Skip to main content
ถึงแม้เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) จะได้ชื่อว่าเป็น คีตกวีที่แสนเก่งกาจคนหนึ่งในยุคคลาสสิกและโรแมนติก แต่ศิลปะแขนงหนึ่งที่เขาไม่สู้จะถนัดนักคือการเขียนอุปรากร เหมือนกับ โมซาร์ท คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ หรือ โจอากีโน รอสซีนี  ดังนั้นช่วงชีวิต 50 กว่าปีของเบโธเฟนจึงสามารถสร้างอุปรากรออกมาได้เพียงเรื่องเดียวนั่นคือ Fidelio
 
กระนั้นกว่าจะเข็น Fidelioออกมาได้ เบโธเฟนก็ต้องใช้พรแสวงในการศึกษาอย่างจริงจัง (ตามมุมมองของคนทั่วไป โมซาร์ทเก่งเพราะพรสวรรค์และเบโธเฟนเก่งเพราะพรแสวง ความจริงคนทั้งคู่ก็อาศัยพรทั้งสองประการนี้ไปพร้อมๆ กัน) เบโธเฟนลงทุนไปเรียนกับครูเพลงต่าง ๆ รวมไปถึง อันโตนีโอ ซาเลียรี นักแต่งอุปรากรที่สุดแสนโด่งดังในยุคของเขา ในส่วนของการร้องเพลง ช่วงปี 1800-1802  ซาเสียรีดีใจหายช่วยสอนแบบให้เปล่า เบโธเฟนจึงตอบแทนโดยการแต่งเพลงแบบ Variation รวมไปถึงอุทิศโซนาต้าสำหรับเปียโนและไวโอลินจำนวน 3 เพลงให้แก่ท่านอาจารย์ (เป็นที่น่าสนใจว่าถ้าซาเลียรีเป็นผู้ฆ่าโมซาร์ทเหมือนที่เล่าลือจริง เบโธเฟนซึ่งชื่นชอบโมซาร์ทก็ไม่น่าจะมาสนิทสนมกับครูเพลงท่านนี้เป็นอันขาด) 
 
ที่สำคัญ เบโธเฟนยังต้องอาศัยนักเขียนบทละคร นามว่าโจเซฟ ซอห์นไลท์เนอร์ซึ่งก็ดัดแปลงบทมาจากละครเรื่อง Leonore ของญอง นิโคลา บูลลีย์ ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส และได้แรงบันดาลใจจากหญิงคนหนึ่งที่ปลอมตัวเป็นผู้ชายเพื่อช่วยเหลือสามีจากคุกบาสตีย์ (คุกที่ขังนักโทษการเมืองในฝรั่งเศส) แต่ในอุปรากรของเบโธเฟนเป็นฉากในคุกใต้ดินสเปน ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ที่ลีโอนอราปลอมเป็นชายหนุ่มที่ชื่อฟิเดลีโอมาช่วยสามีของเธอคือฟลอเรสตาน นักหนังสือพิมพ์ที่ถูกคุมขังในคุกใต้ดินโดยดอน ปีซาร์โร หัวหน้าเรือนจำจอมอิทธิพล ฟิเดริโอทำงานเป็นลูกน้องของรอคโค พัศดีเฒ่า เช่นเดียวกับฮาคิโน คนเฝ้าประตูซึ่งลุ่มหลงลูกสาวของรอคโคคือมาร์เซลลิน แต่ฝ่ายหญิงไม่ยอมเล่นด้วยและกลับมาปฏิพัทธ์ต่อตัวฟิเดริโอ เพื่อให้เป็นไปตามแผนการ เธอก็ต้องตกกระไดพลอยโจน เป็นคู่รักและว่าที่เจ้าบ่าวของมาร์เซลลินไปด้วย ดอน ปีซาโรได้รับทราบข่าวว่าดอน เฟอร์ดินันด์รัฐมนตรีจะมาตรวจคุกเพราะได้รับข่าวว่า ปีซาโร ทำตัวเป็นเผด็จการ เขาจึงคิดจะสังหารฟลอเรสตานเพื่อปกปิดความผิดของตัวเอง ในท้ายสุดแล้ว ฟิเดริโอจะสามารถช่วยสามีของตนได้หรือไม่ จึงน่าตื่นเต้นว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป
 
 
                                    
                                                ภาพจาก www.vienna-concert.com
 
(ลีโอนอราขณะเอาขนมปังให้แก่ฟลอเรสตานในคุกใต้ดิน ด้วยความมืด เขาไม่สามารถเห็นหล่อนอย่างชัดเจน แต่ด้วยความซาบซึ้งใจจึงร้องเพลงอวยพรหล่อน "Euch werde Lohn in bessern Welten" หรือ "ท่านจะได้รับรางวัลในสวรรค์" )
 
 
อุปรากรเรื่องนี้เดิมทีมีอยู่ 3  องค์ ภายใต้ชื่อเดิมคือ Leonore ถูกนำออกแสดงที่เทียเทอร์ อันเดอร์ ไวน์  ที่กรุงเวียนนา ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ปี 1805 แต่สิ่งที่ไม่น่าชื่นชมคือกรุงเวียนนาถูกยึดครองโดยกองทัพฝรั่งเศส เนื้อหาของอุปรากรที่มีเรื่องการเมืองเป็นฉากหลังของความรักและความเสียสละ ทำให้เพื่อนๆ ของเบโธเฟนกลัวว่า จะทำให้พวกนายทหารฝรั่งเศสที่มานั่งดูกันเป็นหมู่คณะเกิดความไม่พอใจ จึงกดดันให้เบโธเฟน ปรับเปลี่ยนเนื้อหาใหม่ ให้เหลือแค่ 2 องค์แถมยังต้องเขียนเพลงโหมโรงใหม่ ในปี 1806 และมาปรับเปลี่ยนเนื้อหาของอุปรากรกับจังหวะเพลงอีกครั้งในปี 1814 ท้ายสุดเขาต้องแต่งเพลงโหมโรงถึง 4 ครั้ง (Leonore Overture No. 1-3 และเพลงโหมโรง Fidelio)
 
 
สาเหตุอื่นที่ทำให้ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเพราะนอกจากเบโธเฟนจะเป็นพวก Perfectionist คือชอบความสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับโยฮันเนส บาร์มส์แล้ว เขามีอาการผิดปกติทางหู (ไม่ใช่หนวกทีเดียว หากแต่ค่อย ๆ แย่ลงตามอายุขัยและมาหนวกสนิทก็เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน) ทำให้เบโธเฟนแต่งทำนองและจังหวะของการร้องในลักษณะที่ยากเย็นสำหรับการร้อง (เป็นปัญหาเดียวกับที่เขาพบในซิมโฟนีหมายเลข 9 ที่ท่อนสุดท้ายมีเพลงประสานเสียงอันแสนโด่งดัง) เป็นที่น่าจดใจว่าในการแสดงอีกครั้งของอุปรากรเรื่องนี้ในปี 1814 ที่คาร์ทเนอร์เตอร์ เทียเตอร์ เด็กหนุ่มวัย 17 ปี นามว่า ฟรานซ์ ชูเบิร์ตถึงกลับยอมขายตำราเรียนเพื่อจะซื้อตั๋วเข้ามาชม ชูเบิร์ตชื่นชอบเบโธเฟนอย่างสุดซึ้ง ถึงขั้นแสดงเจตจำนงขอเป็นหนึ่งในบรรดาผู้แบกโลงของเบโธเฟนเพื่อไปฝังในพิธีศพ
 
 
                                       
                                            ภาพจาก www.commdiginews.com
                                
 
(รูปของกลุ่มนักโทษที่ตอบจบถูกปลดปล่อยจากคุกเพื่อพบกับลูกเมียและร้องประสานเสียง "Wer ein holdes Weib errungen" เพื่อยกย่องความกล้าหาญของลีโอนอรา)
 
 
Fidelio ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก และเป็นที่โด่งดังจนถึงปัจจุบันถึงแม้จะมีผู้วิจารณ์ว่าอุปรากรของเขาดูเหมือนจะขาดความลุ่มลึกและความสำเร็จเกิดจากบารมีของเบโธเฟนเป็นสำคัญ ว่าง่ายๆ คือคนที่รักเบโธเฟนก็จะรักอุปรากรเรื่องนี้ไปด้วย มากกว่าจะตระหนักถึงพลังของอุปรากรที่มักจะถูกดนตรีประกอบข่ม แต่ Fidelio ได้นำเสนอความแรงกล้าของความรักและการเสียสละ ที่สำคัญมีแนวทางการเมืองอยู่ด้วยอย่างชัดเจน อันแสดงให้เห็นว่าเบโธเฟนมีความสนใจในการเมือง (นอกจากนี้ยังจะดูได้จากการที่เขาเคยอุทิศซิมโฟนีหมายเลข 3 ให้กับนโปเลียน) สิ่งนี้ทำให้ เขาแตกต่างจากคีตกวีจำนวนมาก 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    อุปรากรที่คนไทยน่าจะรู้จักไม่แพ้ Madame Butterfly ก็คือ Carmen ซึ่งเป็นอุปรากรฝรั่งเศสที่แต่งโดยคตีกวีที่เราไม่เคยคุ้นเคยนักและก็ไม่ถือว่าดังเหมือนเบโธเฟนหรือโมซาร์ทคือจอร์จ บิเซต์ เขาเน้นไปที่การแต่งอุปรากรและอุปรากรก็ดังแค่ไม่กี่เรื่อง แต่พฤติกรรมตัวเอกของ Carmen ทำให้อุปรากรเรื่อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                               
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   Bicycle Thief เป็นภาพยนตร์ขาวดำสัญชาติอิตาลี ที่ออกฉายในปี 1948  และมักถูกจัดว่าเป็นตระกูลนวสัจนิยมหรือ Neo Realism ที่สะท้อนชีวิตของคนรากหญ้าเป็นหลัก   หากใครที่ไม่คุ้นเคยกับภาพยนตร์ตระกูลนวสัจนิยม ก็ลองไปดูภาพยนตร์สมัยทศวรรษที่ 10 และ 20 ของท่านมุ้ยเกี่ยวกับชีวิตของคนตัวเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาชญากรรมและการลงทัณฑ์เป็นชื่อแปลมาจากภาษาอังกฤษคือ Crime and Punishment ซึ่งเป็นนวนิยายชิ้นเอกของนักเขียนนามอุโฆษชาวรัสเซียคือฟีออดอร์ ดอสโตเยฟสกี (Fyodor Dostoevsky) ผู้มีชีวิตในช่วงระหว่างปี 1821 จนถึงปี 1881 เขาเป็นที่รู้จักอย่างดีในนวนิยายเรื่อง Brothers Karamazov ที่แสนจะยาวเหยียดและซับซ้อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อพูดถึงอันโตนีโอ วิวัลดี (Antonio Vivaldi) คนก็ต้องนึกถึงเพลงยอดนิยมของเขาคือ Four Seasons หรือฤดูกาลทั้ง 4 (ต่อมา กลายเป็นชื่อโรงแรมอันอื้อฉาว) เป็นอันดับแรก ทั้งที่คีตกวีท่านนี้มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เฮอร์มันน์ เฮสเส เป็นนักเขียนแนวจินตนิยม (Romanticism) และแนวอัตถิภาวนิยม (Existentialism) ที่ประทับใจผมมาก เริ่มจากการถูกอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยบังคับให้อ่านหนังสือของเขาที่คนไทยรู้จักกันดีคือ สิทธารถะ จากนั้นเมื่อได้อ่านเรื่องอื่นๆ ที่คนไทยคืออาจารย์สดใสแปลไม่ว่า ปีเตอร์คาเมนซิน &nb
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แปลมาจากบทความของคุณอิลิซาเบท ชวาร์ม เกลสเนอร์  จาก www.w3.rz-berlin.mpg.de Symphony No.1, Op.21 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                           
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์