Skip to main content
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซี่จึงอ่อนโยน นุ่มนวล แต่บางครั้งก็ดูสับสนจากการแหกกรอบของดนตรียุคก่อนหน้านี้เหมือนดนตรีดังกล่าวมิผิดเพี้ยน ส่วนคตีกวีในยุคใกล้เคียงกันที่ถูกจัดให้อยู่ในตระกูลเดียวกันได้แก่เมอริซ ราเวล์
 
เดบูซี่ (อ่านเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า เดอบื่อซี่ แต่ขอเรียกชื่อเป็นสำเนียงอังกฤษ) มีชื่อเต็มว่า Achille-Claude Debussy เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ปี 1862 ที่เมืองแซงต์ เชอร์แมง อัง ลาเยซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงปารีสมากนัก ที่บ้านเปิดร้านขายถ้วยชามที่เป็นกระเบื้องเคลือบ นอกจากนี้บิดาของเขายังทำงานสารพัดอย่าง ไม่ว่าเซลล์แมนหรือเสมียน ส่วนมารดารับจ้างเย็บผ้าและเอาใจพร้อมเลี้ยงดูเดบูซี่อย่างมากทำให้วัยเด็กของเขาเป็นช่วงที่มีความสุข และเป็นครูสอนดนตรีคนแรกที่ค้นพบพรสวรรค์ทางดนตรีของเขา ครูสอนดนตรีท่านนี้นามว่า มาดาม โมต์ เดอ เฟอร์วิลล์ ผู้เคยเป็นลูกศิษย์ของจอร์จ ฟริเดริก โชแปง มาก่อน ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าโชแปงย่อมมีอิทธิพลต่อเดบูซี่โดยทางอ้อม
 
 
                                           
                                       ภาพจาก www.settemuse.it
 
 
ต่อมาโมต์ได้ส่งเขาไปเรียนที่โรงเรียนสอนดนตรีในกรุงปารีส ในปี 1872 เป็นเวลา 10 ปี ในช่วงแรก ๆเขาอยากจะเป็นนักเล่นเปียโนที่เก่งกาจ แต่แล้วก็เปลี่ยนใจเพราะว่าสอบตกถึง 2  ครั้ง เลยหันไปเรียนวิชาการแต่งเพลง จนได้รางวัลจากงานประกวดดนตรีที่ยิ่งใหญ่ชื่อว่า ปริซ์ เดอ โรเมและได้รับทุนไปเรียนต่อที่อิตาลีเป็นเวลา 2  ปี ซึ่งเป็นช่วงที่งานของเขากำลังพัฒนาไปได้อย่างมหาศาล
 
เดบูซี่ยังทำงานเป็นครูสอนดนตรีให้กับบรรดาลูก ๆของ เศรษฐีนีที่เป็นแม่ม่ายนามว่ามาดาม นาเดซดา ฟอน เม็ค ผู้เคยให้การอุปถัมภ์ปีเตอร์ ไชคอฟสกี มาก่อน รวมไปถึงเล่นดนตรีในวงทรีโอ (มีนักดนตรีเล่นดนตรี 3 ชิ้นคือเปียโน เชลโลและไวโอลิน) ที่เธอเป็นคนก่อตั้งในช่วงปี 1879-1892 เดบูซี่มักจะคบค้ากับบรรดากวีโดยเฉพาะแบบสัญลักษณ์นิยมและจิตรกร ซึ่งเขาชื่นชอบมากถึงกลับบอกว่าถ้าไม่ได้เป็นนักดนตรีก็คงเป็นนักจิตรกร จึงไม่น่าประหลาดใจว่าทำไมเขาถึงแต่งเพลงเหมือนกับศิลปะแนวอิมเพรสชั่นนิสต์อย่างคล็อด โมเนต์ นอกจากนี้ เดบูซี่ยังได้รับอิทธิพลจากริชาร์ด แว็คเนอร์ ผู้แต่งอุปรากรขวัญใจของฮิตเลอร์ เขาชื่นชอบคีตกวีท่านนี้มาก เคยเดินทางไปชมอุปรากรของแว็คเนอร์ที่โรงละครไบรอยท์ เฟสต์สปีลเฮาส์  ในช่วงปี 1788 และซาบซึ้งกับเรื่อง Parsifal อย่างยิ่ง ต่อมาเขาก็ปฏิเสธดนตรีของแว็คเนอร์และหันมาสร้างแบบดนตรีของตนเอง
 
ในช่วงทศวรรษที่ 1790 เดบูซี่ได้สร้างสรรค์เพลงมากมายรวมไปถึงอุปรากรชื่อดังคือ Pelleas et Melisande (ซึ่งกว่าจะนำออกแสดงก็ปี 1902) รวมไปถึงบทเพลงอันงดงามและแปลกใหม่นามว่า "บทนำสู่ยามบ่ายของตัวฟอน" (Prelude pour Apres-midi d’un faun)ในปี 1894 ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับเขาเป็นอย่างมาก อนึ่งตัวฟอนเป็นสัตว์ในเทพนิยายครึ่งคนครึ่งแพะ เพลงจะทำนองอ่อนโยนและฝันๆ ด้วยเดบูซี่ต้องการบรรยายถึงความรู้สึกของตัวฟอนแบบครึ่งหลับครึ่งตื่นในตอนบ่าย สำหรับผมเองกลับนึกถึงภาพของแมวตัวหนึ่งที่กำลังหลับฝันบนต้นลำใยในสวนแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านของตัวเอง ซึ่งก็น่าจะเปลี่ยนชื่อเป็น  Prelude pour Apres-midi d’un chat
 
 
                               
 
 
                                         (ตัวFaun ในการ์ตูนของดีสนีย์)
                                          ภาพจาก  www.dvdizzy.com
 
 
นอกจากนี้เขายังแต่งดนตรีแบบออร์เคสตราชื่อว่า Nocturne suites  ด้วย Nocturne แปลว่ากลางคืน ดังนั้นเพลงจึงอ่อนโยนเหมือนกับยามราตรี  La Mer (ทะเล) และ Images (ภาพ) ในช่วงปี 1893-1909 ที่ลืมไม่ได้เป็นอันขาดคือเปียโนโซโลที่นักเปียโนทุกคนต้องรู้จักคือ Claire de lune (แสงจันทร์) จากดนตรีอัลบั้ม Suite bergamasque และเพลง reverie (ความฝัน) ซึ่งเดบูซี่แต่งในปี 1890  สำหรับ Claire de lune นี่ไม่ทราบเป็นอย่างไรผมชอบฟังและนึกถึงพระจันทร์เต็มดวงของคืนวันลอยกระทงซึ่งเป็นเทศกาลที่งดงามที่สุดในรอบปีสำหรับผม ส่วนในช่วงระหว่างปี 1909-1910 เพลงของเดบูซี่ที่ไพเราะมากคือ  La fille aux chevux de lin หรือหญิงสาวผู้มีผมเหมือนผ้าป่าน จากอัลบั้ม preludes   ซึ่งผมฟังแล้วกลับไปนึกถึงเย็นวันฝนตกที่บรรยากาศดูเนิ่บนาบเศร้าสร้อยระคนด้วยความงามของธรรมชาติในสวนของโมเนต์ แน่นอนว่าต้องมีภาพของเม็ดฝนตกลงมากระทบพื้นน้ำในสระที่เต็มไปด้วยดอกบัวใต้สะพานโค้งแบบญี่ปุ่น
 
 
                                     
                                               ภาพจาก   www.bytra.com
 
แต่สิ่งที่เดบูซี่คงอยากจะลืม ในขณะที่คนรอบข้างไม่ยอมลืมคือความสัมพันธ์ของเขากับหญิงสาวหลายคน ซึ่งหนึ่งในนั้นนามว่าโรซาลีพยายามต้องการจะฆ่าตัวตายหลังจากที่เขาสลัดรักไปแต่งงานกับผู้หญิงอีกคนหนึ่ง นามว่าเอมมา บาร์ดาซ์ แทน แต่การฆ่าตัวตายของโรสาลีไม่สำเร็จ ทำให้เพื่อนๆ ศิลปินและคีตกวี หลายคนหันมาเห็นใจเธอและเกลียดเดบูซี่แทน อย่างไรก็ตาม เดบูซี่ก็ได้ลูกสาวหนึ่งคนจากบาร์ดาซ์ ในปี 1905 ปีเดียวกับที่เขาแต่งเพลง La Mer เสร็จ แต่เขาก็แต่งเพลงแนวสวีต (Suite) หรือบทประพันธ์ที่ประกอบด้วยบทเพลงหลายๆ บทนำมาบรรเลงต่อกันเป็นชุด ที่ชื่อ Children's Corner (มุมของเด็ก)ให้แก่ลูกของตัวเองใน 3 ปีหลังจากนั้น 
 
 
 
 
                                      
 
                                             ภาพจาก amazon.com
 
 
เดบูซี่ต้องชะงักในการสร้างสรรค์งานเมื่อพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งและอาการเริ่มกำเริบ ตอกย้ำโดยสงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้นในปี 1914 อย่างไรก็ตามเดบูซี่ก็ยังพยายามสร้างสรรค์งานจนสุดความสามารถ เพลงสุดท้ายที่เขาแต่งคือโซนาตาสำหรับเปียโนและไวโอลินหมายเลข 4 ซึ่งออกแสดงในปี 1917 เดบูซี่เสียชีวิตในวันที่ 25 มีนาคม ปี 1918 ในกรุงปารีส ท่ามกลางกระสุนปืนใหญ่ที่ถูกระดมยิงอย่างหนักจากกองทัพเยอรมัน เนื่องจากประเทศชาติกำลังอยู่ในภาวะคับขัน งานศพของเขาจึงถูกจัดอย่างเรียบง่าย ปราศจากการตกแต่งอย่างหรูหราตามที่พึงจะได้รับ อย่างไรก็ตาม เขาก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศสและของโลก 
 
เพลงของเดบูซีถูกนำไปประกอบภาพยนตร์และโฆษณามากมาย เช่น หากใครนึกทำนองของเพลง Claire de lune หรือ แสงจันทร์ ไม่ออก ก็ลองนึกถึงหนังเรื่อง Seven years in Tibet ที่แบร์ด พิตต์ แสดงเป็นนักไต่เขาชาวออสเตรียที่เดินทางพลัดหลงไปยังทิเบตและท่านทะไลลามะได้มอบกล่องเพลงที่บรรเลงเพลงนี้ให้เขา 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 "Whoever you are, I have always depended on the kindness of strangers." Blanche Dubois  ไม่ว่าคุณเป็นใคร ฉันมักจะพึ่งพ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3  ของเยอรมัน นั่นคือ Bach  Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      ขออุทิศบทความนี้ให้กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
             เป็นเรื่องตลกถึงแม้ผมเอาแต่นำเสนอแต่เรื่องของดนตรีคลาสสิก แต่ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผมเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อนจนถึงปัจจุบันคือดนตรีแจ๊ส และผมฟังดนตรีชนิดนี้เสียก่อนจะฟังดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจังเสียอีก (ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าในป
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แน่นอนว่าคนไทยย่อมรู้จักเป็นอย่างดีกับฉากของหญิงสาวผมสั้นสีทองในเสื้อและกระโปรงสีดำพร้อมผ้าคลุมด้านหน้าลายยาวที่เริงระบำพร้อมกับร้องเพลงในทุ่งกว้าง เข้าใจว่าต่อมาคงกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังที่มีสาวม้งร้องเพลง "เทพธิดาดอย"อันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่เนื้อเพลง Lover's Concerto ที่ด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก