Skip to main content
มักเป็นที่เข้าใจว่าอเมริกาเป็นประเทศแห่งความเท่าเทียมกัน อาจด้วยอเมริกานั้นไม่เคยเปลี่ยนผ่านยุคศักดินาเหมือนกับประเทศในเอเชียและยุโรป อเมริกาถึงแม้จะมีชนชั้นกลางมากแต่บรรดาในชนชั้นกลางก็มีการแบ่งแบ่งแยกที่ดีที่สุดคือเงิน รองลงมาก็ได้แก่ฐานะทางสังคม สีผิว เพศ ฯลฯ เอาเข้าจริงๆ ไม่มีสังคมไหนในโลกที่เท่าเทียมกันเหมือนกับที่ได้ประกาศโฆษณาไว้ในรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะของอเมริกาที่ถือตัวเองเป็นสาวกตัวกลั่นของจอห์น ล็อค ภาพยนตร์ฮอลลีวูดสามารถสะท้อนภาพเหล่านี้ได้ชัดเจนไม่ว่าจะเกิดจากความตั้งใจหรือเป็นแค่แนวคิดรองของตัวภาพยนตร์ก็ตาม คอหนังกลางเก่ากลางใหม่น่าจะจำได้ดีถึงเรื่อง Pretty Woman ที่จูเลีย โรเบิร์ตแสดงเป็นคุณโสข้างถนนและได้ตกหลุมรักกับพระเอกคือริชาร์ด เกียร์ที่เป็นเศรษฐีที่ขับรถหลงทางผ่านมาเจอ จนสมรักสมรักในที่สุด และสำหรับคอหนังกลางเก่ากลางใหม่ก็น่าจะจำได้ดีถึงเรื่อง Sabrina (1995)ที่ซิดนีย์ โพลล็อคใช้บทภาพยนตร์บทเดียวกับภาพยนตร์ในปี 1954 เป็นเรื่องของลูกสาวคนขับรถซึ่งตกหลุมรักลูกชายของครอบครัวมั่งคั่งที่พ่อของตนทำงานให้ โดยมีดาราดังๆ ไม่ว่าแฮร์ริสัน ฟอร์ด, เกร์ก คินเนียร์และจูเลีย ออร์มอนด์มาร่วมแสดงถึงแม้เวอร์ชั่นนี้จะได้เสียงตอบรับค่อนข้างดีแต่ผู้กำกับ บารมีดารา รูปแบบการนำเสนอไม่อาจะเทียบได้กับต้นฉบับ ดังนั้นบทความนี้จะกล่าวถึงเวอร์ชั่นที่สร้างในปี 1954 ที่สะท้อนให้เห็นภาพของสังคมอเมริกันทศวรรษที่ห้าสิบได้อย่างดี
 
 
                                        
 
 
Sabrina  (1954) เป็นฝีมือการกำกับของผู้กำกับภาพยนตร์ บิลลี่ วิลเดอร์ที่ซึ่งมีแต่ภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยคุณภาพจนถึงขั้นคลาสสิกเกือบทั้งนั้นไม่ว่า Double Indemnity (1944) Sunset Blvd. (1950) Ace in the Hole (1951) Stalag 17 (1953) The Seven Year Itch (1955) Some Like It Hot (1959) และ The Apartment (1960) หากพิจารณาเนื้อหาของภาพยนตร์เหล่านั้นจะเห็นได้ว่ามีทั้งจริงจัง เคร่งเครียดและตลกเฮฮาสลับกันไป บางเรื่องอย่างเช่น The Apartment ก็เป็นเรื่องตลกรักโรแมนติกและแฝงด้วยการเสียดสีระบบทุนนิยมของอเมริกาที่แสนจะฉ้อฉล นั้นคือผู้บริหารเอาลูกน้องหญิงมาเป็นภรรยาน้อยและลูกน้องชายที่ช่วยเหลือเรื่องเช่นนี้ได้รับการเลื่อนขั้น สำหรับ ซาบริน่านั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับ The Apartment อยู่บ้าง แต่เรื่องแรกนั้นจะผลิตซ้ำเทพนิยายที่ชาวโลกรู้จักกันดีนั้นคือซินเดอเรลล่าสาวอาภัพซึ่งในที่สุดแล้วก็ได้แต่งงานกับเจ้าชายรูปงาม ผู้ที่มารับบทเป็นนางซินก็คือออร์เดรย์ แฮฟเบิร์น ดาราวัยรุ่นซึ่งได้รับรางวัลออสการ์ครั้งแรกกับหนังที่คนทั่วโลกหลงรักคือ Roman Holiday (พ่อผมบอกว่าเมื่อมาเข้าฉายในหนังหลายสิบปีก่อนโน้น มีชื่อไทยคือ โรมรำลึก)ในปี 1953 น่าตลกที่ว่าหนังเรื่องนี้เธอรับบทเป็นเจ้าหญิงผู้สูงศักดิ์ แต่เมื่อมาแสดงในซาบริน่า แฮฟเบิร์นก็รับบทเป็นเพียงลูกสาวของคนขับรถโดยมีนามอันเดียวกับชื่อภาพยนตร์คือ ซาบริน่า แฟร์ชายด์ บิดาของเธอคือโทมัส แฟร์ชายด์ขับรถให้กับครอบครัวลาร์ราบี้อันมั่งคั่งและทรงเกรียรติซึ่งชอบจัดงานเลี้ยงกลางคืนอยู่บ่อยครั้ง 
 
 
ดารานำฝ่ายชายอีก 2 คนที่สามารถดึงดูดคนดูให้แห่กันมาเต็มโรงคือฮัมฟรีย์ โบการ์ต ที่สมาคมภาพยนตร์อเมริกันจัดให้เป็นดาราชายอันดับหนึ่งในรอบหนึ่งร้อยปีของอเมริกา เขามีชื่อเสียงกับภาพยนตร์แบบแก๊งส์เตอร์และหนังฟิล์มนัวร์ไม่ว่า Big Sleep หรือ Maltese Falcon ส่วน บิลลี่ โฮลเด้นนั้นเคยทำงานร่วมกับไวล์เดอร์มาแล้วคือ Sunset Blvd.และ Stalag 17 ทั้งสองรับบทเป็นลูกชายของตระกูลที่ว่านี้และทั้งคู่ต่างมีบุคลิกที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นั่นคือไลนัส ลาร์ราบี้ (โบการ์ต) เป็นลูกชายคนโตที่ไม่แต่งงานเพราะแต่งกับงานคือธุรกิจของครอบครัวอย่างที่เรียกว่างานคือลมหายใจ ส่วนเดวิด ลาร์ราบี (โฮเดน)เป็นตัวอย่างที่ดีของเพลย์บอยหนุ่ม ชีวิตสมรสล้มเหลวด้วยความเจ้าชู้ แถมยังเหยียบขี้ไก่ไม่ฟ่อ ไม่สนใจงานการเหมือนพี่ชาย ซาบริน่าได้ตกหลุมรักเดวิดมานานแสนนานอาจด้วยเธอรู้จักและประทับใจเขามาตั้งแต่เด็กแต่ก็ต้องช้ำใจเพราะความรักแบบข้างเดียว แม้โทมัสจะเตือนลูกสาวบ่อยครั้งว่าอย่าได้ใฝ่สูงให้นัก (เขาใช้คำว่า don't reach for the moon)เพราะฐานะทางสังคมนั้นแตกต่างกันแต่ก็ไม่ยับยั้งความรักที่นับวันยิ่งทวีความทรมาณให้กับหัวใจของเธอเรื่อยๆ จนเธอคิดจะฆ่าตัวตาย ด้วยวิธีแบบซื่อๆ ตลกๆ จึงไม่ต้องสงสัยว่ามันจะสำเร็จหรือไม่
 
จนในที่สุดซาบริน่าก็ถูกส่งไปเรียนทำอาหารที่กรุงปารีสเป็นเวลานาน จนเมื่อเธอกลับมาอีกครั้งภายใต้คราบสาวไฮโซ แต่งตัวทันสมัย อันสะท้อนให้เห็นความนิยมในยุคนั้นจนถึงปัจจุบันว่ากรุงปารีสเป็นนครแห่งแฟชั่น แม้ว่าเธอจะไม่ได้ไปเรียนแฟชั่นก็ตาม กระนั้นในตอนที่เธออยู่ปารีส เดาได้เลยว่าเพลงที่บรรเลงประกอบจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของมหานครแห่งนี้ก็คือลาวีอองโรส เดวิดซึ่งบังเอิญพบซาบริน่าและพาเธอติดรถจากสถานีรถไฟกลับมาบ้านก็ตกหลุมรักและคิดจะจริงจังกับเธอแม้จะเป็นแค่ลูกคนขับรถก็ตาม ปัญหาก็คือตอนนั้นครอบครัวลาร์ราบี้กำลังวางแผนจะให้เขาแต่งงานกับลูกสาวของบริษัทยักษ์ใหญ่อีกบริษัทหนึ่งเพื่อที่จะทั้งสองบริษัทจะได้รวมกันกลายเป็นบริษัทข้ามชาติอันยิ่งใหญ่ต่อไป เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม ไลนัสจึงเข้ามากีดกันซาบริน่าออกไปโดยการสร้างความสนิทชิดเชื้อจนซาบริน่าหันมาตกหลุมรักไลนัสแทนและท้ายสุดเขาวางแผนที่จะหลอกเธอให้กลับไปปารีส แต่ในที่สุดความรู้สึกของเขากลับหันมาทรยศตัวเอง...
 
 
 
                             
                                       ภาพจาก  Filmicmag.com   
 
 
ชีวิตหลังกล้องอาจจะดูวุ่นวายอยู่เอาการ ด้วยโบการ์ตซึ่งเข้ามาแทนที่แคร์รี่ แกรนท์ในนาทีสุดท้ายไม่ชอบแฮฟเบิร์นและต้องการให้ลอเรนซ์ บาคัลภรรยาสาวมารับบทนี้แทน กระนั้นคนเขียนเห็นว่าแฮฟเบิร์นเหมาะกับบทนี้มากกว่าโดยบุคลิกภาพโดยรวมของเธอคือสาวน้อยใสบริสุทธิ์ (ในบางครั้งอาจจะดูไร้เดียงสาไปนิด)และเต็มไปด้วยความอ่อนโยน ในขณะที่บาคัลดูเหมาะกับผู้หญิงที่มีบางสิ่งบางอย่างแฝงอยู่ข้างใน อาจจะละม้ายไปทาง La femme fatale หรือผู้หญิงร้ายลึก เสน่ห์มรณะแบบภาพยนตร์ฟิล์มนัวร์ นอกจากนี้โบการ์ตยังมีเรื่องทะเลาะกับโฮล์เดนท์ชนิดไม่ต้องมองหน้ากันนอกจากเวลาถ่ายหนังในด้วยกัน ในทางกลับกันโฮล์เดนท์กับแฮฟเบิร์นตกหลุมรักกันและกัน ทว่าทั้งคู่ก็เลิกกันไม่นานหลังจากนั้นเพราะแฮฟเบิร์นรู้ว่าเขาเป็นหมัน ด้วยเธอถือว่าความเป็นแม่นั้นเป็นภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์สำหรับผู้หญิง กระนั้นการแสดงและปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนทั้งสามถือได้ว่าเข้าขั้นยอดเยี่ยมถึงแม้ภาพยนตร์จะได้รางวัลออสการ์เพียงสาขาเดียวคือการออกแบบเครื่องแต่งกายจากการเข้าชิงถึง 6  สาขาและเป็นภาพยนตร์ระดับกลางๆ หากเทียบกับภาพยนตร์ของบิลลี่ดังที่กล่าวไว้ข้างบน
 
 
ตอนจบของเรื่องเป็นอย่างไร คนดูในยุคปัจจุบันก็เดาได้เพราะภาพยนตร์ไทยเก่าๆ รวมไปถึงละครไทยก็มีตอนจบแบบแฮปปี้เอ็นดิ้งแบบนี้แหละ ว่ากันตรง ๆ แล้วคนไทยก็เหมือนกับคนอเมริกันและชาวโลกนั้นคือไม่รังเกียจคนรวย แต่ก็เห็นร่วมกันว่าความรักนั้นไม่ควรจะมีเรื่องของเงินของทองมาเกี่ยว เดวิดคือตัวแทนของของระบบทุนนิยมที่ศิลปินอย่างเช่นผู้กำกับในวงการฮอลลีวู้ดเห็นว่าแห้งแล้ง น่าเบื่อ ยุ่งแต่กับตัวเลขของหุ้น ส่วนซาบริน่าคือตัวแทนของความอ่อนโยนและความไร้เดียงสาและในท้ายสุดแล้วฝ่ายหลังก็ได้รับชัยชนะเหนือฝ่ายแรก ไม่รู้เหมือนกับว่าภาพยนตร์และละครไทยจะได้รับอิทธิพลมากจากภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเรื่องนี้และอื่น ๆเพียงใด รู้แต่ว่าภาพยนตร์อีกเรื่องที่มีพล็อตคล้ายกับซาบรีน่าคือภาพยนตร์เพลงที่ชื่อ "บุษบาริมทาง"หรือ My Fair Lady ที่แฮฟเบิร์นแสดงเหมือนกันน่าจะมีอิทธิพลต่อเรื่องแหม่มกระปิของคุณกำธร ทัพคัลไลอย่างมาก 
 
ถึงแม้อเมริกาในช่วงหลังอาจจะไม่ค่อยสร้างภาพยนตร์แบบนี้นักนอกจะเรื่อง Pretty Woman หรือเรื่องประเภทเจ้าชายต่างชาติเสด็จมาอเมริกาและตกหลุมรักกับนางเอกซึ่งยากจนอาจจะด้วยกระแสสตรีนิยมหรือ feminismกำลังมาแรง ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดจำนวนมากจึงมักจะสะท้อนให้เห็นถึงภาพของผู้หญิงที่มีความสามารถในการไขว่ขว้าตำแหน่งงานด้วยตัวเองไม่ต้องรอเจ้าชายขี่ม้าขาวอีกต่อไป ซึ่งคงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ Sabrina เวอร์ชั่นใหม่ในทศวรรษที่ 90 ไม่เปรี้ยงปร้างนัก กระนั้นความแตกต่างทางสังคมอเมริกันก็ยังมีอยู่ต่อไปเช่นผู้หญิงและคนสีผิวจะมีอัตราส่วนน้อยในการเป็นผู้บริหารบริษัทและรัฐบาล คนยากจนและไร้การศึกษาก็มีอยู่เป็นจำนวนมากที่กระจุกตัวอยู่ในสลัมตามเมืองใหญ่ๆ ไม่ว่านิวยอร์คและแอลเอ สำหรับละครไทยไม่ต้องห่วงว่ายังนิยมผลิตเรื่องซินเดอเรลล่าแบบนี้ออกมาเรื่อยๆ (แถมยังมีการเปิดศึกแย่งผู้ชายเสียด้วยนี่) โดยเฉพาะหญิงสาวฐานะไม่ดีและได้แต่งงานกับชายหนุ่มเศรษฐีโดยที่ฝ่ายหญิงไม่ได้ปรารถนาเรื่องเงินแม้แต่น้อย ในทางกลับกันมักจะไม่มีเรื่องแบบพระเอกฐานะยากจนแต่งงานนางเอกฐานะร่ำรวยเท่าไรนักเพราะเป็นการลดอำนาจของเพศชายตามความเชื่อแบบชายเป็นใหญ่ แน่นอนว่า ผู้ชายที่ยากจนก็ต้องตกเป็นเหยื่อของคติเช่นนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตัวอย่างก็คือผู้เขียนบทความนี้ซึ่งต้องอยู่อย่างเจียมเนื้อเจียมตัวจนถึงทุกวันนี้
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  1.บวรศักดิ์ อุวรรณโณคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญของตนนั้นเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/   เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ  บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 คงมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถสะท้อนความคิดทางปรัชญาอันลุ่มลึกและมักทำให้ผมระลึกถึงอยู่เสมอเวลาดูข่าวต่างๆ หรือไม่เวลาพบกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภาพยนตร์เหล่านั้นนอกจากราโชมอนของ อาคิระ คุโรซาวาแล้วยังมี Being There ที่ภาพยนตร์สุดฮิตอย่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1. กลุ่มกปปส.ต่อหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.Don Giovanni คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อพูดถึงเพลงคลาสสิก ภาพแรกที่ปรากฏอยู่ในหัวของทุกคนก็คือผู้ชายหรือไม่ก็เด็กชายฝรั่งสวมวิคแต่งชุดฝรั่งโบราณกำลังเล่นเปียโนอยู่ หากจะถามว่าคนๆ นั้นคือใคร ทุกคนก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาคือ โมสาร์ต คีตกวีผู้มีชื่อเสียงมากที