Skip to main content
                       
 
   มาตีความภาษาอำมาตย์กันเถอะ
 
 
1.ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง
 
ภาษาอำมาตย์
 
การทำการเมืองไทยให้ใสสะอาด เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงในอนาคต
 
การตีความ 
 
การทำอย่างไรก็ได้เพื่อล้างอิทธิพลของทักษิณให้หมดจากการเมืองไทยและสถาปนาไทยให้เป็นประชาธิปไตยแบบเปลือกไปตลอดกาล
 
 
 
2.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาอาจตั้งน้องชายให้เป็นผู้บัญชาการทหารบก
 
ภาษาอำมาตย์
 
2.1 เลือดย่อมเข้มกว่าน้ำ
 
2.2 แต่งตั้งตามความเหมาะสมหรือความสามารถของตัวบุคคล
 
2.3 บังเอิญว่ามีนามสกุลจันทร์โอชาเหมือนกันและตระกูลนี้ก็มีเลือดทหารเต็มร้อย
 
การตีความ
 
เป็นการเล่นพรรคเล่นพวกเหมือนกับสภาผัวเมียในอดีตโดยหวังว่าสายเลือดจะทำให้ผบ.ทบ.คนใหม่นั้นซื่อสัตย์ต่อนายกรัฐมนตรีมากกว่าคนอื่นซึ่งไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะไว้ใจได้หรือไม่ในระยะยาว
 
 
 
3.การซื้อเรือดำน้ำจากจีนมูลค่า 36,000 ล้านบาท
 
ภาษาอำมาตย์
 
เพื่อเป็นการเสริมเขี้ยวเล็บแก่กองทัพเรือในยามที่ความขัดแย้งทางทะเลจีนใต้กำลังทวีความรุนแรงเช่นเดียวกับการปกป้องผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศ
 
การตีความ
 
3.1 เป็นการประจบประแจงจีน เพราะรัฐบาลตะวันตกกำลังบี้รัฐบาลทหารอย่างหนัก
 
3.2 เป็นการแสดงอำนาจและผลประโยชน์ของกองทัพเหนือสังคมไทยบนเหตุผลที่ยกขึ้นมาแบบข้างๆ คู ๆ  แม้ว่าจะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำก็ตาม
 
 
 
4.การให้สัมภาษณ์แก่นักข่าวของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาแบบขวานผ่าซากและใช้อารมณ์
 
ภาษาของอำมาตย์
 
ท่านเป็นคนตรงไปตรงมา มีนิสัยนักเลง ชอบพูดน้อยต่อยหนัก
 
การตีความ
 
4.1 ท่านเป็นคนมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ต่ำ 
 
4.2 ท่านพยายามกลบเกลื่อนถึงความไม่รู้และความไร้อำนาจของตนโดยการแสร้งทำให้นักข่าวรู้สึกเกรงใจหรือหวาดกลัวไม่กล้าถามคำถามยากๆ  บางครั้งท่านก็จะพูดแบบอ่อนน้อมและปล่อยมุขตลกเข้าทำนองตบหัวแล้วลูบหลัง
 
 
5. คำพูดจีบของพลเอกพลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกรต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของจีนที่ว่า "ถ้าผมเป็นผู้หญิง ผมก็คงจะตกหลุมรักผู้ชายคนนี้"
 
ภาษาอำมาตย์
 
เป็นการแสดงมิตรภาพระหว่างประเทศอย่างลึกซึ้งโดยใช้ประโยคอุปมาอุปไมย
 
การตีความ
 
5.1 เป็นการประจบประแจงจีน เพราะรัฐบาลตะวันตกกำลังบี้รัฐบาลทหารอย่างหนัก
 
5.2 เป็นการทำให้รัฐมนตรีของจีนตอกหน้ามาว่า "กูรู้นะว่ามึงเป็นดอกทอง เพราะถ้าสหรัฐฯ คืนดีกับมึง มึงก็จะกินรวบทั้งกูและมันด้วย"
 
 
6.การสึกจากพระของสุเทพเทือก สุบรรณเพื่อตั้งมูลนิธิในการช่วยเหลือสังคม
 
ภาษาอำมาตย์
 
เป็นการช่วยเหลือสังคมอย่างไร้ความเห็นแก่ตัวของนายสุเทพโดยปราศจากการเข้าไปข้องเกี่ยวกับการเมือง
 
การตีความ
 
6.1 นายสุเทพได้รับการกดปุ่มจากผู้มีอำนาจแฝงบางคนเพื่อเปิดทางให้รัฐบาลทหารสามารถเตะถ่วงทางอำนาจผ่านการชูประเด็นปฏิรูป (ชั่วนิรันดร) ผ่านการเลือกตั้ง
 
6.2  นายสุเทพช่วยให้พรรคแมงสาบสามารถแสดงบทบาทผ่านมูลนิธิในการขอส่วนบุญเอ๊ยส่วนแบ่งทางอำนาจกับกองทัพเช่นสามารถเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลพลเรือนในอนาคตแม้ว่าจะเป็นรัฐบาลเป็ดง่อยก็ตาม
 
 
 
7.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาประกาศว่าไม่ยึดตึดเก้าอี้นายกรัฐมนตรี 
 
ภาษาอำมาตย์
 
เป็นการแสดงความมุ่งมั่นสำหรับพลเอกประยุทธ์เพื่อการทำงานเพื่อประเทศชาติโดยไม่นึกถึงผลประโยชน์และอำนาจ
 
การตีความ
 
7.1 เพื่อเป็นการสร้างภาพสำหรับพลเอกประยุทธ์ว่าตัวเองมีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อประเทศชาติโดยไม่นึกถึงผลประโยชน์และอำนาจ
 
7.2 เพื่อเป็นการนั่งเก้าอี้ตัวนี้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องไม่ขัดกับข้อ 7.1 เพราะบรรดาลิ่วล้อหรือลูกน้องจะประกาศสนับสนุนตัวเองให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปจากปัญหาทางการเมืองบางประการซึ่งถูกวางแผนไว้ล่วงหน้า และตัวพลเอกประยุทธ์ก็ตอบรับอย่างไม่ลังเลใจ
 
7.3 เพื่อเป็นการเตรียมทางหนีทีไล่หากข้อ 7.2 ไม่สำเร็จเช่นผู้มีอำนาจตัวจริงกดปุ่มให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตนก็จะได้ไปอย่างสง่างาม 
 
 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ  มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44  ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect  Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ  กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982)  สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก