Skip to main content
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซี่จึงอ่อนโยน นุ่มนวล แต่บางครั้งก็ดูสับสนจากการแหกกรอบของดนตรียุคก่อนหน้านี้เหมือนดนตรีดังกล่าวมิผิดเพี้ยน ส่วนคตีกวีในยุคใกล้เคียงกันที่ถูกจัดให้อยู่ในตระกูลเดียวกันได้แก่เมอริซ ราเวล์
 
เดบูซี่ (อ่านเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า เดอบื่อซี่ แต่ขอเรียกชื่อเป็นสำเนียงอังกฤษ) มีชื่อเต็มว่า Achille-Claude Debussy เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ปี 1862 ที่เมืองแซงต์ เชอร์แมง อัง ลาเยซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงปารีสมากนัก ที่บ้านเปิดร้านขายถ้วยชามที่เป็นกระเบื้องเคลือบ นอกจากนี้บิดาของเขายังทำงานสารพัดอย่าง ไม่ว่าเซลล์แมนหรือเสมียน ส่วนมารดารับจ้างเย็บผ้าและเอาใจพร้อมเลี้ยงดูเดบูซี่อย่างมากทำให้วัยเด็กของเขาเป็นช่วงที่มีความสุข และเป็นครูสอนดนตรีคนแรกที่ค้นพบพรสวรรค์ทางดนตรีของเขา ครูสอนดนตรีท่านนี้นามว่า มาดาม โมต์ เดอ เฟอร์วิลล์ ผู้เคยเป็นลูกศิษย์ของจอร์จ ฟริเดริก โชแปง มาก่อน ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าโชแปงย่อมมีอิทธิพลต่อเดบูซี่โดยทางอ้อม
 
 
                                           
                                       ภาพจาก www.settemuse.it
 
 
ต่อมาโมต์ได้ส่งเขาไปเรียนที่โรงเรียนสอนดนตรีในกรุงปารีส ในปี 1872 เป็นเวลา 10 ปี ในช่วงแรก ๆเขาอยากจะเป็นนักเล่นเปียโนที่เก่งกาจ แต่แล้วก็เปลี่ยนใจเพราะว่าสอบตกถึง 2  ครั้ง เลยหันไปเรียนวิชาการแต่งเพลง จนได้รางวัลจากงานประกวดดนตรีที่ยิ่งใหญ่ชื่อว่า ปริซ์ เดอ โรเมและได้รับทุนไปเรียนต่อที่อิตาลีเป็นเวลา 2  ปี ซึ่งเป็นช่วงที่งานของเขากำลังพัฒนาไปได้อย่างมหาศาล
 
เดบูซี่ยังทำงานเป็นครูสอนดนตรีให้กับบรรดาลูก ๆของ เศรษฐีนีที่เป็นแม่ม่ายนามว่ามาดาม นาเดซดา ฟอน เม็ค ผู้เคยให้การอุปถัมภ์ปีเตอร์ ไชคอฟสกี มาก่อน รวมไปถึงเล่นดนตรีในวงทรีโอ (มีนักดนตรีเล่นดนตรี 3 ชิ้นคือเปียโน เชลโลและไวโอลิน) ที่เธอเป็นคนก่อตั้งในช่วงปี 1879-1892 เดบูซี่มักจะคบค้ากับบรรดากวีโดยเฉพาะแบบสัญลักษณ์นิยมและจิตรกร ซึ่งเขาชื่นชอบมากถึงกลับบอกว่าถ้าไม่ได้เป็นนักดนตรีก็คงเป็นนักจิตรกร จึงไม่น่าประหลาดใจว่าทำไมเขาถึงแต่งเพลงเหมือนกับศิลปะแนวอิมเพรสชั่นนิสต์อย่างคล็อด โมเนต์ นอกจากนี้ เดบูซี่ยังได้รับอิทธิพลจากริชาร์ด แว็คเนอร์ ผู้แต่งอุปรากรขวัญใจของฮิตเลอร์ เขาชื่นชอบคีตกวีท่านนี้มาก เคยเดินทางไปชมอุปรากรของแว็คเนอร์ที่โรงละครไบรอยท์ เฟสต์สปีลเฮาส์  ในช่วงปี 1788 และซาบซึ้งกับเรื่อง Parsifal อย่างยิ่ง ต่อมาเขาก็ปฏิเสธดนตรีของแว็คเนอร์และหันมาสร้างแบบดนตรีของตนเอง
 
ในช่วงทศวรรษที่ 1790 เดบูซี่ได้สร้างสรรค์เพลงมากมายรวมไปถึงอุปรากรชื่อดังคือ Pelleas et Melisande (ซึ่งกว่าจะนำออกแสดงก็ปี 1902) รวมไปถึงบทเพลงอันงดงามและแปลกใหม่นามว่า "บทนำสู่ยามบ่ายของตัวฟอน" (Prelude pour Apres-midi d’un faun)ในปี 1894 ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับเขาเป็นอย่างมาก อนึ่งตัวฟอนเป็นสัตว์ในเทพนิยายครึ่งคนครึ่งแพะ เพลงจะทำนองอ่อนโยนและฝันๆ ด้วยเดบูซี่ต้องการบรรยายถึงความรู้สึกของตัวฟอนแบบครึ่งหลับครึ่งตื่นในตอนบ่าย สำหรับผมเองกลับนึกถึงภาพของแมวตัวหนึ่งที่กำลังหลับฝันบนต้นลำใยในสวนแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านของตัวเอง ซึ่งก็น่าจะเปลี่ยนชื่อเป็น  Prelude pour Apres-midi d’un chat
 
 
                               
 
 
                                         (ตัวFaun ในการ์ตูนของดีสนีย์)
                                          ภาพจาก  www.dvdizzy.com
 
 
นอกจากนี้เขายังแต่งดนตรีแบบออร์เคสตราชื่อว่า Nocturne suites  ด้วย Nocturne แปลว่ากลางคืน ดังนั้นเพลงจึงอ่อนโยนเหมือนกับยามราตรี  La Mer (ทะเล) และ Images (ภาพ) ในช่วงปี 1893-1909 ที่ลืมไม่ได้เป็นอันขาดคือเปียโนโซโลที่นักเปียโนทุกคนต้องรู้จักคือ Claire de lune (แสงจันทร์) จากดนตรีอัลบั้ม Suite bergamasque และเพลง reverie (ความฝัน) ซึ่งเดบูซี่แต่งในปี 1890  สำหรับ Claire de lune นี่ไม่ทราบเป็นอย่างไรผมชอบฟังและนึกถึงพระจันทร์เต็มดวงของคืนวันลอยกระทงซึ่งเป็นเทศกาลที่งดงามที่สุดในรอบปีสำหรับผม ส่วนในช่วงระหว่างปี 1909-1910 เพลงของเดบูซี่ที่ไพเราะมากคือ  La fille aux chevux de lin หรือหญิงสาวผู้มีผมเหมือนผ้าป่าน จากอัลบั้ม preludes   ซึ่งผมฟังแล้วกลับไปนึกถึงเย็นวันฝนตกที่บรรยากาศดูเนิ่บนาบเศร้าสร้อยระคนด้วยความงามของธรรมชาติในสวนของโมเนต์ แน่นอนว่าต้องมีภาพของเม็ดฝนตกลงมากระทบพื้นน้ำในสระที่เต็มไปด้วยดอกบัวใต้สะพานโค้งแบบญี่ปุ่น
 
 
                                     
                                               ภาพจาก   www.bytra.com
 
แต่สิ่งที่เดบูซี่คงอยากจะลืม ในขณะที่คนรอบข้างไม่ยอมลืมคือความสัมพันธ์ของเขากับหญิงสาวหลายคน ซึ่งหนึ่งในนั้นนามว่าโรซาลีพยายามต้องการจะฆ่าตัวตายหลังจากที่เขาสลัดรักไปแต่งงานกับผู้หญิงอีกคนหนึ่ง นามว่าเอมมา บาร์ดาซ์ แทน แต่การฆ่าตัวตายของโรสาลีไม่สำเร็จ ทำให้เพื่อนๆ ศิลปินและคีตกวี หลายคนหันมาเห็นใจเธอและเกลียดเดบูซี่แทน อย่างไรก็ตาม เดบูซี่ก็ได้ลูกสาวหนึ่งคนจากบาร์ดาซ์ ในปี 1905 ปีเดียวกับที่เขาแต่งเพลง La Mer เสร็จ แต่เขาก็แต่งเพลงแนวสวีต (Suite) หรือบทประพันธ์ที่ประกอบด้วยบทเพลงหลายๆ บทนำมาบรรเลงต่อกันเป็นชุด ที่ชื่อ Children's Corner (มุมของเด็ก)ให้แก่ลูกของตัวเองใน 3 ปีหลังจากนั้น 
 
 
 
 
                                      
 
                                             ภาพจาก amazon.com
 
 
เดบูซี่ต้องชะงักในการสร้างสรรค์งานเมื่อพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งและอาการเริ่มกำเริบ ตอกย้ำโดยสงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้นในปี 1914 อย่างไรก็ตามเดบูซี่ก็ยังพยายามสร้างสรรค์งานจนสุดความสามารถ เพลงสุดท้ายที่เขาแต่งคือโซนาตาสำหรับเปียโนและไวโอลินหมายเลข 4 ซึ่งออกแสดงในปี 1917 เดบูซี่เสียชีวิตในวันที่ 25 มีนาคม ปี 1918 ในกรุงปารีส ท่ามกลางกระสุนปืนใหญ่ที่ถูกระดมยิงอย่างหนักจากกองทัพเยอรมัน เนื่องจากประเทศชาติกำลังอยู่ในภาวะคับขัน งานศพของเขาจึงถูกจัดอย่างเรียบง่าย ปราศจากการตกแต่งอย่างหรูหราตามที่พึงจะได้รับ อย่างไรก็ตาม เขาก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศสและของโลก 
 
เพลงของเดบูซีถูกนำไปประกอบภาพยนตร์และโฆษณามากมาย เช่น หากใครนึกทำนองของเพลง Claire de lune หรือ แสงจันทร์ ไม่ออก ก็ลองนึกถึงหนังเรื่อง Seven years in Tibet ที่แบร์ด พิตต์ แสดงเป็นนักไต่เขาชาวออสเตรียที่เดินทางพลัดหลงไปยังทิเบตและท่านทะไลลามะได้มอบกล่องเพลงที่บรรเลงเพลงนี้ให้เขา 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เข้าใจว่าผลงานของ William Shakespeare ที่คนไทยรู้จักกันดีรองจากเรื่อง Romeo and Julius ก็คือวานิชเวนิส หรือ Merchant of Venice ด้วยเหตุที่ล้นเกล้ารัชกาลที่หกทรงแปลออกมาเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับเด็กนักเรียนได้อ่านกัน และประโยค ๆ หนึ่งกลายเป็นประโยคยอดฮิตที่ยกย่องดนตรีว่า &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเพลงหรือ musical ที่มีสีสันมากที่สุดเรื่องหนึ่งในทศวรรษที่ห้าสิบและหกสิบ เราก็คงจะนึกถึงเรื่อง West Side Story เป็นเรื่องแรก ๆ อาจจะก่อน Singin' in The Rain หรือ Sound of Music เสียด้วยซ้ำ ด้วยหนังเรื่องนี้มีจุดเด่นคือเพลงทั้งบรรเลงและเพลงร้องที่แสนไพเราะ ฝีมือการกำกับวงของวาทยากรอ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มักเป็นที่เข้าใจว่าอเมริกาเป็นประเทศแห่งความเท่าเทียมกัน อาจด้วยอเมริกานั้นไม่เคยเปลี่ยนผ่านยุคศักดินาเหมือนกับประเทศในเอเชียและยุโรป อเมริกาถึงแม้จะมีชนชั้นกลางมากแต่บรรดาในชนชั้นกลางก็มีการแบ่งแบ่งแยกที่ดีที่สุดคือเงิน รองลงมาก็ได้แก่ฐานะทางสังคม สีผิว เพศ ฯลฯ เอาเข้าจริงๆ ไม่มีสังคมไหนในโลกท
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    1.นอยด์ เป็นคำแสลงที่ถือกำเนิดได้มานานหลายปีแล้ว มาจากคำว่า noid กร่อน (โดยคนไทยเอง) จากศัพท์อังกฤษ  paranoid ซึ่งแปลว่า ความวิตกกังวลว่าคนอื่นไม่ชอบหรือพยายามจะทำร้ายตัวเองแม้ว
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                                                                    &
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผีเป็นบุคคลที่เราไม่พึงปรารถนาจะพบ แต่เราชอบนินทาพวกเขาแถมยังพยายามเจอบ่อยเหลือเกินในจอภาพยนตร์ ทั้งที่ก็ไม่รู้ว่ามีตัวตนจริงหรือเปล่า ด้วยส่วนใหญ่ได้ยินกันปากต่อปาก ประสบการณ์ส่วนตัวก็ไม่ชัดเจน อาจเกิดจากความผิดปกติทางประสาทสัมผัส หรือการหลอกตัวเองก็ได้ ยิ่งหนังผีทำได้วิจิตร พิศดารออกมามากเท่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                 แปลและตัดต่อบางส่วนจากบทความ Gustav Mahler : The Austrian composer เขียนโดยเดรีก วี คุก จาก  www.britannica.com
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ทศวรรษที่ 80 ของฝรั่งคือปี 1980-1989  หรือว่าช่วง พ.ศ. 2523  ถึง พ.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถึงแม้เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) จะได้ชื่อว่าเป็น คีตกวีที่แสนเก่งกาจคนหนึ่งในยุคคลาสสิกและโรแมนติก แต่ศิลปะแขนงหนึ่งที่เขาไม่สู้จะถนัดนักคือการเขียนอุปรากร เหมือนกับ โมซาร์ท คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ หรือ โจอากีโน รอสซีนี  ดังนั้นช่วงชีวิต 50 กว่าปีของเบโธเฟนจึงสามารถสร้างอุปรากรออกมาไ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ตามความจริง คำว่า Godfather เป็นคำที่ดีมาก หมายถึงพ่อทูนหัว ของศาสนาคริสต์ที่หมายถึงใครสักคนหนึ่งยอมรับเป็นพ่อทูนหัวของเด็กซึ่งเป็นลูกของคนอื่นในพิธีศีลจุ่มหรือ Baptism เขาก็จะเป็นผู้ประกันว่าเด็กคนนั้นจะได้รับการศึกษาทางศาสนาและถ้าพ่อแม่ของเด็กคนนั้นตายก็ต้องรับอุปการะ นอกจากนี้ยังหมายถึงฝ่ายห
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 visionary ,under the shadow Prayut tries to be the most visionary politician,but he is merely under the shadow of Thacky.&