Skip to main content

เมื่อพูดถึงอันโตนีโอ วิวัลดี (Antonio Vivaldi) คนก็ต้องนึกถึงเพลงยอดนิยมของเขาคือ Four Seasons หรือฤดูกาลทั้ง 4 (ต่อมา กลายเป็นชื่อโรงแรมอันอื้อฉาว) เป็นอันดับแรก ทั้งที่คีตกวีท่านนี้มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก

 วิวัลดี ยักษ์ใหญ่อีกคนของดนตรียุคบาร็อคเกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ปี 1678 ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี บิดาเป็นช่างทำขนมปังและยังอุตสาห์เป็นนักดนตรีสมัครเล่นที่มีพรสวรรค์ จึงถ่ายทอดคุณสมบัติประการนี้ให้กับบุตร นอกจากการสอนแล้วบิดายังช่วยให้วิวัลดีได้เป็นนักไวโอลินในวงคาปเปลลา ดี ซาน มาร์โค และประสบความสำเร็จเป็นที่นับหน้าถือตาในชุมชน


                                  

                                           ภาพจาก www. i.ytimg.com

ในปี 1703 วิวัลดีบวชเป็นพระและได้รับสมญาว่า พระสีแดง (Red Priest) เพราะผมสีแดงอันโดดเด่น และได้รับการยกเว้นไม่ให้เข้าร่วมพิธีสวดตามเทศกาลต่างๆ ของคริสตศาสนาเพราะมีโรคประจำตัวคือหอบหืด อีก 1 ปีต่อมา เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูสอนไวโอลินให้กับสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่เป็นผู้หญิงและได้ตั้งวงดนตรีออกไปแสดงตามที่ต่างๆ จนมีเชื่อเสียง (ลองจินตนาการถึงหนังเรื่อง Red Violin ในเรื่องย่อยเรื่องแรกแต่คราวนี้มีแต่เด็กผู้หญิง)ในช่วงนั้นวิวัลดีได้ผลิตผลงานออกมามากมายสำหรับวงเด็กหญิง ไม่ว่าจะเป็นคอนแชร์โต (ดนตรีที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อวงดนตรีขนาดใหญ่สำหรับโต้ตอบกับเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งเช่นไวโอลินหรือเปียโน) คันตาตา (เสียงร้องที่มีดนตรีประกอบ) และเพลงร้องในศาสนา งานเหล่านั้นในบางส่วนได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี 1705 และสร้างชื่อเสียงให้กับวิวัลดีอย่างมาก 

ถึงแม้ตัววิวัลดีจะเป็นพระแต่ก็มีเรื่องรักๆ ใคร่ๆ กับสีกาซึ่งเป็นนักร้องนามว่าอันนา จิเราด์ ทำให้เขาโดนกล่าวหาว่าไปลอกบทร้องจากอุปรากรยุคเก่า ๆ มาดัดแปลงนิดๆ หน่อย ๆให้เธอร้อง จนทำให้เพื่อนนักดนตรีบางคนเขียนโจมตีเขาเอาแรง ๆและยังถูกสั่งห้ามเข้าเมืองเฟอร์รารา แต่วิวัลดีก็ถือได้ว่าเป็นคีตกวีที่ขยันเขียนงานออกมามากที่สุดคนหนึ่ง ในช่วงชีวิตเขาได้เขียนคอนแชร์โต ถึง 500 ชิ้นซึ่งเป็น ไวโอลินคอนแชร์โต ถึง 210 ชิ้น อุปรากร 46 เรื่อง ซึ่งหาเล่นได้ยากในปัจจุบัน โซนาตา (งานโซโลเดี่ยว) ถึง 73 ชิ้น งานของเขายังมีอิทธิพลต่อคีตกวีหลาย ๆ คนเช่นโยฮัน เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) เจ้าพ่อดนตรียุคบาร็อคอีกคนหนึ่ง

อย่างที่บอกตั้งแต่ต้นว่างานที่โด่งดังที่สุดของวิวัลดีคือ  Four Seasons หรือ ฤดูกาลทั้งสี่ ซึ่งเป็นไวโอลินคอนแชร์โตที่เขาเขียนขึ้นในปี 1723 เพลงมีทั้งหมด 4 คอนแชร์โต ตั้งชื่อตามฤดูกาลของยุโรป แต่ละคอนแชร์โตมีอยู่ 3 กระบวน จังหวะคือ เร็ว ช้า และเร็ว จังหวะโดยรวมจะเป็นไปตามแนวคิดของแต่ละฤดูกาล แถมวิวัลดียังได้เขียนบทกวีไว้ประกอบคอนแชร์โตแต่ละบทอีกด้วย เราสามารถกล่าวได้ว่า "ฤดูกาลทั้ง 4 "อยู่ในรูปแบบ Programing Music หรือดนตรีที่สื่ออะไรบางอย่างนอกจากความไพเราะ ตัวอย่างอื่นได้แก่ซิมโฟนี หมายเลข 6 ของเบโธเฟ่น หรือดอน กีโฮเต ของริชาร์ด สเตราส์

บทกวีของวิวัลดีเช่น ในฤดูใบไม้ผลิ (แปลโดยผมเอง)


Springtime is upon us.
The birds celebrate her return with festive song,
and murmuring streams are softly caressed by the breezes. 
Thunderstorms, those heralds of Spring, roar, casting their dark mantle over heaven,
Then they die away to silence, and the birds take up their charming songs once more.

On the flower-strewn meadow, with leafy branches rustling overhead, the goat-herd sleeps, his faithful dog beside him.
Led by the festive sound of rustic bagpipes, nymphs and shepherds lightly dance beneath the brilliant canopy of spring.


บัดนี้ฤดูใบไม้ผลิมาเยี่ยมเยือน
เหล่าวิหกเจี้ยวแจ้ว ต้อนรับด้วยบทเพลงอันรื่นรมย์
สายลมเข้านัวเนียลำธารที่ไหลมาแผ่วเบาดุจเสียงกระซิบ

สายฟ้าก่อนฤดูกริ้วโกรธอยู่ครืนๆ เป็นเงามืดเหนือนภางค์กว้าง พลันสิ้นเสียงเหล่านกกาครื้นเครงบรรเลงคีตอีกครา

เหนือทุ่งหญ้าเหล่าบุปผาบานสะพรั่ง เด็กเลี้ยงแพะนอนหลับไหล พร้อมสุนัขผู้ซื่อสัตย์เคียงข้าง ขับกล่อมด้วยเสียงกิ่งไม้พัดโบกอยู่ไหว ๆ เสียงขลุ่ยแห่งท้องทุ่งก้องกังวาลไกล เหล่านางไม้และเด็กเลี้ยงสัตว์เริงระบำภายใต้ม่านแห่งฤดูใบไม้ผลิ



(ภาพในจินตนาการของ Nymphs หรือนางไม้ จากภาพที่ชื่อ Nymphs and Satyr โดย Adolphe-William Bouguereau ปี 1873)


                                               
                                                      

                                                 ภาพจาก 41.media.tumblr.com

ถึงแม้จะร่ำรวยและมีชื่อเสียงแค่ไหน แต่สุดท้าย วิวัลดีก็ต้องพบกับความผันผวนของชีวิต เมื่อดนตรีของเขาตกยุคอย่างรวดเร็ว เขาถึงกลับยอมขายเพลงของตัวเองเป็นจำนวนมากด้วยราคาถูกแสนถูก เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังกรุงเวียนนา เป็นไปได้ว่าวิวัลดีไปขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 ผู้ทรงชื่นชอบดนตรีของเขา อนิจจาเมื่อวิวัลดีเดินทางไปถึงเวียนนาเพียงครู่ จักรพรรดิพระองค์นี้ได้เสด็จสวรรคต ทำให้เขาต้องกลับมายังชีพด้วยวิธีการแบบเดิมๆ คือขายเพลงด้วยราคาที่ถูกอย่างน่าเสียดาย

วิวัลดีถึงแก่กรรมในวันที่ 28 กรกฏาคม ปี 1741 บนความยากจน ข้นแค้นแถมยังถูกฝังในป่าช้าของผู้ยากไร้ แต่ก็ได้ทิ้งผลงานไว้ให้ชาวโลกได้ซาบซึ้ง ตราตรึงใจไปอีกนาน

 

 

                                                        

                                                             ภาพจาก  s6.postimg.org

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ  มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44  ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect  Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ  กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982)  สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด