Skip to main content

    เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อยในสมัยที่เบโธเฟนยังมีชีวิตอยู่ ในหนังชีวประวัติกึ่งจินตนาการ (มาก ๆ) ของเบโธเฟนคือ Immortal Beloved ได้ใช้เพลงนี้ในการประกอบพิธีศพของเขาในช่วงต้นของหนัง ต่อไปนี้เป็นการแปลและเพิ่มเติมบางส่วนมาจากบทรีวิวโฆษณาซีดีของเว็บไซต์ Good-Music-Guide.com คนเขียนไม่ปรากฏนาม

       ลุดวิก ฟาน เบโธเฟนเป็นผู้เลื่อมใสในศาสนาเป็นยิ่งนัก แต่ตัวเขาเองแทบไม่เคยเข้าร่วมพิธีสวดเลย ถึงแม้จะเป็นคาทอลิกก็ตาม ปรัชญาของเบโธเฟนนั้นค่อนข้างจะร่วมสมัยกว่า และมีลักษณะเดียวกับแนวคิด สรรพนิยม (Pantheism)* ของตะวันออก ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่ามีสิ่งที่ทรงอำนาจเหนือสรรพสิ่ง หรือจักรวาลเองมีเป้าหมายของตัวเอง ความเชื่อของเขามาจากการต่อสู้ภายในจิตใจและมาจากความเคารพที่ต่อความงดงามของโลกใบนี้

    ดังนั้นเราจะเห็นว่างานของเขาจำนวนมากคือภาพสะท้อนของปรัชญาของเบโธเฟนเองที่เกิดจากทั้งความทุกข์และชัยชนะต่อชีวิต เขาเขียนงานเชิงศาสนาจริงๆ จังๆ เพียง 2 ชิ้น คือ Mass in C และ Missa Solemnis ซึ่งมีพื้นฐานมาจากเพลงสวดดั้งเดิมแบบนิกายคาทอลิก ในช่วงที่แต่งเพลง Mass in C ในปี 1807 เบโธเฟนยังหนุ่มแน่น ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงในกรุงเวียนนาและทั่วยุโรปในเวลาอันสั้น ถือได้ว่าเป็นช่วงแห่งชีวิตอันเปี่ยมสุขอันก่อให้เกิดซิมโฟนีหมายเลข 6 และเปียโนคอนแชร์โต้หมายเลข 3

 

                                      

                                                  ภาพจาก www.amazon.com

     ในแต่ละปี เจ้าชายนิโคเลาส์ เอสเตอร์เฮซี ที่ 2  จะทรงมีบัญชาให้แต่งเพลงสวดใหม่ ๆ เพื่อใช้ประกอบงานฉลองวันเกิดของนักบุญที่พระชายาของพระองค์ทรงมีพระนามเหมือน ตามธรรมเนียมของชาวคาทอลิก ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดินซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นอาจารย์ของเบโธเฟน มารับหน้าที่นี้ในช่วง 6 ปีแรก แต่แล้วปี 1807 เบโธเฟนก็มารับช่วงนี้ต่อ ซึ่งเป็นที่มาของ Mass in C นั้นเอง ในช่วงแรกเบโธเฟนประหวั่นกับตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้ แต่ต่อมาเขากลับพอใจกับผลงานของตน โชคร้ายที่เจ้าชายเอสเตอร์เฮซีทรงรู้สึกตรงกันข้าม เพราะคาดหวังให้คีตกวีคนใหม่แต่งเพลงตามรูปแบบเดิมของไฮเดิล แต่กลับไปพบกับเบโธเฟนที่เชื่อมั่นในตัวอย่างอย่างสูง คำตำหนิของพระองค์ต่อเพลงสวดของเบโธเฟนที่ว่า "ไร้สาระอย่างสุดทนทานและน่ารังเกียจยิ่งนัก" ทำให้ชายทั้งสองคนมีความขัดแย้งกัน  ด้วยเหตุนี้กระมังที่ทำให้เบโธเฟนเคยพูดเปรย ๆ ว่า "มีเจ้าชายหลายคนแต่มีเบโธเฟนเพียงคนเดียว"

     ในขณะที่เมโลดีและโครงสร้างของ Mass in C นั้นลึกๆ แล้วมีลักษณะแบบดนตรียุคคลาสสิก ซึ่งฟังแล้วอาจเข้าใจว่าโมซาร์ทกับไฮเดิลเป็นคนแต่ง แต่งานของเบโธเฟนต้องทำให้คนดูในยุคตกใจเป็นแน่ (โดยเฉพาะคนที่มาเข้าโบสถ์) เพราะเพลงไม่ได้เริ่มต้นโดยออร์เคสตรา แต่ Kyrie นั้นโผล่ออกมาโดยเบสล้วน ๆ ส่วนต่อมาของ Sanctus นั้นเป็นเสียงร้องพร้อมกับทิมปานี (กลองชนิดหนึ่ง) อย่างเดียว   Gloria นั้นแทบจะร้องด้วยเสียงตะโกนอันเปี่ยมสุขและจมลงใน Miserere (รูปแบบหนึ่งในเพลงสวดของคริสต์แบบดั้งเดิม) อันลึกซึ้ง เพลง Mass in C ได้ก้าวล้ำผ่านยุคของเจ้าชายเอสเตอร์เฮซีมาเป็นเพลงประสานเสียงสุดอันยิ่งใหญ่และมีความประณีตอย่างหาที่เปรียบได้ยาก แต่จริงๆ แล้ว มันกลับถูกแซงหน้าโดย Missa Solemnis งานเขียนอีกชิ้นของเบโธเฟนที่เกิดจากศรัทธาส่วนตัวอันทรงพลังที่สุด

        Missa Solemnis ถูกเขียนในช่วงท้าย ๆของชีวิตเบโธเฟน ซึ่งเป็นเวลาแห่งความยากลำบากยิ่งกว่าช่วงแรกนัก ในช่วงนี้เขาได้เขียนซิมโฟนีหมายเลข 9 และ String Quartet ชุดสุดท้าย ในปี 1819 เบโธเฟนหูเกือบจะหนวกโดยสิ้นเชิง ทั้งพลาดหวังจากความรัก โรคภัยไข้เจ็บเข้าซ้ำเติมจนจะตายในไม่กี่ปีหลังจากเขียนงานเหล่านั้นจนสำเร็จ แต่เบโธเฟนก็ยังคงเขียนลงในสมุดโน้ตว่า "แด่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงไม่เคยทอดทิ้งฉัน"

      Missa Solemnis นั้นมีจุดกำเนิดเพียงเล็ก ๆ เช่นเดียวกับเพลงสวดชิ้นแรกของเบโธเฟน ในปี 1819 องค์อุปถัมภ์ของเขาคืออาร์ชดุ๊ก รูดอล์ฟ พระอนุชาของจักรพรรดิแห่งออสเตรียทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคาร์ดินัลและเป็นอาร์คบิชอปตามลำดับ เบโธเฟนได้เริ่มต้นเขียนงานชิ้นหนึ่งเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อความเมตตาของพระองค์ เขาหมกมุ่นอยู่กับการแต่งเพลง ศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับดนตรีในโบสถ์เป็นปี ๆ และหลอมหัวใจกับวิญญาณเข้ากับงานชิ้นใหม่นี้ แต่เมื่อวันแห่งการแต่งตั้งอาร์ชดุ๊ก รูดดอล์ฟมาถึง เพลงสวดชิ้นนี้ก็ยังไม่เสร็จ จึงเป็นที่ชัดเจนต่อทุกคนรวมไปถึงอาร์ชดุ๊กว่าจุดประสงค์ของเบโธเฟนนั้นไปไกลเกินกว่าเพลงสวดเพื่อเฉลิมฉลองแบบธรรมดาๆ เพื่อนสนิทของเบโธเฟนคืออันตัน ชินด์เลอร์ ผู้ช่วยเขียนเนื้อร้องของซิมโฟนีหมายเลข 9 ได้ทำให้เราเห็นภาพของเบโธเฟนในช่วงนั้นเหมือนกับคนที่ถูกวิญญาณสิงในช่วงที่ "ลืมโลกภายนอกจนหมดสิ้น" 

     "ในห้องนั่งเล่น เบื้องหลังประตูที่ถูกล็อก เราได้ยินเสียงอาจารย์ร้องเพลงในส่วนของ Fugue** ของ Credo ทั้งร้องเพลง ทั้งโหนเสียง ทั้งกระทืบเท้า ฯลฯ ประตูถูกเปิดออก เบโธเฟนปรากฎกายต่อหน้าพวกเราพร้อมกับใบหน้าบูดบึ้งจนทำให้เรารู้สึกกลัว เขาเหมือนกับว่ากำลังอยู่ในสมรภูมิอันดุเดือดกับฝูง Contrapuntist*** ซึ่งเป็นศัตรูชั่วนิจนิรันดร์ของเขา" -ชินด์เลอร์

      ผลปรากฏก็คือในปี 1823 มันได้กลายเป็นเพลงอันยิ่งใหญ่ที่สุดของเบโธเฟน มันเป็นสิ่งที่สรุปความคิดอันลุ่มลึกของเขา ความถ่อมตนอย่างยิ่งยวดต่อหน้าศัตรู ชัยชนะเหนือโชคชะตา เกียรติคุณของมนุษยชาติในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของเนรมิตศิลป์ของพระเจ้า Missa Solemnis นั้นยึดมั่นอย่างยิ่งต่อเพลงร้องในโบสถ์ฉบับดั้งเดิมของคาทอลิก ฉันทลักษณ์ที่สำคัญห้าส่วนของเพลงคือ Kyrie, Gloria, Credo, Sanctus and Agnus Dei ถูกแบ่งเป็นบทเล็กบทน้อย ผู้ชมในปัจจุบันอาจจะเคยชินกับรูปแบบเพลงแบบแหกรีตฉีกรอยของเบโธเฟนและ Missa Solemnis ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในงานชิ้นที่สำคัญที่สุดของเขา ซึ่งถ่ายทอดความรู้สึกส่วนตัวและอลังการกว่าซิมโฟนีหมายเลขเก้านัก งานชิ้นนี้คือพินัยกรรมชิ้นสุดท้ายของเบโธเฟน.....

 

นี่คือโครงสร้างของ Missa Solemnis

Mass for soloists, chorus, & orchestra in C major, Op. 86

I. Kyrie

II. Gloria

III. Credo

IV. Sanctus

V. Agnus Dei

 

I. Kyrie

II. Gloria: Gloria in excelsis Deo

II. Gloria: Qui tollis

II. Gloria: Quoniam

 

III. Credo: Credo in unum Deum

III. Credo: Et incarnatus est

III. Credo: Et resurrexit

IV. Sanctus: Sanctus, Sanctus, Sanctus

IV. Sanctus: Benedictus

V. Agnus Dei: Agnus Dei, qui tollis peccata numdi

V. Agnus Dei: Dona nobis pacem

 

* แนวคิดที่เชื่อว่าทุกสิ่งในจักรวาลนี้ล้วนเป็นองคาพยพของพระผู้เป็นเจ้า พระเจ้ากับโลกและจักรวาลเป็นหนึ่งเดียวกัน แนวคิดนี้จะไม่เหมือนกับผู้นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมากที่เชื่อในพระเจ้าที่ตัวบุคคลและอยู่ต่างหากจากโลกและจักรวาลที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น

**Fugue และ ***Contrapunist คือการนำเอาเสียงที่อยู่กันคนละโทนหรือคนละบรรทัดมาประสานในเวลาเดียวกันหรือไล่ ๆ กัน

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ  มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44  ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect  Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ  กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982)  สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก