอลินและเปียโนคอนแชร์โตอันลือชื่อ หากแต่ยังฉกาจในการแต่งซิมโฟนี ซึ่งแต่ละบทก็มีชื่