ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความทรงจำของตัวละครเข้ามาแทรกแซงพื้นที่ของความเป็นจริงมากเท่าเรื่องที่ 2 และเรื่องนี้ได้สะท้อนให้เห็นตัวตนของเฟลลินี่ได้ชัดเจนกว่า สำหรับ La Dolce Vita ยังเป็นผลงานชิ้นแรกที่เฟลลินีแยกตัวเองออกจากตระกูลลัทธินวสัจนิยม (Neo-realism) ซึ่งเคยยิ่งใหญ่ในอิตาลีในช่วงปลายและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการเปลี่ยนจากชีวิตของชนรากหญ้ามาเป็นชนชั้นกลางแทน ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตในช่วง 7 วัน 7 คืนของมาร์เชลโล รูบินี (มาร์เชลโล มาสโตรเอนนี่) นักข่าวหนุ่มเจ้าสำราญซึ่งชีวิตวุ่นวายไปงานและกิจกรรมบันเทิงกับชนชั้นกลางใหม่ของอิตาลีที่เต็มไปด้วยคนนิสัยประหลาด ๆ (เฟลลินีให้สัมภาษณ์ว่าเกิดจากประสบการณ์การเดินทางที่ไปพบคนมากหน้าหลายตาของเขาเอง) แน่นอนว่ามาร์เชลโลต้องพาตัวเองไปพัวพันบรรดาสาวๆ ทั้งหลายที่มีตัวตนที่แตกต่างหลากหลาย แต่ปัญหาก็คือเขาไม่เคยพบตัวตนที่แท้จริงของตัวเองเลย ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์เพียง 1 รางวัลในสาขาเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (ภาพยนตร์ที่ชนะเลิศในปีนั้นคือ West Side Story) และชนะเลิศใบปาล์มทองคำที่เมืองคานส์รวมไปถึงเวทีอื่นๆ อีกมากมาย หากมีการจัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาลของโลก ภาพยตร์เรื่องนี้ก็มักจะถูกรวมในลำดับต้นๆ อีกด้วย
ภาพจาก www.moviepostershop.com
โปรดระวัง บทความต่อไปนี้คือการแนะนำและการวิเคราะห์ภาพยนตร์ จึงมีการเปิดเผยใจความสำคัญทั้งหมด
La Dolce Vita ดูเหมือนจะมีเนื้อหาที่เรียบเงียบแต่ความจริงแฝงด้วยปรัชญาชีวิตและการวิพากษ์สังคมอิตาลีอันเน่าเฟะในยุคหลังสงครามโลกที่ทุนนิยมและลัทธิวัตถุนิยมเข้าครอบงำอย่างเจ็บแสบ กระนั้นก็สร้างปัญหาให้คนที่ไม่คุ้นเคยกับบริบทของสังคมอิตาลีและศาสนาคริสต์อยู่มากเอาการ (ดังนั้นการตีความผมก็ต้องอาศัยความคิดเห็นบางส่วนจากคนอื่นอีกที คงไม่ว่ากัน) ภาพยนตร์เปิดฉากมาก็สร้างความอื้อฉาวโดยให้เฮลิคอปเตอร์ใช้เส้นลวดยกรูปปั้นพระเยซูบินว่อนไปทั่วกรุงโรมเพื่อถวายองค์สันตะปะปาที่นครรัฐวาติกัน แต่สามารถตีความได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของการที่สังคมอิตาลีตัดรากเหง้าของตนออกจากศาสนา และให้เฮลิคอปเตอร์อีกลำที่ติดตามนั้นมีนักข่าวอยู่ด้วย 2 คนซึ่งหนึ่งในนั้นคือมาร์เชลโลร่อนลงมาจีบพวกสาวๆ ที่ใส่ชุดบิกีนีอาบแดดอยู่บนดาดฟ้าราวกับจะบอกว่าภาพยนตร์ต่อไปนี้เป็นเรื่องทางเนื้อหนังมังสาเสียทั้งหมด (ถ้าลองเป็นเมืองไทยเช่นให้เฮลิคอปเตอร์บรรทุกพระพุทธรูปและตามด้วยภาพของสาว ๆ คงจะโดนแบนจนเสียหนังไปเลย) ซึ่งก็จริงเพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ของภาพยนตร์จะนำเสนอการแสวงหาความสุขของหนุ่มสาวชนชั้นกลางจากการดื่มกินเต้นรำและเกมประหลาด ๆในงานเลี้ยงกลางคืนชนิดดื่มเมรัยแก้วต่อแก้ว บุหรี่มวนต่อมวน ไม่เช้าไม่เลิก (ภาพยนตร์เรื่องอื่นที่นำเสนอชีวิตแบบนี้ได้อย่างยอดเยี่ยมคือ La Notte ของมิคัลอันเจโล อันโตนีโอนี)
ฉากที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่น่าเบื่อ ไร้เป้าหมายของชนชั้นกลางอิตาลีก็คือมาร์เชลโลกับแม็ดดาเลนา(อานุก แอมเม่)ไฮโซสาว ที่ขับรถไปเรื่อยเปื่อยในกรุงโรมยามค่ำคืนได้ตีสนิทกับโสเภณีที่ขายตัวอยู่บริเวณนั้นเพื่อพาทั้งคู่ไปมีสัมพันธ์สวาทในบ้านโกโรโกโสของหล่อน แต่นั้นเป็นเพียงการแสวงหาความแสวงหาความสนุกตื่นเต้นของคนทั้งคู่ (หากเป็นภาพยนตร์ปัจจุบันก็คงจะแสดงถึงฉากร่วมรักพร้อมกัน 3 คนไปด้วย) มาร์เชลโลยังไปตกหลุมรักกับซิลเวียดาราสาวเจ้าเสน่ห์ที่เดินทางมาโฆษณาตัวเองท่ามกลางการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ของสื่ออิตาลี แต่ดูเหมือนสาวเจ้าจะไม่ค่อยเล่นกับมาร์เชลโลด้วยเท่าไรนักอาจเพราะมีชายอื่นเข้ามาแห่แหนมากเกินไป แต่ฉากที่น่าประทับใจก็คือเขาและเธอเตร็ดเตร่ไปในกรุงโรมยามกลางคืนและเธอก็ได้โดดลงไปเล่นน้ำในสระที่มีน้ำพุอันเป็นภาพนิ่งที่สำคัญของภาพยนตร์ก็ว่าได้ (แต่เบื้องหลังการถ่ายทำถือว่าเป็นฉากที่ทำได้ยากเย็นที่สุด) กระนั้นมาร์เชลโลยังต้องเวียนหัวกับเอ็มม่าแฟนสาวที่เพียรจะจับเขาแต่งงานให้ได้ถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตาย ความสัมพันธ์ของคนทั้งคู่เป็นสิ่งที่น่าสนใจเพราะทั้งคู่โกรธเคืองและทะเลาะกันแต่ก็คืนดีกันอย่างรวดเร็วเหมือนเด็ก มาร์เชลโลหลงรักและหลายครั้งตกอยู่ใต้อำนาจเอ็มม่าแต่ไม่อยากจะให้เธอผูกมัดจนเกินไป เมื่อเขาพยายามหนีสุดท้ายก็กลับมาหาเธอจนได้
สิ่งสำคัญหนึ่งที่ภาพยนตร์ต้องการโจมตีอย่างหนักหน่วงคือความไร้ศีลธรรมของสื่อโดยสะท้อนผ่านบรรดานักข่าวซึ่งเป็นเพื่อนของมาร์เชลโลซึ่งมุ่งเสนอการทำข่าวอย่างไม่สนใจต่อความเป็นส่วนตัวของคนอื่น ฉากตลกที่ขำไม่ออกก็คือมาร์เชลโลถูกดาราหนุ่มอเมริกันทำร้ายร่างกายด้วยความหึงหวงต่อซิลเวีย พวกช่างภาพก็กรูกันไปถ่ายภาพกันสนุกสนานแทนที่จะทำให้การช่วยเหลือพวกเดียวกัน นอกจากนี้ภาพยนตร์ยังให้สื่อมวลชนกระล่อนไม่เลิกโดยการปั่นข่าวเด็ก 2 คนที่อ้างว่าได้พบกับมาดอนน่าหรือพระนางมาเรียนั้นเอง ทำให้ชาวอิตาลีจำนวนมากแห่กันไปสวดขอพรกันยกใหญ่ หลายคนพาคนแก่ป่วยหนักไปเพื่อจะได้พรให้หายแต่ก็สิ้นใจเสียก็มี อันนี้สื่อให้เห็นคล้ายคลึงกับ The Bicycle Thief ของผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลีอีกคนคือ วิคตอริโอ เดอ ซิก้าที่สื่อให้เห็นถึงความงมงายของชาวอิตาลีในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มอบสมบัติอันล้ำค่าให้กับวัฒนธรรมแบบประชานิยมของโลกนั้นคือคือต้นกำเนิดของคำว่า ปาปารัสซี่หรือนักข่าวที่ชอบติดตามดาราเพื่อถ่ายรูปอย่างไม่คิดชีวิตนั้นคือเพื่อนนักข่าวของมาร์เชลโลคนหนึ่งมีชื่อว่า ปาปารัสโซ่ (paparazzo) โดยคำว่า paparazzi เป็นพหูพจน์ คำนี้คนเขียนบทได้มาจากชื่อของเจ้าของโรงแรมในงานเขียนสารคดีท่องเที่ยวในอิตาลีของนักเขียนชาวอังกฤษคนหนึ่ง
ภาพจาก www.i.ytimg.com
La Dolce Vita คือภาษาอิตาลีแปลว่า The Sweet Life หรือ"ชีวิตอันแสนหวาน" ดูผิวเผินว่ามาร์เชลโลมีความสุขอยู่กับชีวิตแบบนี้ของเขาแต่ว่าลึก ๆแล้วเขากลับเบื่อหน่าย ระอากับชีวิตของเด็กที่ไม่รู้จักโตของตัวเอง ภาพยนตร์ยังชี้ให้เห็นว่าสาเหตุหนึ่งก็เพราะเขาไม่ได้ใกล้ชิดกับบิดามากนัก ภาพในอุดมคติของมาร์เชลโลจึงถ่ายโอนไปยังเพื่อนของเขาคนหนึ่งคือสไตเนอร์ นักดนตรีและปัญญาชน ที่มีครอบครัวอันอบอุ่น ภรรยาและลูกน่ารัก 2 คนคือภาพอันแสนสมบูรณ์แบบที่มาร์เชลโลอิจฉาและหลงไหล แต่แล้วภาพยนตร์ก็ได้ทำเขาตกใจสุดขีดโดยการให้สไตน์เนอร์สังหารลูกและตัวเขาเอง จึงไม่แปลกที่เฟลลินีจะให้สไตเนอร์คือตัวแทนของชนชั้นกลางอิตาลีที่มีชีวิตสมบูรณ์แบบ เป็นพวกอนุรักษ์นิยมที่แสวงหาแต่สิ่งดีงาม แต่ลึกๆ แล้วกลับกลัวที่จะถูกขังภายในกรอบที่ตัวเองสร้างขึ้นมา แน่นอนว่าเมื่อขาดต้นแบบแล้วมาร์เชลโลย่อมสิ้นหลังและหันไปหมกมุ่นกับใช้ชีวิตอันแสนหวานของตนต่อไป นักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าแท้ที่จริงสไตเนอร์ก็คืออีกมุมหนึ่งของตัวตนของมาร์เชลโลนั้นเอง นอกจากนี้เฟลลินีก็เสียดสีชนชั้นกลางที่ชอบทำตัวเหมือนกับเป็นปัญญาชนทั้งที่ไม่รู้เรื่องอะไรจริงๆ ผ่านแขกในงานของสไตเนอร์ที่มาเชลโลเข้าร่วมด้วย
ผู้หญิงอีกคนในชีวิตมาร์เชลโลที่น่ากล่าวถึงก็คือ เปาโล เด็กสาว 16 ปีที่มาร์เชลโลรู้จักเพราะไปทานอาหารในร้านที่เธอเป็นเด็กเสิร์ฟ ลักษณะอันงดงามใสซื่อบริสุทธิ์ของเธอถูกนักวิชาการตีความว่าเปรียบได้ดังนางฟ้าหรือความงดงามทางจิตวิญญาณของมนุษย์ (ลักษณะเช่นนี้ยังถูกพัฒนาไปเป็นคลอเดีย ดาราสาวในฝันของกุยโด้พระเอกในเรื่อง 8 1/2) ฉากสุดท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้ถือได้ว่าทรงพลังและสื่อความหมายอย่างมากมาย บรรดาไฮโซทั้งหลายรวมทั้งมาร์เชลโลที่เมากันสุดเหวี่ยง ละเล่นกันสุดชีวิตทั้งคืนได้เดินทางไปเที่ยวที่ชาดหาดที่อยู่ไม่ไกลในยามเช้าตรู่ ณ ที่นั้นชาวประมงเหวี่ยงแหได้ปลาประหลาดที่ตายมาหลายวันได้ทำให้ชาวไฮโซแห่กันไปดู มาร์เชลโลได้พบกับเปาโลอีกครั้ง เธอได้พยายามย้ำเตือนอะไรบางอย่างให้แก่เขาแต่เพราะทั้งคู่อยู่ไกลกันทำให้เสียงคลื่นกลบเสียงของเธอ ทำให้คนดูได้คาดเดาจากอากัปกิริยาของเธอต่างๆ นาๆ มีคนตีความว่าเปาโลนั้นพยายามเตือนเขาให้กลับไปเขียนหนังสือหรือสร้างสรรค์ศิลปะอันจะเป็นตัวสร้างคุณค่าให้กับชีวิตมากกว่าจะอยู่แบบพวกสุขนิยมหรือ Hedonism อันมีซากปลาประหลาดอาจจะหมายถึงชีวิตอันเน่าเหม็นของชนชั้นกลาง ส่วนปฏิกิริยาของมาร์เชลโลหลังจากนั้นคือไม่ยอมเข้าใจเธอก่อนจะโบกมือลากลับไปรวมกลุ่มเพื่อนไฮโซเพื่อดื่มด่ำอยู่กับ "ชีวิตอันแสนหวาน"ต่อไป
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913 และหนังสือเล่มนี้ก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
"Whoever you are, I have always depended on the kindness of strangers." Blanche Dubois ไม่ว่าคุณเป็นใคร ฉันมักจะพึ่งพ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3 ของเยอรมัน นั่นคือ Bach Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ขออุทิศบทความนี้ให้กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เป็นเรื่องตลกถึงแม้ผมเอาแต่นำเสนอแต่เรื่องของดนตรีคลาสสิก แต่ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผมเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อนจนถึงปัจจุบันคือดนตรีแจ๊ส และผมฟังดนตรีชนิดนี้เสียก่อนจะฟังดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจังเสียอีก (ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าในป
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แน่นอนว่าคนไทยย่อมรู้จักเป็นอย่างดีกับฉากของหญิงสาวผมสั้นสีทองในเสื้อและกระโปรงสีดำพร้อมผ้าคลุมด้านหน้าลายยาวที่เริงระบำพร้อมกับร้องเพลงในทุ่งกว้าง เข้าใจว่าต่อมาคงกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังที่มีสาวม้งร้องเพลง "เทพธิดาดอย"อันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่เนื้อเพลง Lover's Concerto ที่ด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก