Skip to main content

เมื่อพูดถึงอันโตนีโอ วิวัลดี (Antonio Vivaldi) คนก็ต้องนึกถึงเพลงยอดนิยมของเขาคือ Four Seasons หรือฤดูกาลทั้ง 4 (ต่อมา กลายเป็นชื่อโรงแรมอันอื้อฉาว) เป็นอันดับแรก ทั้งที่คีตกวีท่านนี้มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก

 วิวัลดี ยักษ์ใหญ่อีกคนของดนตรียุคบาร็อคเกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ปี 1678 ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี บิดาเป็นช่างทำขนมปังและยังอุตสาห์เป็นนักดนตรีสมัครเล่นที่มีพรสวรรค์ จึงถ่ายทอดคุณสมบัติประการนี้ให้กับบุตร นอกจากการสอนแล้วบิดายังช่วยให้วิวัลดีได้เป็นนักไวโอลินในวงคาปเปลลา ดี ซาน มาร์โค และประสบความสำเร็จเป็นที่นับหน้าถือตาในชุมชน


                                  

                                           ภาพจาก www. i.ytimg.com

ในปี 1703 วิวัลดีบวชเป็นพระและได้รับสมญาว่า พระสีแดง (Red Priest) เพราะผมสีแดงอันโดดเด่น และได้รับการยกเว้นไม่ให้เข้าร่วมพิธีสวดตามเทศกาลต่างๆ ของคริสตศาสนาเพราะมีโรคประจำตัวคือหอบหืด อีก 1 ปีต่อมา เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูสอนไวโอลินให้กับสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่เป็นผู้หญิงและได้ตั้งวงดนตรีออกไปแสดงตามที่ต่างๆ จนมีเชื่อเสียง (ลองจินตนาการถึงหนังเรื่อง Red Violin ในเรื่องย่อยเรื่องแรกแต่คราวนี้มีแต่เด็กผู้หญิง)ในช่วงนั้นวิวัลดีได้ผลิตผลงานออกมามากมายสำหรับวงเด็กหญิง ไม่ว่าจะเป็นคอนแชร์โต (ดนตรีที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อวงดนตรีขนาดใหญ่สำหรับโต้ตอบกับเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งเช่นไวโอลินหรือเปียโน) คันตาตา (เสียงร้องที่มีดนตรีประกอบ) และเพลงร้องในศาสนา งานเหล่านั้นในบางส่วนได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี 1705 และสร้างชื่อเสียงให้กับวิวัลดีอย่างมาก 

ถึงแม้ตัววิวัลดีจะเป็นพระแต่ก็มีเรื่องรักๆ ใคร่ๆ กับสีกาซึ่งเป็นนักร้องนามว่าอันนา จิเราด์ ทำให้เขาโดนกล่าวหาว่าไปลอกบทร้องจากอุปรากรยุคเก่า ๆ มาดัดแปลงนิดๆ หน่อย ๆให้เธอร้อง จนทำให้เพื่อนนักดนตรีบางคนเขียนโจมตีเขาเอาแรง ๆและยังถูกสั่งห้ามเข้าเมืองเฟอร์รารา แต่วิวัลดีก็ถือได้ว่าเป็นคีตกวีที่ขยันเขียนงานออกมามากที่สุดคนหนึ่ง ในช่วงชีวิตเขาได้เขียนคอนแชร์โต ถึง 500 ชิ้นซึ่งเป็น ไวโอลินคอนแชร์โต ถึง 210 ชิ้น อุปรากร 46 เรื่อง ซึ่งหาเล่นได้ยากในปัจจุบัน โซนาตา (งานโซโลเดี่ยว) ถึง 73 ชิ้น งานของเขายังมีอิทธิพลต่อคีตกวีหลาย ๆ คนเช่นโยฮัน เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) เจ้าพ่อดนตรียุคบาร็อคอีกคนหนึ่ง

อย่างที่บอกตั้งแต่ต้นว่างานที่โด่งดังที่สุดของวิวัลดีคือ  Four Seasons หรือ ฤดูกาลทั้งสี่ ซึ่งเป็นไวโอลินคอนแชร์โตที่เขาเขียนขึ้นในปี 1723 เพลงมีทั้งหมด 4 คอนแชร์โต ตั้งชื่อตามฤดูกาลของยุโรป แต่ละคอนแชร์โตมีอยู่ 3 กระบวน จังหวะคือ เร็ว ช้า และเร็ว จังหวะโดยรวมจะเป็นไปตามแนวคิดของแต่ละฤดูกาล แถมวิวัลดียังได้เขียนบทกวีไว้ประกอบคอนแชร์โตแต่ละบทอีกด้วย เราสามารถกล่าวได้ว่า "ฤดูกาลทั้ง 4 "อยู่ในรูปแบบ Programing Music หรือดนตรีที่สื่ออะไรบางอย่างนอกจากความไพเราะ ตัวอย่างอื่นได้แก่ซิมโฟนี หมายเลข 6 ของเบโธเฟ่น หรือดอน กีโฮเต ของริชาร์ด สเตราส์

บทกวีของวิวัลดีเช่น ในฤดูใบไม้ผลิ (แปลโดยผมเอง)


Springtime is upon us.
The birds celebrate her return with festive song,
and murmuring streams are softly caressed by the breezes. 
Thunderstorms, those heralds of Spring, roar, casting their dark mantle over heaven,
Then they die away to silence, and the birds take up their charming songs once more.

On the flower-strewn meadow, with leafy branches rustling overhead, the goat-herd sleeps, his faithful dog beside him.
Led by the festive sound of rustic bagpipes, nymphs and shepherds lightly dance beneath the brilliant canopy of spring.


บัดนี้ฤดูใบไม้ผลิมาเยี่ยมเยือน
เหล่าวิหกเจี้ยวแจ้ว ต้อนรับด้วยบทเพลงอันรื่นรมย์
สายลมเข้านัวเนียลำธารที่ไหลมาแผ่วเบาดุจเสียงกระซิบ

สายฟ้าก่อนฤดูกริ้วโกรธอยู่ครืนๆ เป็นเงามืดเหนือนภางค์กว้าง พลันสิ้นเสียงเหล่านกกาครื้นเครงบรรเลงคีตอีกครา

เหนือทุ่งหญ้าเหล่าบุปผาบานสะพรั่ง เด็กเลี้ยงแพะนอนหลับไหล พร้อมสุนัขผู้ซื่อสัตย์เคียงข้าง ขับกล่อมด้วยเสียงกิ่งไม้พัดโบกอยู่ไหว ๆ เสียงขลุ่ยแห่งท้องทุ่งก้องกังวาลไกล เหล่านางไม้และเด็กเลี้ยงสัตว์เริงระบำภายใต้ม่านแห่งฤดูใบไม้ผลิ



(ภาพในจินตนาการของ Nymphs หรือนางไม้ จากภาพที่ชื่อ Nymphs and Satyr โดย Adolphe-William Bouguereau ปี 1873)


                                               
                                                      

                                                 ภาพจาก 41.media.tumblr.com

ถึงแม้จะร่ำรวยและมีชื่อเสียงแค่ไหน แต่สุดท้าย วิวัลดีก็ต้องพบกับความผันผวนของชีวิต เมื่อดนตรีของเขาตกยุคอย่างรวดเร็ว เขาถึงกลับยอมขายเพลงของตัวเองเป็นจำนวนมากด้วยราคาถูกแสนถูก เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังกรุงเวียนนา เป็นไปได้ว่าวิวัลดีไปขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 ผู้ทรงชื่นชอบดนตรีของเขา อนิจจาเมื่อวิวัลดีเดินทางไปถึงเวียนนาเพียงครู่ จักรพรรดิพระองค์นี้ได้เสด็จสวรรคต ทำให้เขาต้องกลับมายังชีพด้วยวิธีการแบบเดิมๆ คือขายเพลงด้วยราคาที่ถูกอย่างน่าเสียดาย

วิวัลดีถึงแก่กรรมในวันที่ 28 กรกฏาคม ปี 1741 บนความยากจน ข้นแค้นแถมยังถูกฝังในป่าช้าของผู้ยากไร้ แต่ก็ได้ทิ้งผลงานไว้ให้ชาวโลกได้ซาบซึ้ง ตราตรึงใจไปอีกนาน

 

 

                                                        

                                                             ภาพจาก  s6.postimg.org

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เข้าใจว่าผลงานของ William Shakespeare ที่คนไทยรู้จักกันดีรองจากเรื่อง Romeo and Julius ก็คือวานิชเวนิส หรือ Merchant of Venice ด้วยเหตุที่ล้นเกล้ารัชกาลที่หกทรงแปลออกมาเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับเด็กนักเรียนได้อ่านกัน และประโยค ๆ หนึ่งกลายเป็นประโยคยอดฮิตที่ยกย่องดนตรีว่า &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเพลงหรือ musical ที่มีสีสันมากที่สุดเรื่องหนึ่งในทศวรรษที่ห้าสิบและหกสิบ เราก็คงจะนึกถึงเรื่อง West Side Story เป็นเรื่องแรก ๆ อาจจะก่อน Singin' in The Rain หรือ Sound of Music เสียด้วยซ้ำ ด้วยหนังเรื่องนี้มีจุดเด่นคือเพลงทั้งบรรเลงและเพลงร้องที่แสนไพเราะ ฝีมือการกำกับวงของวาทยากรอ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มักเป็นที่เข้าใจว่าอเมริกาเป็นประเทศแห่งความเท่าเทียมกัน อาจด้วยอเมริกานั้นไม่เคยเปลี่ยนผ่านยุคศักดินาเหมือนกับประเทศในเอเชียและยุโรป อเมริกาถึงแม้จะมีชนชั้นกลางมากแต่บรรดาในชนชั้นกลางก็มีการแบ่งแบ่งแยกที่ดีที่สุดคือเงิน รองลงมาก็ได้แก่ฐานะทางสังคม สีผิว เพศ ฯลฯ เอาเข้าจริงๆ ไม่มีสังคมไหนในโลกท
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    1.นอยด์ เป็นคำแสลงที่ถือกำเนิดได้มานานหลายปีแล้ว มาจากคำว่า noid กร่อน (โดยคนไทยเอง) จากศัพท์อังกฤษ  paranoid ซึ่งแปลว่า ความวิตกกังวลว่าคนอื่นไม่ชอบหรือพยายามจะทำร้ายตัวเองแม้ว
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                                                                    &
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผีเป็นบุคคลที่เราไม่พึงปรารถนาจะพบ แต่เราชอบนินทาพวกเขาแถมยังพยายามเจอบ่อยเหลือเกินในจอภาพยนตร์ ทั้งที่ก็ไม่รู้ว่ามีตัวตนจริงหรือเปล่า ด้วยส่วนใหญ่ได้ยินกันปากต่อปาก ประสบการณ์ส่วนตัวก็ไม่ชัดเจน อาจเกิดจากความผิดปกติทางประสาทสัมผัส หรือการหลอกตัวเองก็ได้ ยิ่งหนังผีทำได้วิจิตร พิศดารออกมามากเท่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                 แปลและตัดต่อบางส่วนจากบทความ Gustav Mahler : The Austrian composer เขียนโดยเดรีก วี คุก จาก  www.britannica.com
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ทศวรรษที่ 80 ของฝรั่งคือปี 1980-1989  หรือว่าช่วง พ.ศ. 2523  ถึง พ.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถึงแม้เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) จะได้ชื่อว่าเป็น คีตกวีที่แสนเก่งกาจคนหนึ่งในยุคคลาสสิกและโรแมนติก แต่ศิลปะแขนงหนึ่งที่เขาไม่สู้จะถนัดนักคือการเขียนอุปรากร เหมือนกับ โมซาร์ท คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ หรือ โจอากีโน รอสซีนี  ดังนั้นช่วงชีวิต 50 กว่าปีของเบโธเฟนจึงสามารถสร้างอุปรากรออกมาไ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ตามความจริง คำว่า Godfather เป็นคำที่ดีมาก หมายถึงพ่อทูนหัว ของศาสนาคริสต์ที่หมายถึงใครสักคนหนึ่งยอมรับเป็นพ่อทูนหัวของเด็กซึ่งเป็นลูกของคนอื่นในพิธีศีลจุ่มหรือ Baptism เขาก็จะเป็นผู้ประกันว่าเด็กคนนั้นจะได้รับการศึกษาทางศาสนาและถ้าพ่อแม่ของเด็กคนนั้นตายก็ต้องรับอุปการะ นอกจากนี้ยังหมายถึงฝ่ายห
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 visionary ,under the shadow Prayut tries to be the most visionary politician,but he is merely under the shadow of Thacky.&