Skip to main content
ถึงแม้เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) จะได้ชื่อว่าเป็น คีตกวีที่แสนเก่งกาจคนหนึ่งในยุคคลาสสิกและโรแมนติก แต่ศิลปะแขนงหนึ่งที่เขาไม่สู้จะถนัดนักคือการเขียนอุปรากร เหมือนกับ โมซาร์ท คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ หรือ โจอากีโน รอสซีนี  ดังนั้นช่วงชีวิต 50 กว่าปีของเบโธเฟนจึงสามารถสร้างอุปรากรออกมาได้เพียงเรื่องเดียวนั่นคือ Fidelio
 
กระนั้นกว่าจะเข็น Fidelioออกมาได้ เบโธเฟนก็ต้องใช้พรแสวงในการศึกษาอย่างจริงจัง (ตามมุมมองของคนทั่วไป โมซาร์ทเก่งเพราะพรสวรรค์และเบโธเฟนเก่งเพราะพรแสวง ความจริงคนทั้งคู่ก็อาศัยพรทั้งสองประการนี้ไปพร้อมๆ กัน) เบโธเฟนลงทุนไปเรียนกับครูเพลงต่าง ๆ รวมไปถึง อันโตนีโอ ซาเลียรี นักแต่งอุปรากรที่สุดแสนโด่งดังในยุคของเขา ในส่วนของการร้องเพลง ช่วงปี 1800-1802  ซาเสียรีดีใจหายช่วยสอนแบบให้เปล่า เบโธเฟนจึงตอบแทนโดยการแต่งเพลงแบบ Variation รวมไปถึงอุทิศโซนาต้าสำหรับเปียโนและไวโอลินจำนวน 3 เพลงให้แก่ท่านอาจารย์ (เป็นที่น่าสนใจว่าถ้าซาเลียรีเป็นผู้ฆ่าโมซาร์ทเหมือนที่เล่าลือจริง เบโธเฟนซึ่งชื่นชอบโมซาร์ทก็ไม่น่าจะมาสนิทสนมกับครูเพลงท่านนี้เป็นอันขาด) 
 
ที่สำคัญ เบโธเฟนยังต้องอาศัยนักเขียนบทละคร นามว่าโจเซฟ ซอห์นไลท์เนอร์ซึ่งก็ดัดแปลงบทมาจากละครเรื่อง Leonore ของญอง นิโคลา บูลลีย์ ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส และได้แรงบันดาลใจจากหญิงคนหนึ่งที่ปลอมตัวเป็นผู้ชายเพื่อช่วยเหลือสามีจากคุกบาสตีย์ (คุกที่ขังนักโทษการเมืองในฝรั่งเศส) แต่ในอุปรากรของเบโธเฟนเป็นฉากในคุกใต้ดินสเปน ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ที่ลีโอนอราปลอมเป็นชายหนุ่มที่ชื่อฟิเดลีโอมาช่วยสามีของเธอคือฟลอเรสตาน นักหนังสือพิมพ์ที่ถูกคุมขังในคุกใต้ดินโดยดอน ปีซาร์โร หัวหน้าเรือนจำจอมอิทธิพล ฟิเดริโอทำงานเป็นลูกน้องของรอคโค พัศดีเฒ่า เช่นเดียวกับฮาคิโน คนเฝ้าประตูซึ่งลุ่มหลงลูกสาวของรอคโคคือมาร์เซลลิน แต่ฝ่ายหญิงไม่ยอมเล่นด้วยและกลับมาปฏิพัทธ์ต่อตัวฟิเดริโอ เพื่อให้เป็นไปตามแผนการ เธอก็ต้องตกกระไดพลอยโจน เป็นคู่รักและว่าที่เจ้าบ่าวของมาร์เซลลินไปด้วย ดอน ปีซาโรได้รับทราบข่าวว่าดอน เฟอร์ดินันด์รัฐมนตรีจะมาตรวจคุกเพราะได้รับข่าวว่า ปีซาโร ทำตัวเป็นเผด็จการ เขาจึงคิดจะสังหารฟลอเรสตานเพื่อปกปิดความผิดของตัวเอง ในท้ายสุดแล้ว ฟิเดริโอจะสามารถช่วยสามีของตนได้หรือไม่ จึงน่าตื่นเต้นว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป
 
 
                                    
                                                ภาพจาก www.vienna-concert.com
 
(ลีโอนอราขณะเอาขนมปังให้แก่ฟลอเรสตานในคุกใต้ดิน ด้วยความมืด เขาไม่สามารถเห็นหล่อนอย่างชัดเจน แต่ด้วยความซาบซึ้งใจจึงร้องเพลงอวยพรหล่อน "Euch werde Lohn in bessern Welten" หรือ "ท่านจะได้รับรางวัลในสวรรค์" )
 
 
อุปรากรเรื่องนี้เดิมทีมีอยู่ 3  องค์ ภายใต้ชื่อเดิมคือ Leonore ถูกนำออกแสดงที่เทียเทอร์ อันเดอร์ ไวน์  ที่กรุงเวียนนา ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ปี 1805 แต่สิ่งที่ไม่น่าชื่นชมคือกรุงเวียนนาถูกยึดครองโดยกองทัพฝรั่งเศส เนื้อหาของอุปรากรที่มีเรื่องการเมืองเป็นฉากหลังของความรักและความเสียสละ ทำให้เพื่อนๆ ของเบโธเฟนกลัวว่า จะทำให้พวกนายทหารฝรั่งเศสที่มานั่งดูกันเป็นหมู่คณะเกิดความไม่พอใจ จึงกดดันให้เบโธเฟน ปรับเปลี่ยนเนื้อหาใหม่ ให้เหลือแค่ 2 องค์แถมยังต้องเขียนเพลงโหมโรงใหม่ ในปี 1806 และมาปรับเปลี่ยนเนื้อหาของอุปรากรกับจังหวะเพลงอีกครั้งในปี 1814 ท้ายสุดเขาต้องแต่งเพลงโหมโรงถึง 4 ครั้ง (Leonore Overture No. 1-3 และเพลงโหมโรง Fidelio)
 
 
สาเหตุอื่นที่ทำให้ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเพราะนอกจากเบโธเฟนจะเป็นพวก Perfectionist คือชอบความสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับโยฮันเนส บาร์มส์แล้ว เขามีอาการผิดปกติทางหู (ไม่ใช่หนวกทีเดียว หากแต่ค่อย ๆ แย่ลงตามอายุขัยและมาหนวกสนิทก็เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน) ทำให้เบโธเฟนแต่งทำนองและจังหวะของการร้องในลักษณะที่ยากเย็นสำหรับการร้อง (เป็นปัญหาเดียวกับที่เขาพบในซิมโฟนีหมายเลข 9 ที่ท่อนสุดท้ายมีเพลงประสานเสียงอันแสนโด่งดัง) เป็นที่น่าจดใจว่าในการแสดงอีกครั้งของอุปรากรเรื่องนี้ในปี 1814 ที่คาร์ทเนอร์เตอร์ เทียเตอร์ เด็กหนุ่มวัย 17 ปี นามว่า ฟรานซ์ ชูเบิร์ตถึงกลับยอมขายตำราเรียนเพื่อจะซื้อตั๋วเข้ามาชม ชูเบิร์ตชื่นชอบเบโธเฟนอย่างสุดซึ้ง ถึงขั้นแสดงเจตจำนงขอเป็นหนึ่งในบรรดาผู้แบกโลงของเบโธเฟนเพื่อไปฝังในพิธีศพ
 
 
                                       
                                            ภาพจาก www.commdiginews.com
                                
 
(รูปของกลุ่มนักโทษที่ตอบจบถูกปลดปล่อยจากคุกเพื่อพบกับลูกเมียและร้องประสานเสียง "Wer ein holdes Weib errungen" เพื่อยกย่องความกล้าหาญของลีโอนอรา)
 
 
Fidelio ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก และเป็นที่โด่งดังจนถึงปัจจุบันถึงแม้จะมีผู้วิจารณ์ว่าอุปรากรของเขาดูเหมือนจะขาดความลุ่มลึกและความสำเร็จเกิดจากบารมีของเบโธเฟนเป็นสำคัญ ว่าง่ายๆ คือคนที่รักเบโธเฟนก็จะรักอุปรากรเรื่องนี้ไปด้วย มากกว่าจะตระหนักถึงพลังของอุปรากรที่มักจะถูกดนตรีประกอบข่ม แต่ Fidelio ได้นำเสนอความแรงกล้าของความรักและการเสียสละ ที่สำคัญมีแนวทางการเมืองอยู่ด้วยอย่างชัดเจน อันแสดงให้เห็นว่าเบโธเฟนมีความสนใจในการเมือง (นอกจากนี้ยังจะดูได้จากการที่เขาเคยอุทิศซิมโฟนีหมายเลข 3 ให้กับนโปเลียน) สิ่งนี้ทำให้ เขาแตกต่างจากคีตกวีจำนวนมาก 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    ฟังเพลงของเขามามากต่อมากแล้วเรามาทายกันดีกว่าว่าหน้าตาของเขาน่าจะเป็นอย่างไร สูงผอม บอบบาง ขี้โรค อารมณ์อ่อนไหวง่ายและหน้าตาเต็มไปด้วยความทุกข์อยู่ไม่คลาย ?  และเมื่อเห็นภาพของโชแปงซึ่งเป็นภาพถ่ายของเขาเพียงภาพเดียว (ไม่นับภาพวาดอีกหลายๆ ภาพ และภาพยนตร์ที่อิงกับชีวิตของเขา) ก็ค
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้หรือไม่กับพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกของอังกฤษเมื่อปี 2012 ที่มีภาพยนตร์สั้น ซึ่งสร้างความประหลาดใจและความประทับใจให้กับคนดูทั่วโลกอย่างมาก เมื่อเจมส์ บอนด์ (แสดงโดย ดาเนียล เครก) ได้เดินทางไปถวายการอารักขาให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (แสดงโดยพระองค์จริง) ที่พระราชวังบักกิงแฮมก่อนจะเสด็จโด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
       คนไทยมักจะรู้จักอุปรากร Madame Butterfly  หรือ คุณนายผีเสื้อ  เป็นอย่างดีผ่านบทละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้าของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ทรงดัดแปลงหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากอุปรากรเรื่องนี้ซึ่งแสดงถึงโศกนาฏกรรมของความรักระหว่างคน 2 เชื้อชาติคือ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
       หากเข้าใจเปรียบเทียบ Psycho นั้นเปรียบดังดาวซึ่งจรัสแสงที่สุดเท่าที่ฮอลลีวู้ดจะมีไว้ประดับท้องฟ้าแห่งวงการภาพยนตร์โลกประเภทตื่นเต้นสยองขวัญ แน่นอนว่าผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ซึ่งทำให้คนดูเหงื่อทะลักเกือบทั้งเรื่องทั้งที่มีเครื่องปรับอากาศย่อมไม่ใช่ใครอื่นนอกจากราชาแห่งภาพยน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ตอนที่ 1    
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   บทความนี้ขออุทิศให้ภรรยาของอ้ายจรัลซึ่งครั้งหนึ่งผู้เขียนบทความนี้มีโอกาสได้รู้จัก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ถือได้ว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของวงการดนตรีคลาสสิก เขาเป็นผู้บุกเบิกดนตรียุคบาร็อค (Baroque) ซึ่งเป็นดนตรีที่เรียบง่าย ฟังสบายๆ ไม่ดุเดือดเหมือนกับแนวโรแมนติกที่บุกเบิกโดยเบโธเฟนในหลายสิบปีให้หลัง  ด้วยดนตรีของบ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
     เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ สังคมไทยเกิดคำฮิตกับเพศชายคือคำว่าเมโทรเซ็กซัล (Metrosexual) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเมโทร กระนั้นก็ทำให้คนเข้าใจไปเป็นคำ ๆ เดียวหรือใกล้เคียงกับ  คำว่า Homosexual หรือ พวกรักร่วมเพศ จึงกลายเป็นมองว่าคนพวกนี้เป็นเกย์ทั้งนั้น  ตามความจริ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 Ran(1985) เป็นงานชิ้นโดดเด่นและใช้ทุนสุดมหาศาลของยอดผู้กำกับภาพยนตร์อย่างอาคิระ คุโรซาวาในช่วงบั้นปลายที่เขาหันมาทำภาพยนตร์เป็นสีธรรมชาติ บางคนอาจจะชอบภาพยนตร์สีธรรมชาติเรื่องก่อนหน้านี้ของเขาคือ kagemusha หรือนักรบเงา (1980) แต่ผมคิดว่า Ran จัดว่าเป็นภาพยนตร์ที่เปี่ยมด้วยเนื้อ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
                                        
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
   
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) คีตกวีชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของรัสเซีย ไม่ได้เก่งแค่แต่งเพลงประกอบบัลเลต์อย่างเช่น Nutcracker หรือ Swan Lake รวมไปถึงไวโอลินและเปียโนคอนแชร์โตอันลือชื่อ หากแต่ยังฉกาจในการแต่งซิมโฟนี ซึ่งแต่ละบทก็มีชื่