Skip to main content
ตามความจริง คำว่า Godfather เป็นคำที่ดีมาก หมายถึงพ่อทูนหัว ของศาสนาคริสต์ที่หมายถึงใครสักคนหนึ่งยอมรับเป็นพ่อทูนหัวของเด็กซึ่งเป็นลูกของคนอื่นในพิธีศีลจุ่มหรือ Baptism เขาก็จะเป็นผู้ประกันว่าเด็กคนนั้นจะได้รับการศึกษาทางศาสนาและถ้าพ่อแม่ของเด็กคนนั้นตายก็ต้องรับอุปการะ นอกจากนี้ยังหมายถึงฝ่ายหญิงก็ได้คือ Godmother แต่ด้วยอิทธิพลของหนังเรื่องนี้ ความหมายจึงเปลี่ยนเป็นเจ้าพ่อมาเฟีย
 
ภาพยนตร์เรื่อง The Godfather สมควรอย่างยิ่งที่ได้รับเลือกว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก ไปพร้อมๆ กับ ภาคสอง ทุกอย่างสมบูรณ์แบบไม่ว่าการลำดับ ภาพ เนื้อเรื่อง การแสดงที่ยอดเยี่ยมของมาร์ลอน แบรนโดในบทบาทของดอน วีโต คอร์ลีโอเน (ได้รับเลือกจากผู้ชมทั่วโลกว่าเป็นตัวละครที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลกภาพยนตร์ โดยเฉพาะฉากที่นั่งอุ้มแมวเหมียวเหมือน ดร.โนในหนังเจมส์ บอนด์) และอัลปาชิโนกับโรเบิร์ต เดอ นีโรก็ได้แจ้งเกิดกันเต็มๆ จากเรื่องนี้ (เพราะหน้าแบบชาวเกาะซิซีเลี่ยน)จะว่าด้วยบุคลิกส่วนตัวหรืออะไรก็แล้วแต่ ภาพของเจ้าพ่อยังคงติดตัวไปกับ เดอนีโรเพียงคนเดียว จนมาถึงปัจจุบัน
 
แน่นอนว่าฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา นอกจากจะได้รับคำชมแล้ว ก็ต้องถูกกล่าวหาว่า Glorify หรือเชิดชูพวกมาเฟียให้เป็นพระเอก โดยที่ในภาคแรกไม่มีการเอ่ยคำว่ามาเฟียแม้แต่คำเดียว คาดว่าน่าจะเพราะคำสั่งของพวกมาเฟีย อย่างไรก็ตาม ในภาคสอง คอปโปลาก็ได้แสดงให้เห็นถึงวิถีอันยิ่งใหญ่ของมาเฟียว่าแท้ที่จริงเปรียบได้กับคนบ้า หรือคนสิ้นหวังที่สร้างกำแพงขึ้นกักขังตัวเองออกจากคนรอบข้างที่ตนรัก (พร้อมกับมีคำว่ามาเฟียโผล่มาด้วย)
 
นอกจากความสมบูรณ์ในตัวหนังแล้ว เหตุใดหนังเรื่อง The Godfather ภาคหนึ่งและสอง จึงได้รับคำนิยมอย่างมากมาย ? (ภาคสามไม่ต้องไปพูดเพราะออกมหาสมุทรแปรซิฟิกไปโน้น แต่ความจริงก็มีส่วนดีอยู่บ้าง ไม่ว่าแสดงถึงความเก็บกดของไมเคิลจากการฆ่าพี่ชายตัวเอง การพยายามฟอกขาวให้กับตัวเองผ่านกิจกรรมทางศาสนา จนไปถึงการตายของเขาแบบสูงสุดกลับสู่สามัญ) 
 
หลังจากดูหนังเรื่องนี้มาหลายรอบ ผมก็ได้เรียนรู้สัจธรรมอะไรหลายอย่างในชีวิต ที่เด่นชัดที่สุดคือสัญชาติญาณด้านมืดของมนุษย์ที่มุ่งเน้นในการประหัตประหารกันเพื่อที่ตัวเองจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ และความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน แม้แต่เพื่อนที่กอดคอกันมาด้วยกัน ก็ยังต้องกำจัดเพราะว่าหักหลังกัน (เช่นเทสซิโอซึ่งร่วมมือกับเจ้าพ่ออีกแก๊งค์เพื่อกำจัดไมเคิล แต่โดนเล่นงานเสียก่อน) ในภาคหนึ่งยังไม่มีการฆ่ากันระหว่างพี่กับน้อง แต่มีภาคสองที่พระเอกจำต้องสังหารพี่ชายคือเฟรโด ที่ไม่ได้เรื่องและทรยศน้องของตัวเอง (ถือว่าเป็นฉากการฆ่าที่ค่อนข้างคลาสสิกมากคือให้ลูกน้องฆ่าพี่ชายตอนออกไปตกปลาด้วยกันและไมเคิลดูอยู่ห่างๆ จากบ้านพัก) จะว่าไปแล้ว ไมเคิลไม่ต่างอะไรจาก  ฮิตเลอร์หรือสตาลินเลย 
 
แน่นอนว่าคนดูตาดำๆ เช่นเราและสังคมย่อมไม่บูชา สรรเสริญคนชั่วแบบฮิตเลอร์ (ความจริงคนชั่วแบบโจรเสื้อนอกยังมีเยอะแยะไปที่สามารถเป็นฮิตเลอร์ได้) แต่ก็แน่นอนที่ว่าคนดูทั่วไปมีสิทธิ์ว่าตัวเองจะฝันเฟื่องว่าตัวเองเปรียบได้ดังเจ้าพ่อที่สุขุมลุ่มลึกแบบไมเคิลในขณะที่ความเป็นจริงตัวเองเป็นลูกน้องต้องให้เจ้านายด่าเช้าด่าเย็น หรือว่าไปติดต่อหน่วยงานราชการไหนก็ช้าเอื่อยเฉื่อย ไม่ได้รับความยุติธรรมจากสังคม (อย่างเช่นสัปเหร่อที่มาขอความช่วยเหลือจาก คอร์ลีโอเนในตอนต้นเรื่อง) หากมาจินตนาการว่าตัวเองมีอำนาจ สั่งคนโน้นคนนี้ที่เราเหม็นขี้หน้าได้ ก็คงจะดี ดังคำพูดที่ว่า "ข้าจะยื่นข้อเสนอที่แกปฏิเสธไม่ได้" หรือ "แกปฏิเสธข้าได้ครั้งเดียว และข้าจะไม่เซ้าซี้อีก" (เพราะแกจะได้ไปนอนเป็นเพื่อนปลาอยู่ใต้ทะเลโน้น) บรรดานักการเมือง ตำรวจ พ่อค้าใหญ่ (ที่เราทั้งเหม็นขี้หน้าและทึ่งในอำนาจของคนเหล่านั้น) จะมาซุกใต้ปีกของเรา
 
ฉากที่น่าสะใจคนดูก็คงเป็นตอนที่ไมเคิลเล่าให้แฟนสาวฟังถึงตอนที่พ่อของเขากับลูกน้องไปเล่นงานผู้จัดการที่ไม่ยอมรับ จอห์นนี ฟอนแทนมาเป็นนักร้องในสังกัด โดยจะให้เลือกเอาว่าจะมีลายเซ็นต์รับจอห์นมาเป็นนักร้องหรือว่ามันสมองของเขาอยู่บนกระดาษ (แน่นอนคนที่โกรธหนังเรื่องนี้ที่สุดก็ได้แก่แฟรงค์ ซิเนตรา ที่ ว่ากันว่าเป็นต้นแบบของ จอห์น ซึ่งได้รับการอุปถัมน์ จาก ดอน คอร์ลีโอเน  ดังนั้นเมื่อปู่แฟรงค์ได้พบกับพูโซก็ไม่ยอมพูดด้วย) หรือฉากโหด ๆที่ผู้กำกับผู้ไม่ยอมรับจอห์นเป็นดาราต้องพบกับหัวม้าที่แสนจะรักอยู่บนเตียงนอนของตัวเองตอนใกล้รุ่ง ย่อมทำให้ผู้ดูสะใจเพราะได้คิดเล่นๆว่า ถ้าได้ทำเช่นนั้นกับคนที่รู้สึกว่าเรื่องมากด้วย สีหน้าหมอนั้นจะเป็นอย่างไร (ข้าไม่ต้องเซ้าซี้แกแล้ว ใช้ปืนดีกว่า ง่ายดี)
 
นอกจากนี้ The Godfather ยังมีคุณสมบัติอันสุดแสนน่าประทับใจสำหรับเจ้าพ่อ คือทำให้เจ้าพ่อมีเนื้อหนัง มีอารมณ์ มีความรักเหมือนคนทั่วไป ความน่าเกรงขามของ ดอนวีโต้และความสง่างามของไมเคิลทำให้คนดูประทับใจ ถึงขนาดส่งผลกระทบถึงภาพพจน์ของมาเฟียตัวจริง ว่ากันว่า แต่เดิมไม่เคยจูบมือกันเลย ก็หันมาเลียนแบบหนังบ้าง หรือว่า อิทธิพลที่มีต่อหนังเจ้าพ่อฮ่องกง ซึ่งเราคงจะจำเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้กันได้ ผมเคยอ่านหนังสือและเห็นภาพของเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (แก๊งเขียว) ตัวจริงแล้ว หน้าเหมือนกับซีอุยใส่ชุดหรูหรา ดังนั้นอย่าได้ประหลาดใจว่าติงลี่นั้นไซร์คือไมเคิลนั่นเอง นอกจากนี้หนังยังเชิดชูตระกูลคอร์ลีโอเนเช่น ทั้ง วีโตและไมเคิลต่างรักและซื่อสัตย์กับครอบครัว (ตรงกันข้ามกับ เฟรโดที่มีอะไรกับสาวเสิร์ฟพร้อมกันถึงสองคน) ตระกูลนี้ไม่ค้ายาเสพติด แต่เน้นการพนัน (ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังพอยอมรับกันได้)ในขณะที่ ตัววีโต้เองดูเป็นคนมีสัจจะ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณแต่รู้ทันคน และพัฒนาการอันแสนน่าทึ่งของไมเคิลจาก College boy (เด็กมหา'ลัย) ที่ไร้เดียงสามาเป็นเจ้าพ่อที่ร้ายลึกกว่าพ่อและซานติโนพี่ชายเสียอีก 
 
สิ่งที่พิสูจน์ความร้ายลึกของไมเคิ้ลคือตอนที่เขาร่วมพิธีศีลจุ่มในโบสถ์เพื่อรับเป็น godfather ของหลานชาย สลับไปพร้อมๆ กับการเข่นฆ่าพวก 5  ตระกูล ทำให้ภาพดูขัดแย้งกัน อย่างมีเสน่ห์ เมื่อบาทหลวงถามเขาว่า "Do you renounce Satan ?" (ท่านไม่ยุ่งเกี่ยวกับซาตานใช่ไหม) และไมเคิลตอบยอมรับด้วยสีหน้าเรียบๆ ไปพร้อมกับมือปืนของเขาเข่นฆ่าฝ่ายตรงกันข้ามอย่างเมามัน กลายเป็นแรงบันดาลใจให้หนังจำนวนนับไม่ถ้วนต้องเลียนแบบ 
 
สำหรับหนังไทยดูเหมือนไม่ค่อยเลียนแบบเท่าไร ผู้ร้ายในหนังไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่เจ็ดจนไปถึงทศวรรษที่สิบและ ยี่สิบ เจ้าพ่อก็จะเป็นไทยแท้ หัวเราะอย่างไม่มีเหตุผล ชอบเตะลูกน้องและฆ่าคนเล่นสามเวลาหลังอาหาร จะมาเหมือน The Godfather บ้างก็หนังเรื่อง อุบัติโหดที่มีลิขิต เอกมงคลกุล และหนุ่มเสกเล่น เจ้าพ่อดูคลาสสิกและสมจริงดีหรือไม่ก็ละครช่องเจ็ดเรื่องสารวัตรใหญ่ ที่เจ้าพ่อเหมือนจะลอกมาจาก The Godfather ภาคสองมาเลย 
 
สิ่งสำคัญที่สุดของหนังอีกอย่างหนึ่งคือเพลงประกอบของนีโน โรตา ซึ่งดูจะมีมิติที่ลุ่มลึกมากทำให้คนดูรู้สึกถึงความอลังการ ความลึกลับและความเศร้าสร้อยได้ในธีม ๆเดียวกัน 
 
ชู้รักเก่าของซัดดัม ฮุซเซนอดีตจอมเผด็จการของอิรัก เปิดเผยว่าถึงแม้ซัดดัมจะเกลียดอเมริกา (โดยเฉพาะตอนบุชเป็นประธานาธิบดี)แต่เขาก็ชอบของอเมริกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ The Godfather (คิดว่าทั้งสองภาค) เพราะคอร์ลีโอเนมีชีวิตเหมือนกับเขานั่นคือทั้งคู่ขึ้นมาเป็นใหญ่โดยมีอดีตที่เท่ากับศูนย์ แต่ซัมดัมอาจจะลืมบอกไปว่า เพราะทั้งคู่ต่างขึ้นเป็นใหญ่โดยปีนหัวกระโหลกคนด้วย
 
 
 
 
                                                                  
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    อุปรากรที่คนไทยน่าจะรู้จักไม่แพ้ Madame Butterfly ก็คือ Carmen ซึ่งเป็นอุปรากรฝรั่งเศสที่แต่งโดยคตีกวีที่เราไม่เคยคุ้นเคยนักและก็ไม่ถือว่าดังเหมือนเบโธเฟนหรือโมซาร์ทคือจอร์จ บิเซต์ เขาเน้นไปที่การแต่งอุปรากรและอุปรากรก็ดังแค่ไม่กี่เรื่อง แต่พฤติกรรมตัวเอกของ Carmen ทำให้อุปรากรเรื่อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                               
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   Bicycle Thief เป็นภาพยนตร์ขาวดำสัญชาติอิตาลี ที่ออกฉายในปี 1948  และมักถูกจัดว่าเป็นตระกูลนวสัจนิยมหรือ Neo Realism ที่สะท้อนชีวิตของคนรากหญ้าเป็นหลัก   หากใครที่ไม่คุ้นเคยกับภาพยนตร์ตระกูลนวสัจนิยม ก็ลองไปดูภาพยนตร์สมัยทศวรรษที่ 10 และ 20 ของท่านมุ้ยเกี่ยวกับชีวิตของคนตัวเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาชญากรรมและการลงทัณฑ์เป็นชื่อแปลมาจากภาษาอังกฤษคือ Crime and Punishment ซึ่งเป็นนวนิยายชิ้นเอกของนักเขียนนามอุโฆษชาวรัสเซียคือฟีออดอร์ ดอสโตเยฟสกี (Fyodor Dostoevsky) ผู้มีชีวิตในช่วงระหว่างปี 1821 จนถึงปี 1881 เขาเป็นที่รู้จักอย่างดีในนวนิยายเรื่อง Brothers Karamazov ที่แสนจะยาวเหยียดและซับซ้อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อพูดถึงอันโตนีโอ วิวัลดี (Antonio Vivaldi) คนก็ต้องนึกถึงเพลงยอดนิยมของเขาคือ Four Seasons หรือฤดูกาลทั้ง 4 (ต่อมา กลายเป็นชื่อโรงแรมอันอื้อฉาว) เป็นอันดับแรก ทั้งที่คีตกวีท่านนี้มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เฮอร์มันน์ เฮสเส เป็นนักเขียนแนวจินตนิยม (Romanticism) และแนวอัตถิภาวนิยม (Existentialism) ที่ประทับใจผมมาก เริ่มจากการถูกอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยบังคับให้อ่านหนังสือของเขาที่คนไทยรู้จักกันดีคือ สิทธารถะ จากนั้นเมื่อได้อ่านเรื่องอื่นๆ ที่คนไทยคืออาจารย์สดใสแปลไม่ว่า ปีเตอร์คาเมนซิน &nb
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แปลมาจากบทความของคุณอิลิซาเบท ชวาร์ม เกลสเนอร์  จาก www.w3.rz-berlin.mpg.de Symphony No.1, Op.21 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                           
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์