หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซี่จึงอ่อนโยน นุ่มนวล แต่บางครั้งก็ดูสับสนจากการแหกกรอบของดนตรียุคก่อนหน้านี้เหมือนดนตรีดังกล่าวมิผิดเพี้ยน ส่วนคตีกวีในยุคใกล้เคียงกันที่ถูกจัดให้อยู่ในตระกูลเดียวกันได้แก่เมอริซ ราเวล์
เดบูซี่ (อ่านเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า เดอบื่อซี่ แต่ขอเรียกชื่อเป็นสำเนียงอังกฤษ) มีชื่อเต็มว่า Achille-Claude Debussy เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ปี 1862 ที่เมืองแซงต์ เชอร์แมง อัง ลาเยซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงปารีสมากนัก ที่บ้านเปิดร้านขายถ้วยชามที่เป็นกระเบื้องเคลือบ นอกจากนี้บิดาของเขายังทำงานสารพัดอย่าง ไม่ว่าเซลล์แมนหรือเสมียน ส่วนมารดารับจ้างเย็บผ้าและเอาใจพร้อมเลี้ยงดูเดบูซี่อย่างมากทำให้วัยเด็กของเขาเป็นช่วงที่มีความสุข และเป็นครูสอนดนตรีคนแรกที่ค้นพบพรสวรรค์ทางดนตรีของเขา ครูสอนดนตรีท่านนี้นามว่า มาดาม โมต์ เดอ เฟอร์วิลล์ ผู้เคยเป็นลูกศิษย์ของจอร์จ ฟริเดริก โชแปง มาก่อน ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าโชแปงย่อมมีอิทธิพลต่อเดบูซี่โดยทางอ้อม
ภาพจาก www.settemuse.it
ต่อมาโมต์ได้ส่งเขาไปเรียนที่โรงเรียนสอนดนตรีในกรุงปารีส ในปี 1872 เป็นเวลา 10 ปี ในช่วงแรก ๆเขาอยากจะเป็นนักเล่นเปียโนที่เก่งกาจ แต่แล้วก็เปลี่ยนใจเพราะว่าสอบตกถึง 2 ครั้ง เลยหันไปเรียนวิชาการแต่งเพลง จนได้รางวัลจากงานประกวดดนตรีที่ยิ่งใหญ่ชื่อว่า ปริซ์ เดอ โรเมและได้รับทุนไปเรียนต่อที่อิตาลีเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่งานของเขากำลังพัฒนาไปได้อย่างมหาศาล
เดบูซี่ยังทำงานเป็นครูสอนดนตรีให้กับบรรดาลูก ๆของ เศรษฐีนีที่เป็นแม่ม่ายนามว่ามาดาม นาเดซดา ฟอน เม็ค ผู้เคยให้การอุปถัมภ์ปีเตอร์ ไชคอฟสกี มาก่อน รวมไปถึงเล่นดนตรีในวงทรีโอ (มีนักดนตรีเล่นดนตรี 3 ชิ้นคือเปียโน เชลโลและไวโอลิน) ที่เธอเป็นคนก่อตั้งในช่วงปี 1879-1892 เดบูซี่มักจะคบค้ากับบรรดากวีโดยเฉพาะแบบสัญลักษณ์นิยมและจิตรกร ซึ่งเขาชื่นชอบมากถึงกลับบอกว่าถ้าไม่ได้เป็นนักดนตรีก็คงเป็นนักจิตรกร จึงไม่น่าประหลาดใจว่าทำไมเขาถึงแต่งเพลงเหมือนกับศิลปะแนวอิมเพรสชั่นนิสต์อย่างคล็อด โมเนต์ นอกจากนี้ เดบูซี่ยังได้รับอิทธิพลจากริชาร์ด แว็คเนอร์ ผู้แต่งอุปรากรขวัญใจของฮิตเลอร์ เขาชื่นชอบคีตกวีท่านนี้มาก เคยเดินทางไปชมอุปรากรของแว็คเนอร์ที่โรงละครไบรอยท์ เฟสต์สปีลเฮาส์ ในช่วงปี 1788 และซาบซึ้งกับเรื่อง Parsifal อย่างยิ่ง ต่อมาเขาก็ปฏิเสธดนตรีของแว็คเนอร์และหันมาสร้างแบบดนตรีของตนเอง
ในช่วงทศวรรษที่ 1790 เดบูซี่ได้สร้างสรรค์เพลงมากมายรวมไปถึงอุปรากรชื่อดังคือ Pelleas et Melisande (ซึ่งกว่าจะนำออกแสดงก็ปี 1902) รวมไปถึงบทเพลงอันงดงามและแปลกใหม่นามว่า "บทนำสู่ยามบ่ายของตัวฟอน" (Prelude pour Apres-midi d’un faun)ในปี 1894 ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับเขาเป็นอย่างมาก อนึ่งตัวฟอนเป็นสัตว์ในเทพนิยายครึ่งคนครึ่งแพะ เพลงจะทำนองอ่อนโยนและฝันๆ ด้วยเดบูซี่ต้องการบรรยายถึงความรู้สึกของตัวฟอนแบบครึ่งหลับครึ่งตื่นในตอนบ่าย สำหรับผมเองกลับนึกถึงภาพของแมวตัวหนึ่งที่กำลังหลับฝันบนต้นลำใยในสวนแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านของตัวเอง ซึ่งก็น่าจะเปลี่ยนชื่อเป็น Prelude pour Apres-midi d’un chat
(ตัวFaun ในการ์ตูนของดีสนีย์)
ภาพจาก www.dvdizzy.com
นอกจากนี้เขายังแต่งดนตรีแบบออร์เคสตราชื่อว่า Nocturne suites ด้วย Nocturne แปลว่ากลางคืน ดังนั้นเพลงจึงอ่อนโยนเหมือนกับยามราตรี La Mer (ทะเล) และ Images (ภาพ) ในช่วงปี 1893-1909 ที่ลืมไม่ได้เป็นอันขาดคือเปียโนโซโลที่นักเปียโนทุกคนต้องรู้จักคือ Claire de lune (แสงจันทร์) จากดนตรีอัลบั้ม Suite bergamasque และเพลง reverie (ความฝัน) ซึ่งเดบูซี่แต่งในปี 1890 สำหรับ Claire de lune นี่ไม่ทราบเป็นอย่างไรผมชอบฟังและนึกถึงพระจันทร์เต็มดวงของคืนวันลอยกระทงซึ่งเป็นเทศกาลที่งดงามที่สุดในรอบปีสำหรับผม ส่วนในช่วงระหว่างปี 1909-1910 เพลงของเดบูซี่ที่ไพเราะมากคือ La fille aux chevux de lin หรือหญิงสาวผู้มีผมเหมือนผ้าป่าน จากอัลบั้ม preludes ซึ่งผมฟังแล้วกลับไปนึกถึงเย็นวันฝนตกที่บรรยากาศดูเนิ่บนาบเศร้าสร้อยระคนด้วยความงามของธรรมชาติในสวนของโมเนต์ แน่นอนว่าต้องมีภาพของเม็ดฝนตกลงมากระทบพื้นน้ำในสระที่เต็มไปด้วยดอกบัวใต้สะพานโค้งแบบญี่ปุ่น
ภาพจาก www.bytra.com
แต่สิ่งที่เดบูซี่คงอยากจะลืม ในขณะที่คนรอบข้างไม่ยอมลืมคือความสัมพันธ์ของเขากับหญิงสาวหลายคน ซึ่งหนึ่งในนั้นนามว่าโรซาลีพยายามต้องการจะฆ่าตัวตายหลังจากที่เขาสลัดรักไปแต่งงานกับผู้หญิงอีกคนหนึ่ง นามว่าเอมมา บาร์ดาซ์ แทน แต่การฆ่าตัวตายของโรสาลีไม่สำเร็จ ทำให้เพื่อนๆ ศิลปินและคีตกวี หลายคนหันมาเห็นใจเธอและเกลียดเดบูซี่แทน อย่างไรก็ตาม เดบูซี่ก็ได้ลูกสาวหนึ่งคนจากบาร์ดาซ์ ในปี 1905 ปีเดียวกับที่เขาแต่งเพลง La Mer เสร็จ แต่เขาก็แต่งเพลงแนวสวีต (Suite) หรือบทประพันธ์ที่ประกอบด้วยบทเพลงหลายๆ บทนำมาบรรเลงต่อกันเป็นชุด ที่ชื่อ Children's Corner (มุมของเด็ก)ให้แก่ลูกของตัวเองใน 3 ปีหลังจากนั้น
ภาพจาก amazon.com
เดบูซี่ต้องชะงักในการสร้างสรรค์งานเมื่อพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งและอาการเริ่มกำเริบ ตอกย้ำโดยสงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้นในปี 1914 อย่างไรก็ตามเดบูซี่ก็ยังพยายามสร้างสรรค์งานจนสุดความสามารถ เพลงสุดท้ายที่เขาแต่งคือโซนาตาสำหรับเปียโนและไวโอลินหมายเลข 4 ซึ่งออกแสดงในปี 1917 เดบูซี่เสียชีวิตในวันที่ 25 มีนาคม ปี 1918 ในกรุงปารีส ท่ามกลางกระสุนปืนใหญ่ที่ถูกระดมยิงอย่างหนักจากกองทัพเยอรมัน เนื่องจากประเทศชาติกำลังอยู่ในภาวะคับขัน งานศพของเขาจึงถูกจัดอย่างเรียบง่าย ปราศจากการตกแต่งอย่างหรูหราตามที่พึงจะได้รับ อย่างไรก็ตาม เขาก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศสและของโลก
เพลงของเดบูซีถูกนำไปประกอบภาพยนตร์และโฆษณามากมาย เช่น หากใครนึกทำนองของเพลง Claire de lune หรือ แสงจันทร์ ไม่ออก ก็ลองนึกถึงหนังเรื่อง Seven years in Tibet ที่แบร์ด พิตต์ แสดงเป็นนักไต่เขาชาวออสเตรียที่เดินทางพลัดหลงไปยังทิเบตและท่านทะไลลามะได้มอบกล่องเพลงที่บรรเลงเพลงนี้ให้เขา
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44 ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982) สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด