Skip to main content

 

1.Megalomaniac -  โรคหลงคิดว่าตัวเองเป็นใหญ่และหมกมุ่นกับอำนาจ  เราใช้คำนี้กับบุคคลซึ่งมีความประพฤติราวกับเชืื่อจริงๆ จังๆ ถึงอำนาจโดยเด็ดขาดและความยิ่งใหญ่ของตัวเอง ดังพฤติกรรมเช่น  ชอบตะคอก ทำตัวเหนือกว่าคนอื่นโดยเฉพาะนักข่าวที่มาสัมภาษณ์ หรือแสดงการดูถูกประชาชนผ่านสื่อมวลชน  ร้ายไปกว่านั้นคือพล่ามอยู่คนเดียวหน้าโทรทัศน์โดยหลงคิดว่าประชาชนกว่าหกสิบล้านคนคงนั่งทำแป๋วฟังตัวเองและคิดว่าตัวเองจะเป็นนายกฯ ไปชั่วนิรันดร

 

 2.Pathological liar -คนชอบโกหกพกลม คนที่เป็นโรคนี้ชอบโกหกเป็นชีวิตจิตใจ ถึงขั้นสร้างวาทกรรมขึ้นมาใหม่โดยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเลยเพียงเพื่อให้ได้รับความสนใจหรือการยอมรับจากคนรอบข้าง หรือเข้าสู่เป้าหมายเช่นอำนาจ หลายคนก็เป็นพวกมีทักษะอย่างดีเยี่ยมในการสื่อสาร มีเสน่ห์ แต่เป็นเจ้าเล่ห์เพทุบาย ไม่ใส่ใจผลที่เกิดขึ้น อย่างเช่นสัญญาเรื่องการเลือกตั้งผ่านคำพูดและท่าทางขึงขังราวกับเป็นผู้รักษาสัจจะ

 

3.Bipolar disorder -โรคอารมณ์สองขั้ว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เช่นตะหวาดคนรอบข้าง แสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ต่อมาก็พูดดี แสดงอารมณ์ขััน  ยิ้มระรื่น ชอบอ้างว่าตัวเองเป็นคนตลก คนรอบข้างต่างระอากับการแสดงความรู้สึกผิดอยู่ร่ำไปพร้อมกับสัญญาเลื่อนลอยของบุคคลเช่นนี้ว่าจะปรับปรุงหรือเปลี่ยนตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งก็เป็นเพียงการโกหกพกลม (สอดคล้องกับข้อ 2)

 

4.Split personality -โรคหลายบุคลิก ซึ่งผู้ป่วยเพียง 1 คนสามารถมีบุคลิกหรือตัวตนหลายตัวและแสดงออกมาในต่างกรรมต่างวาระ เช่น เดี๋ยวก็แสดงตนเป็นกุ๊ยกักขฬะ   เดี๋ยวก็เป็นนักแต่งเพลง อารมณ์อ่อนไหว (เนื้อเพลงเต็มไปด้วยความรันทด สงสารตัวเอง)  เดี๋ยวก็เป็นนักปกครองมีเมตตาและวิสัยทัศน์กว้างไกล   เดี๋ยวก็เป็นเผด็จการความคิดวนอยู่แต่ในกะลา

 

5.Obsessive-Compulsive -โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคที่หมกมุ่นทำในสิ่งเดิมๆ มากเกินไปเช่นชอบตำหนิรัฐบาลชุดก่อนหรือคิดถึงแต่อดีตนายกรัฐมนตรีอย่างทักษิณ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตรว่าพยายามกลับมาแย่งอำนาจตน อันสอดคล้องกับ 6. Paranoid คือโรคหวาดระแวงว่าจะมีคนมาทำอันตรายหรือแย่งอำนาจตนทั้งที่กลุ่มบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นเพียงต้องการเลือกตั้งหรือต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย และพวกเขาก็ต้องถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย

 

 

 

                                (ภาพจาก www.stephealth.com)

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 "Whoever you are, I have always depended on the kindness of strangers." Blanche Dubois  ไม่ว่าคุณเป็นใคร ฉันมักจะพึ่งพ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3  ของเยอรมัน นั่นคือ Bach  Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      ขออุทิศบทความนี้ให้กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
             เป็นเรื่องตลกถึงแม้ผมเอาแต่นำเสนอแต่เรื่องของดนตรีคลาสสิก แต่ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผมเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อนจนถึงปัจจุบันคือดนตรีแจ๊ส และผมฟังดนตรีชนิดนี้เสียก่อนจะฟังดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจังเสียอีก (ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าในป
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แน่นอนว่าคนไทยย่อมรู้จักเป็นอย่างดีกับฉากของหญิงสาวผมสั้นสีทองในเสื้อและกระโปรงสีดำพร้อมผ้าคลุมด้านหน้าลายยาวที่เริงระบำพร้อมกับร้องเพลงในทุ่งกว้าง เข้าใจว่าต่อมาคงกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังที่มีสาวม้งร้องเพลง "เทพธิดาดอย"อันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่เนื้อเพลง Lover's Concerto ที่ด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก